วันพุธที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2560
งานเทคโนโลยีดิจิทัล digital Thailand Big Bang ที่ผ่านไป
ในวงการพัฒนากำลังคนในด้านศึกษา ผมได้เข้าไปร่วมในการสังเกตุการและแสดงความคิดเห็นว่า จริง ๆ แล้วประเทศของเรา มีความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะ พัฒนาบุคลากร ให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม โดยกล่าวถึงภาพรวมของเทคโนโลยี โดยเฉพาะนักพัฒนา developer หรือ โปรแกรมเมอร์ โดยปัญหาใหญ่ของประเทศเราในขณะนี้ กำลังขาดแคลด
การผลิตบุคคลากรให้ตรงความต้องการนั้น ผมได้ให้ความเห็นไปว่า กระทรวงศึกษาของ เราได้พยายามปรับการเรียนการสอนไปบ้างแล้ว เช่น ส่งเสริมการนำเอา STEM education เข้าไปใช้ในโรงเรียนที่มีความพร้อมมีครูที่จะนำเอาวิทยาศสตร์ เทคโลโนโลยี
การผลติบุคลากรของภาคอาชีวะ มีโครงการเรียกว่าไตรภาคี เพื่อให้สถานประกอบการ กับสถานศึกษาได้ทำงานร่วมกันโดยส่งนักศึกษาไปฝึกงานแล้วกลับมาเรียนและกลับไปทำงาน โดยทำกันมาสักระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งสอดคล้องกับ นโยบาย Linkin ในสิงคโปร์ ที่จะมีผู้ประกอบการบริษัทฝึกอบรมเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ และมีภาครัฐให้การสนับสนุน
การศึกษาในประเทศเราโดยมากจะพูดถึงแต่ การเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษา ตอนปลายที่เด็กจบไปแล้วไม่เข้าเรียนสาย เทคโนโลยีเท่าที่ควร จนมหาวิทยาลัยขาดแคลนจำนวนผู้เรียน ส่วนหนึ่ง จำนวนเด็กที่เกิด ก็ลดน้อยลงด้วยเช่นกัน
วันพุธที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2560
Ebook business model
หลังจากที่อีบุ๊ค เริ่มเข้ามามีบทบาทในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เราเริ่มเห็นความชัดเจนแล้วว่า รูปแบบของ e book นั้นธุรกิจจะเป็นอย่างไร ในยุคเริ่มแรก e book มีแนวคิดว่าจะขายออกมาเป็นเล่ม ให้คล้ายกับหนังสือจริงในท้องตลาด เนื่องจากว่ามีการประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บ แต่ดูเหมือนว่าการอ่านหนังสือนั้นจะเป็นความนิยมของคนในยุคเบบี้บูมและยุค gen x มากกว่าคนในยุค gen y ถึงทำให้หนังสืออีบุ๊คนั้นไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าที่ควรหลายค่ายออกมาร์แรก แต่ก็มีแล้วก็เริ่มเห็นชัดเจนที่ว่า business model ของ ebook นั้นจะเป็นอย่างไรยุคนี้เราจะเริ่มเห็นหนังสืออีบุ๊คจะออกมาในรูปแบบของเหมารวมหรือสมัครเป็นสมาชิกแล้วอ่านได้ทุกเล่มยกตัวอย่างเช่นแพ็คเกจของ amazon amazon เองก็มี package unlimited แต่ก็แล้วแต่ว่าหนังสือเล่มไหนจะเข้าร่วมรายการบ้างไม่ใช่อ่านได้ทุกเล่ม มิสซ้อนไม่ได้มีสำนักพิมพ์เป็นของตัวเองเพราะฉะนั้นก็ต้องรอว่าสำนักพิมพ์ลายไหนจะยอมเข้าร่วมโครงการโดยมากจะเป็นสำนักพิมพ์ที่มีชื่อเสียงน้อยกว่าน้อยลงหน่อย โดยการสอบสมาชิกแบบ unlimited ของ amazon มีค่าใช้จ่ายเพียง 9.99 เหรียญต่อเดือนและถ้าเราไปมองถึงค่ายหนังสือที่เฉพาะเจาะจงอย่างเช่น โอไรเลย์ นอกจากจะมีขายเป็นเล่มสำหรับ e book แล้ว เขาก็มีแบบเหมาจ่ายรายเดือนเช่นกัน ซึ่งจะสามารถอ่าน ebook ได้ไม่จำกัด ค่ายที่ผมใช้อยู่เป็นประจำอย่าง pack publishing ก็ลดราคา ebook ลงมาบางเนื้อหาเหลือเล่มละ 3 เหรียญก็เคยทำแล้วหรือเหมาแพ็คเกจ 10 เหรียญอ่านได้ 5 เล่มอย่างนี้เป็นต้นและก็มีแพคเกจสมาชิกรายปีตกเป็นเงินไทยปีละไม่กี่พันบาทก็สามารถที่จะเข้าถึงข้อมูล ทั้งวีดีโอและหนังสืออีบุ๊คกว่า 4000 เล่ม เราก็จะเห็นว่า โมเดลธุรกิจของอีบุ๊คจะออกแบบมาในรูปลักษณะของการให้บริการเช่าอ่านซะมากกว่าซึ่งน่าจะทำให้เป็นที่นิยมมากขึ้นเพราะคนอ่านหนังสือต้องการที่จะค้นคว้าหนังสือที่มากกว่า 1 เล่นอยู่แล้ว ในประเทศไทยเองก็มีผู้ให้บริการในลักษณะนี้เช่นกัน เช่นนบี อุ๊คบีก็มีให้เหมาจ่ายเป็นรายปีสามารถอ่านหนังสือพิมพ์บางฉบับนิตยสารบางฉบับที่เข้าร่วมโครงการกับอุ๊คบี ผู้ใช้บริการก็สามารถอ่านหนังสือและนิตยสารเหล่านั้นและตลอดทั้งปี
วันพุธที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2560
การเปิดตัว iPhone 8, iPhone X แต่ที่มากกว่านั้นคืออะไร
วันพุธที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2560
การใช้ QR-Code ในการชำระเงิน
ขั้นตอนการใช้งาน
ผู้ใช้งานต้องมีกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ ก่อน ซึ่งก็คือ แอปพลิเคชั่น ของบัญชีธนาคารที่ให้บริการ เมื่อจะชำระเงินก็เพียงเปิดแอปพลิเคชั่นของธนาคารที่เปิดบัญชีเอาไว้ แล้วสแกน QR-Code ราคาสินค้าจากนั้นก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการชำระเงิน และยืนยันการจ่ายเงินร้านค้าซึ่งเป็นผู้รับชำระเงินด้วย ระบบนี้จะต้องทำการ สร้างรหัสจากโปรแกรมหรือแอปพลิเคชั่นของธนาคารที่ทางร้านเปิดบัญชีเอาไว้ และเมื่อมีการชำระเงินสำเร็จก็จะแจ้งเตือนไปที่แอปพลิเคชั้นของร้านค้าทันที
ความแตกต่างก็คือหาก ลูกค้าใช้ QR-code คนละธนาคารกันหรือแต่ละธนาคารต่างคนต่างทำ ผู้ชำระเงิน กับร้านค้าใช้มาตรฐานคนละอย่างกันก็จะไม่สามารถชำระเงินได้ ดังนั้นจึ้งต้องใช้มาตรฐานเดียวกันจึงจะสามารถบริหารจัดการได้ สมาคมธนาคารจึงเลือกใช้มาตรฐานนี้
จะว่าไปแล้ววิธีการชำระเงินด้วยรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อไม่นานมานี้ หลายคนอาจจะเคยใช้ paypal ในการรับชำระเงิน ร้านค้าจะสร้าง LINK URL จาก paypal แล้วเราก็ส่งลิงค์เป็นไปให้ลูกค้าชำระเงินผ่าน paypal ก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง หรือร้านค้าก็เข้าไปสร้างลิงค์ราคาสินค้าของบัญชีร้านค้าแล้วจะเอาไปส่งผ่านอีเมล์ หรือ เอาไปแปะที่รายการสั่งซื้อสินค้าก็ได้
วิธีการชำระด้วยการสแกน QR-Code ก็เหมือนกับเอา ลิงค์ URL ไปสร้างรูป QR-Code ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการสร้างรูป QR-Code สามารถสร้างได้ไม่ยากที่ที่ยากก็คือ ข้อมูลต่าง ๆ ที่จะเอามาสร้าง QR-code นั่นละที่ยากเพราะเราจะสังเกตุได้ง่ายว่า QR-code ที่เป็นมาตรฐาน EMVCo จะมีจุดข้อมูลที่ละเอียดเพราะต้องสร้างจาก data-object หลายหลักเช่นกัน
EMVCo ได้รับการยอมรับจากบัตรเครดิต ตัวอย่างเช่น American express และเพื่อให้การจ่ายเงินเป็นมาตรฐานเดียวกันใครสนใจข้อมูลเกี่ยวกับ Data object ก็สามารถซื้อได้ ผ่าน https://www.emvco.com/
EMVCo เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของเทคโนโลยีมาตรฐานเปิด เรื่องความกังวลว่าจะถูกแอบเปลี่ยน QR-Code ไปเป็นบัญชีรายของผู้รับรายอื่นนั้น ไม่ใช่ไม่มีความเป็นไปไม่ได้ แต่การทีจะมีบัญชีรับเงินด้วยระบบนี้ ก็ต้องมีตัวตนร้านค้าที่ชัดเจน เหมือนการใช้เครื่องรูดบัตรชำระเงินหน้าเค้าเตอร์ ก็ต้องให้ธนาคารเป็นผู้ยืนยันตัวตนของร้านค้าอีกที ดังนั้นการติดตามตัวผู้กระทำผิดก็ไม่น่าจะยาก และ เมื่อชำระเงินไปแล้วหรือชำระผิดก็สามารถยกเลิกได้ทันทีเพราะ ร้านค้าจะต้องรู้ทันทีเมื่อชำระเงินผ่านระบบ
การติดตั้ง แอปพลิเคชั่นของ ผู้ซื้อ อาจจะต้องระวังเรื่องแอปปลอม แต่เชือว่าหลายธนาคารคงให้ลูกค้าที่เปิดบัญชีไปติดตั้งแอปที่ธนาคารซะส่วนใหญ่
ข้อมูลการรับจ่ายเงินมีการส่งผ่านแบบเข้ารหัส Secure Remote Commerce (SRC)ซึ่งใน EMVCo ก็จะมีการระบุไว้แต่ต้องชำระค่าสมาชิกหลายส่วน และรอให้EMVCo ยินยอมให้เข้าใช้ระบบในส่วนนี้
แต่อย่างไรก็แล้วแต่การใช้งานของผู้บริโภคเองก็สำคัญเพราะการจ่ายจะมีการป้องกันอีกชั้นหนึ่งเช่น รหัสผ่าน หรือ รหัส OTP ที่จะชำระเงินในแต่ละครั้ง ว่าไม่ควรบอกให้ หรือ การติดตั้ง App อื่นๆ ว่ามีการเข้าถึงข้อมูลอะไรบ้าง