วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2564

มาตรฐานเปิด(Open Standard ) เพื่อเศรษฐกิจและสังคม

  บ่อยครั้งเรามักจะพบว่า การเปิดไฟล์เอกสาร ของผู้อื่นอาจจะมีการผิดเพี้ยนไปจากต้นฉบับ และหลายครั้งเมื่อเราเข้าเว็บไซต์ ภาษาไทยมักจะพบว่า ภาษาไทยแสดงผลไม่เหมือนกัน และอ่านไม่ออก เป็นตัวอักษรที่ อ่านไม่ได้ ซึ่งเราก็จะพบว่า ปัจจุบันปัญหาแบบนี้ลดน้อยลงไปมาก แต่ก็ยังคงมีให้เห็น ถ้าเราสังเกตให้ดีเราจะพบว่าเว็บไซต์ที่เป็นบริการของภาครัฐหรือบริการของเอกชนบางหน่วยงาน เขาก็จะระบุไว้ที่ด้านล่างว่าบริการนี้ใช้ได้ดีกับ internet explorer Version ต่างๆแบบนี้เป็นต้น


หลายปีที่ผ่านมาการยื่นภาษี ส่วนบุคคลก็มักจะพบปัญหาว่า ผู้ที่ใช้ระบบปฏิบัติการอื่นๆที่ไม่ใช่ Windows จะไม่สามารถยื่นภาษีออนไลน์ได้แต่ ปีนี้ กลับพบว่าเราสามารถที่จะทำการยื่นภาษีออนไลน์ ผ่านระบบปฏิบัติการ OS x ได้เรียบร้อยแล้ว


 อย่างไรก็ดีก็ยังมีบริการของรัฐ ที่ยังไม่รองรับกับความเป็นมาตรฐาน จำเป็นต้องใช้ ระบบปฏิบัติการ หรือมาตรฐานเดียวกันกับหน่วยงานของรัฐถึงจะสามารถใช้งานได้ปกติ  เช่นการสมัครสมาชิก ขอดูประกาศการประมูลงานภาครัฐของกรมบัญชีกลาง พบว่าจะไม่สามารถสมัครได้ถ้าไม่ใช้ ถ้าไม่ได้ใช้ IE(Internet Explorer) ตามที่กำหนดไว้ ก็จะไม่สามารถลงทะเบียนได้


ที่พูดมาทั้งหมดนี้ ก็หมายความว่า หลายปีที่ผ่านมา ภาครัฐพยายามรณรงค์ให้ทุกคนหันมาใช้มาตรฐานที่เป็นกลางไม่เอนเอียงไปทางใดทางหนึ่ง เพื่อตอบสนองการใช้งานให้ครอบคลุมมากที่สุด ดังนั้นคำว่ามาตรฐานเปิดจึงเกิดขึ้น 


ปัญหาแบบนี้ไม่ใช่เกิดกับประเทศไทยเท่านั้น ยังเกิดกับอีกหลายๆประเทศเช่นประเทศในแถบยุโรป ก็มีการรณรงค์กันเพื่อให้ใช้มาตรฐานเปิด หรือที่เรียกว่า Open Standard ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือการเข้าถึงข้อมูล 


ความคืบหน้าในเรื่องนี้ ปัจจุบัน มาตรฐานของ รหัสภาษา ต่างๆทั่วโลกกำลังอยู่ในมาตรฐานเดียวกันหมดแล้ว ไม่ได้แยกว่าเป็นมาตรฐานอุตสาหกรรมของประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่เป็นมาตรฐานเปิดที่ทุกประเทศ นำไปใช้ ได้ เราจึงพบว่าภาษาไทยที่อยู่ตามเว็บไซต์ กับภาษาที่อยู่ในระบบฐานข้อมูลจึงมักจะ มีปัญหาน้อยลง หากใครยังใช้มาตรฐานเก่า การปรับปรุง ข้อมูลแลกเปลี่ยนข้อมูลกับ ผู้อื่น ก็จะสร้างปัญหาทันที ยกตัวอย่างเช่น การฟีดข่าวของ กรมบัญชีกลางยังคงใช้ภาษาไทยในมาตรฐานเดิมจึงทำให้ดึงข่าว ไปแสดงผล ตามเว็บไซต์ มีปัญหากับภาษาไทย ต้องมีการ เปลี่ยนแปลงรหัสข้อมูล เสียก่อนถึงจะนำมาใช้ได้ 


ปัจจุบันการรณรงค์ให้ภาครัฐนั้นทำเว็บไซต์ เพื่อให้รองรับกับการใช้งานของผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เริ่มมีมากขึ้นและ แต่ก็ยังพบว่า การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เข้าถึงข้อมูลตามเว็บไซต์ยังคงมีปัญหาอยู่มากเนื่องจากความไม่เข้าใจของผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่ควบคุมงานหรือหัวหน้าส่วนราชการ ยังคงมีความไม่เข้าใจ ต่อเรื่องนี้


ความคืบหน้าในเรื่องของการแลกเปลี่ยนเอกสาร รวมกัน ปัจจุบันถือว่า ทั่วโลกนั้นทำได้ดีมาก เราสามารถแลกเปลี่ยนเอกสารระหว่างผู้ที่ใช้ Microsoft Office กับผู้ที่ใช้ชุดออฟฟิศอื่นๆที่แตกต่าง สามารถแลกเปลี่ยนเอกสารกันไปมาได้โดยไม่ต้อง ยึดติดว่าแต่ละคนนั้นใช้ โปรแกรมใดสร้างเอกสารขึ้นมา ซึ่งเราเรียกมาตรฐานนี้ว่า Open Document format 

แต่ด้วยการที่ใช้มาตรฐานแบบเปิดก็จะทำให้ผู้ใช้งานไม่ต้องเรียนรู้วิธีการใหม่ทั้งหมด ยกตัวอย่างการเขียนสุตรคำนวณในตารางผู้ใช้งานสามารถย้ายไปใช้งานกับแอปพลิเคชั่นอื่นได้โดยไม่ต้องเรียนรู้วิธีการใหม่

ดังนั้นจึงเป็นที่มาของวันนี้ ที่กำลังพูดถึงเรื่องของ Document Freedom Day

ซึ่งเป็นวันที่เราสร้างความตระหนัก ในการหันมาใช้มาตรฐานเปิด ซึ่งจะมีการเฉลิมฉลองในวันพุธสุดท้ายของเดือนมีนาคมของทุกปี โดยผู้ที่ กำหนดวันนี้ขึ้นมาก็คือ ดิจิตอล Freedom Foundation ซึ่งเริ่มรณรงค์เรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 2016 

ถึงแม้ว่าจะมีการรณรงค์เรื่องนี้กันมาหลายปี แต่กลับพบว่าปัจจุบัน การผูกขาด ของมาตรฐาน เอกสารออนไลน์ก็เริ่มปรากฏเห็นได้ชัดขึ้นยกตัวอย่างเช่น หากวันนี้เราสร้างเอกสารในรูปแบบออนไลน์ ผู้ที่จะเปิดเอกสารบนออนไลน์ของเราและทำงานร่วมกันได้นั้นก็จะต้องใช้ บัญชีหรือ Account ในรูปแบบเดียวกัน เช่นเราอยากจะใช้ Office 365 ผู้ที่ทำงานร่วมกับเราก็ต้องใช้ Office 365 ด้วย หรือบางคนใช้เอกสารออนไลน์ของ Google คนที่จะเข้ามาร่วมแก้ไขเอกสาร กับเราได้นั้นก็ต้องใช้ Google ด้วยเช่นเดียวกัน แต่สิ่งหนึ่งที่จะต้องแก้ปัญหาเรื่องนี้ก็คือทั้ง 2 platform นั้นจะต้องดาวน์โหลดเอกสารลงมาและเปิดได้โดยไม่ผิดเพี้ยน

เราจึงพบว่าปัจจุบัน ภาครัฐเองมีการ เช่าใช้ ระบบเอกสารออนไลน์ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงต้องมีการสำรองงบประมาณเพื่อการเช่าใช้ไว้ทุกปี เราสามารถสืบค้นการใช่งบประมาณในส่วนนี้ ได้ที่เว็บไซต์ภาษีไปไหน หากใครสนใจก็ลองไปสืบค้นดูได้ว่างบประมาณในการเช่าใช้เอกสารออนไลน์นั้น แต่ละปีมีจำนวนเท่าไร


อ้างอิง

https://en.wikipedia.org/wiki/Open_standard




ไม่มีความคิดเห็น: