มีการทดลองใช้วิธีการลงคะแนนเลือกตั้งผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ในสหรัฐอเมริกามาสามปีแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถนำมาใช้จริงทั้งระบบได้ ทั้งๆที่ การกรอกบัตรลงคะแนนบนสมาร์ทโฟนทำได้เหมือนกับการใช้งาน ธนาคารทางโทรศัพท์
สาเหตุก็เกิดมาจากความไม่ไว้วางใจระบบการเลือกตั้ง ของเจ้าหน้าที่การเลือกตั้งกังวลเกี่ยวกับการเจาะระบบการลงคะแนน เพื่อทำการลงคะแนนในระบบ ถึงแม้ว่าจะมีเทคโนโลยีอย่าง blockchain ด้วยก็ตาม Hacker อาจจะทำการแก้ไขระบบการนับคะแนน และคำถามตามมาอีกหลายข้อเช่น การป้องกันตัวตนของผุ้มีสิทธิืเลือกตั้ง หรือ สามารถตรวจสอบระบบหลังการเลือกตั้งได้หรือไม่
[1]ตั้งแต่ปี 2005 เป็นต้นมาชาวเมืองเอสโตเนียได้ใช้งานระบบลงคะแนนเลือกตั้งนอกราชอานาจักรผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรียกว่า I-Vote เพื่อลงคะแนนเสียงในระดับชาติ ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2011ชาวเอสโตเนียใช้สิทธิ์เลือกตั้งมากถึง 25% เพิ่มมา 5.5% เมื่อเทียบกับครั้งก่อน และปี 2014 มีผู้ใช้งานมากขึ้น 98% สำหรับการลงคะแนนเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร
[2]ในสหรัฐ Bradley Tusk นักลงทุนที่เคยลงทุนกับ Uber ได้ทำการลงทุนกับระบบการลงคะแนนผ่าน smart phone โดยที่ Tusk ได้ให้เงินสนับสนุนโครงการนำร่องการลงคะแนนเสียงผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ ผ่านองค์กรไม่แสวงกำไรชื่อว่า Tusk Philanthropies โดยคาดหวังว่าในอีก 5 ถึง 10 ปีข้างหน้าคนรุ่นใหม่ที่เติบโตมากับ สมาร์ทโฟนจะเรียกร้องหาบริการสำหรับการลงคะแนนเสียง ซึ่งตอนนี้กำลังทดสอบระบบโดยคาดว่าจะได้ใช้ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
ที่ผ่านมามีการลงคะแนนผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่แล้วอย่างน้อย 8 เขต โดยใช้กับเจ้าหน้าที่ทหารในต่างประเทศ หรือ กับพลเมืองที่มีความทุพลภาพ
เมืองเดนเวอร์ใช้ระบบในการลงคะแนนผ่านมือถือจาก Boston startup เรียกระบบนี้ว่า Voatz ในการเลือกตั้งระดับเทศบาลเมื่อปี 2019
เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2019 การเลือกตั้งระดับเทศบาลผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงทะเบียนใช้แอป Voatz ลงคะแนน โดยที่หนังสือรับรองและบัตรลงคะแนนจะถูกบันทึกลงระบบดิจิทัล แต่ก้สามารถพิมพ์ออกมาได้
Blockchain น่าจะมาแก้ไขปัญหาต่าง ๆได้ แต่ในทางปฏิบัติ ถึงแม้ระบบจะมีความปลอดภัยมีการเข้ารหัสกระจายไปในคอมพิวเตอร์มากมาย แต่ยังไม่มีวิธีที่จะยับยั้งการโจมตีระบบจากผู้ที่จะพยายามเข้ายึดเครือข่าย
ดังนั้นปัจจุบันระบบการลงคะแนนที่ปลอดภัย ของ Democracy live ที่ใช้ Amazon Web Services จะมีการจัดเก็บข้อมุลที่ปลอดภัย แต่ก็ยังคงถูกวิภาควิจารณ์ ด้วยเหตุนี้การลงคะแนนผ่าน สมาร์ทโฟน จึงยังต้องต่อสู้กันเรื่องแนวความคิด
ปิดท้ายสำหรับประเทศไทยก็มีเอกชน นักวิจัย รวมถึง นักการเมือง ที่มีแนวคิดอยากจะนำ Blockchain มาใช้ในการเลือกตั้ง แต่ก็ยังไม่สามารถที่จะนำมาใช้ในการเลือกตั้ง แม้แต่ระดับท้องถิ่นได้ ด้วยเหตุที่ระบบต้องใช้งบลงทุนสูง และ เรื่องของความเชื่อมั่นอีกเช่นกัน รวมถึงการยอมรับของ กกต และ พรบ ที่ต้องออกมารองรับการลงคะแนนด้วยวิธีดิจิทัลที่ยังไม่มี
อ้างอิง
1. blockchain เปลี่ยนโลก หน้า 222