เมื่อวันที่ 24 กรกฏาคม 2561 ที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสเข้าร่วมรับฟังข้อมูล บทบาทของโอเพนซอร์สต่อองค์กรธุรกิจ จัดโดย Red hat พบว่าโลกทุกวันนี้การ ขับเคลื่อนนวัตกรรมทั้งหมดของเทคโนโลยีโดยมากใช้โอเพนซอร์ส ไม่ว่าวันนี้เราจะใช้บริการจาก คราว์นคอมพิวติ้ง ของใครก็แล้วแต่เบื้องหลังนวัตกรรมจะใช้เทคโนโลยีแบบเปิด 76% ของ cloud สร้างจากโอเพนซอร์สเทคโนโลยี ปัจจุบันลูกค้า ไม่ได้สนใจแล้วว่าเทคโนโลยีจะเป็นแบบปิด หรือ แบบ เปิด แต่ขอให้เทคโนโลยีเหล่านั้น ตอบโจทย์ และความต้องการที่จะสร้างนวัตกรรมอย่างรวดเร็ว แนวคิดนี้เปลี่ยนไปมากแล้วในยุคนี้ กับคนรุ่นใหม่ๆ
หากวันนี้ การพัฒนาโปรแกรมหรือแอพพลิเคชั่นเป็นในรูปแบบ เก่าที่เราเรียกกันว่า (Water flow model) จะทำให้ใช้เวลามากกว่าคู่แข่ง ที่ส่วนมาก หันมาใช้วิธีการพัฒนาแบบ Agile ซึ่งปัจจุบันเราจะเห็นว่า เครื่องมือในการควบคุมและจัดการให้นักพัฒนา ทำงานร่วมกันได้ เช่น Jira soft หรือ trello รวมถึง Git hub มีให้เห็นออกมา หรือ บางแห่งอาจจะใช้ Post it ในการเริ่มวิเคราะห์ และออกแบบ โดยวิธีการจะทำงานร่วมกับผู้บริหาร ลูกค้า นักพัฒนา โปรแกรมเมอร์ในแขนงต่าง ๆ นักวิเคราะห์ระบบ และ system admin
แต่เนื่องจากว่าการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานในรูปแบบนี้สิ่งที่พบก็คือเป็นการปรับเปลี่ยนครั้งใหม่จะต้องมีผู้เชี่ยวชาญและมีความรู้อีกทั้งในการทำงานด้วย วัฒนธรรมการทำงานแบบนี้ บางคนจะไม่คุ้นเคย
เทคโนโลยีที่ทำให้นวัตกรรมที่เราคิดเกิดได้อย่างรวดเร็วปัจจุบัน ก็มีการพูดถึง การนำเอา คอนเทรนเนอร์มาใช้ หรือ การใช้ไมโครเซอร์วิส แยกออกเป็นเพื่อให้ตอบโจทย์การพัฒนาแอพพลิเคชั่นในยุคปัจจุบัน
บทบาทของ โอเพนซอร์สในปัจจุบันได้เข้ามามีส่วนในนวัตกรรมหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น ML , AI , IoT, Big data และอื่น ๆ เป็นความตั้งใจของ Red hat ที่สร้าง Innovation Labs เพื่อที่จะเป็นพี่เลี้ยงให้ลูกค้า ตั้งแต่ Prework >> Residency >> Post-Residency โดยการเปิดให้ลูกค้าเข้ามาใช้ Redhat Open Innovation Labs ซึ่งทั้งโลกนี้มีบริการอยู่ 3 แห่ง คือ บอสตั้น ลอนดอน สิงคโปร ถ้าเป็นประเทศไทย ก็คงต้องไปที่ สิงคโปร์ ปัจจุบันลูกค้าที่มาใช้บริการ มาจาก Finance , Goverment, Telco , Enterprise
กิจกรรมในภาคพื้น เอเซียแปซิฟิค เช่นการจัด Workshop เรื่อง Agile และ DevOps ที่มาเลเซีย ที่ออสเตเรีย เรื่อง Agile and DevOps workshop
โปรแกรมที่ เข้าร่วมตอนนี้ จะเป็นแบบ Residency Program ซึ่งจะอยู่กัน 6 week ยกตัวอย่าง เช่น
employment services จาก Australia ระบบ Financial services จากอินเดีย มาเลเซีย และ ญี่ปุ่น
Use cases เช่น Heritage Bank และอีกแห่งที่ลูกค้าให้เปิดเผยได้ บริษัทประกันภัย อย่าง Motability
การที่ red hat สร้าง Innovation Labs จะช่วยทำให้เกิดประโยชน์อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น start up ที่เพิ่งจะเริ่มต้นก็จะมีพี่เลี้ยง ที่จะลงมือสร้าง นวัตกรรม บริษัทที่ต้องการสร้างงานบริการเพื่อให้ตอบโจทย์ที่มีการปรับเปลี่ยน อย่ารวดเร็วเพื่อรับมือกับภาวะการแข่งขันในยุคปัจจุบัน เพราะ redhat มีผู้มีประสบการณ์ที่จะคอยเป็นพี่เลี้ยงให้แบบ 1 ต่อ 1 นี้คือจุดเด่นที่เราจะได้รับการ ถ่ายทอด ความรู้และประสบการณ์ จากผู้เชียวชาญ
ผมได้สอบถามด้านการศึกษา (Red Hat Academy) ที่เปิดให้มหาวิทยาลัย ได้ใช้ Platform , middleware และ Cloud technologies ได้ฟรี เพื่อใช้ในการเรียนการสอน เช่น วิศวกรรม ซอฟต์แวร์ การได้ลงมือปฏิบัติกับเทคโนโลยีจริง ๆ ซึ่งมหาวิทยาลัยในไทยสามารถใช้ได้ ถ้าเรามองว่า 75% ของ Clouds ใช้ Open Source ขับเคลื่อนยิ่งเป็นโอกาสทีมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จะเข้าถึงเทคโนโลยีแบบนี้ได้ เช่น Open Stack , Open shift
มีนักข่าวถามผู้บริหารของ redhat ว่าในเมืองไทยรัฐบาลไม่ได้พูดถึง โอเพนซอร์ส นานแล้วเป็นอุปสรรคหรือไม่ Demien Wong Vice President and general Mnager, Asian Growth & Emerging Markets(GEMs) ของ Red hat สิงคโปร์ บอกว่า เรื่องนี้ไม่ได้เป็นปัญหาเพราะทั่วโลก ไม่ได้พูดถึงว่าอะไรเป็นโอเพนซอร์สหรือไม่เป็น แต่เรากำลังพูดถึงวิธีการขับเคลื่อน นวัตกรรมที่จะตอบโจทจ์ และ การทำ digital tranfrom ที่ช้าไม่ได้และการที่ ไม่ user login ซึ่งหมายถึงการที่ลูกค้าเลือกใช้เทคโนโลยีอะไรแล้วติดเข้าระบบย้ายไปไหนไม่ได้แต่ซึ่ง Open innovation จะตอบปัญหาเหล่านี้ได้
Red Hat เป็นผู้นำด้าน open source ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด ตั้งแต่ ปี 1993 ถึงตอนนี้ก็ 25 ปีแล้ว ปีปัจจุบัน รายได้อยู่ที่ 3 พันล้านเหรียญ เป็นบริษัทที่เติบโตแบบต่อเนื่อง
วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
กลต ออกหลักเกณท์มารองรับการขายโทเคนดิจิทัลแล้ว
หลังจากที่ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ประกาศใช้ พ.ร.ก. การประกอบธุรกิจ สินทรัพย์ดิจิทัล เรียบร้อยไปแล้วนั้น เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ก็ได้ออกหลักเกณฑ์และจะมีผลบังคับใช้ในวันที 16 กรกฎาคม 2561 ทำให้ต่อไปนี้ใคร ต้องการจะออก ICO จะต้องทำอย่างไรและผ่านขั้นตอนอะไร เมื่อมีความชัดเจนก็เป็นโอกาสของผู้ประกอการ
ผู้ที่ต้องการจะออก ICO ต้องผ่านการคัดกรองจาก ICO Portal ก่อน ซึ่งใครสนใจจะ ทำหน้าที่นี้ก็สามารถยื่นขอความเห็นชอบ จะใช้เวลา 90 วัน
การลงทุนมีความเสี่ยง
ดาว์โหลดแบบฟอร์มต่างๆ ได้ที่ www.sec.or.th
ความรู้เกี่ยวกับ พ.ร.ก การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล
ข้อมูลการให้บริการเป็นตัวกลาง https://www.sec.or.th/mpublish/digitalasset/digitalasset_intermediaries.html
ผู้ที่ต้องการจะออก ICO ต้องผ่านการคัดกรองจาก ICO Portal ก่อน ซึ่งใครสนใจจะ ทำหน้าที่นี้ก็สามารถยื่นขอความเห็นชอบ จะใช้เวลา 90 วัน
คุณสมบัติของ ICO Portal
- จะต้องเป็นบริษัทไทย มีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 5 ล้านบาท
- มีโครงสร้างการบริหารจัดการ ระบงาน ตลอดจนบุคลากรที่เหมาะสมต่อการประกอบธุรกิจ
- มีคามพร้อมในการทำหน้าที่
- คัดกรองผู้ระดมทุน
- ประเมินแผนธุรกิจ และ โครงสร้างการกระจายโทเคนดิจิทัล
- ตรวจสอบชุดรหัสทางคอมพิวเตอร์หรือ Source Code
- ทำความรู้จักสถานะของผู้ลงทุน
- ประเมินความสามารถในการรับความเสี่ยงของผู้ลงทุน
คุณสมบัติผู้ออก ICO
- ป็นบริษัทจัดตั้งตามกฏหมายไทย
- งบการเงินปีล่าสุด ตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบ
- กรรมการ ผู้บริหาร ไม่มีลักษณะต้องห้าม
- ผ่านการคัดกรองโดย ICO Potal ที่จะเสนอขายผ่านว่ามีคุณสมบัติเหมาะสม
- ยื่นหนังสือชี้ชวนต่อ กลต โดยมีข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับผู้ออกโทเคน รายละเอียดแผนธุรกิจ สิทธิในโทเคน ที่เป็นโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนหรือเพื่อการใช้ประโยชน์และข้อมูลการเสนอขาย
- กลต พิจารณาอนุญาตภายใน 60 วันนับจากเอกสารครบถัวน
- เมื่อได้รับอนุญาตเสนอขายโทเคนดิจิทัลผ่าน ICO Potal ภายใน 6 เดือน
นักลงทุน
- นักลงทุนสถาบัน
- ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ เช่น บุคคลธรรมดาที่มีสินทรัพย์ตั้งแต่ 70 ล้านบาทขั้นไป หรือมีเงินลงทุนในหลักทรัพย์ตั้งแต่ 25 ล้านบาท ขึ้นไป
- นิติบุคคลร่วมลงทุน หรือ กิจการเงินร่วมลงทุน (venture capital & private equity)
- ผู้ลงทุนอื่น ๆ รายละไม่เกิน 300,000 บาท ต่อ โครงการ
การลงทุนมีความเสี่ยง
ดาว์โหลดแบบฟอร์มต่างๆ ได้ที่ www.sec.or.th
ความรู้เกี่ยวกับ พ.ร.ก การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล
ข้อมูลการให้บริการเป็นตัวกลาง https://www.sec.or.th/mpublish/digitalasset/digitalasset_intermediaries.html
วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
Facebook ได้รับแรงกดดันจากนักลงทุนเรื่องการรับมือกับข่าวปลอม
สืบเนื่องมาจากข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้เฟสบุค จนมีผลให้ มาร์ค ต้องเข้าให้การในสภาครองเกรช ถึงเรื่องที่ผ่านมา เพราะช่วงเวลาของการหาเสียงก็เกิดข่าวปลอม ออกมาจนทำให้ มีผลกับการชนะเลือกตั้งของ ประธานาธิบดี ทรัมป์ ก็มีข่าวว่า Facebook อาจจะได้รับการอภัยโทษ ในช่วงสัปดาห์แห่งเสรีภาพ เนื่องจากปัญหาเหล่านี้เกิดจาก เทคโลโลยี ที่คาดไม่ถึง ตั้งแต่ รถยนต์ขับเอง จนกระทั้งไปถึงเกมส์การเมือง ปัญหาที่ Facebook เจอพวกเขาได้แก้ไขไปก่อนหน้านี้แล้วเพียงแต่ มันเป็นปัญหาของ บริษัท Cambridge Analytica ซึ่ง มาร์คต้องขึ้นให้การในเรื่องนี้ในฐานะพยาน
ความวุ่นวายของเฟสบุคยังไม่จบเขาต้องตอบคำถามกับนักลงทุนที่อยู่กับเฟสบุคด้วยเช่นกันในงานประชุมประจำปีผู้ถือหุ้น เมื่อผู้ถือหุ้นถามถึงการแก้ปัญหาเรื่องข่าวปลอม และให้ทำรายงานเรือง ประเด็นนโยบายสาธารณะ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการข่าวปลอม Reverend Jesse Jackson กล่าวว่า "ข่าวปลอมและการโกหกกำลังจะทำลายพวกเรา"
มาร์ค ได้กล่าวว่าหลายคนที่เผยแพร่ข่าวปลอมหลายคนไม่ได้ทำเพราะเจตนา เพียงแต่เขาเป็นส่วนหนึ่งของ SPAM เท่านั้น
ปัญหาเรื่องข่าวปลอมที่เป็นปัญหาอยู่ในตอนนี้บนเฟสบุคเองก็พยายามปรับตัวให้ผู้ใช้งานรายงานและสามารถเลือกรับ โฆษณาได้แล้ว
ความวุ่นวายของเฟสบุคยังไม่จบเขาต้องตอบคำถามกับนักลงทุนที่อยู่กับเฟสบุคด้วยเช่นกันในงานประชุมประจำปีผู้ถือหุ้น เมื่อผู้ถือหุ้นถามถึงการแก้ปัญหาเรื่องข่าวปลอม และให้ทำรายงานเรือง ประเด็นนโยบายสาธารณะ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการข่าวปลอม Reverend Jesse Jackson กล่าวว่า "ข่าวปลอมและการโกหกกำลังจะทำลายพวกเรา"
มาร์ค ได้กล่าวว่าหลายคนที่เผยแพร่ข่าวปลอมหลายคนไม่ได้ทำเพราะเจตนา เพียงแต่เขาเป็นส่วนหนึ่งของ SPAM เท่านั้น
ปัญหาเรื่องข่าวปลอมที่เป็นปัญหาอยู่ในตอนนี้บนเฟสบุคเองก็พยายามปรับตัวให้ผู้ใช้งานรายงานและสามารถเลือกรับ โฆษณาได้แล้ว
สำหรับผู้คนที่ไม่มั่นใจว่าข่าวนั้นเป็นข่าวปลอมหรือไม่ อีกทางเลือกก็คือ ใช้ Google image ในการตรวจสอบข่าว โดยการใช้รูปภาพ
เราสามารถอ่านเงือนไขต่าง ๆ ของ นโยบายความเป็นส่วนตัวได้ https://www.facebook.com/privacy/explanation
มาร์คยังพูดให้กำลังใจนักลงทุนอีกว่า ตอนนี้กำลังดูช่องทางที่จะ เผยแพร่ facebook ในจีน แต่ต้องศึกษาระเบียบข้อกฏหายต่อไป
(คนจีนตอนนี้ใช้ renren.com แทน Facebook )
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)