วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2563

ดิจิทัลกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง

 ช่วงนี้ มีประเด็นร้อนทางการเมืองหลายเรืองและแยกไม่ออกกับ IT กับการเมือง เรื่องร้อน ตั้งแต่คำสั้ง ปิดกลุ่ม ปิดเพจ ใน FaceBook หลังจากนั้น ก็มีการกระจายข่าวในกลุ่มผู้ชุมนุม ให้ติดตั้ง Telegram เป็นช่องทางสำรอง หากมีการปิดจริง ๆ ก็จะได้มีช่องทางสื่อสารบางคนมองว่าผู้ใหญ่ตามเด็กๆ ไม่ทัน แต่ จริง ๆ แล้ว ในกลุ่มคนที่ใช้ Application ตัวนี้ กันในกลุ่มที่ ซื้อขาย Digital currency เพราะเนื่อจาก Telegram ไม่มีโฆษณามากวนใจ และที่สำคัญ Telegram เข้ารหัสข้อความ ไม่สามารถดักข้อความแล้วนำมาถอดรหัสได้ ถึงแม้จะมีการ ยึด Server ได้ก็ไม่สามารถถอดรหัสได้เพราะ 

Telegram สร้างโดยสอง พี่น้อง ชาวรัฐเซีย นิโคไลและพาเวล ( Nikolai and Pavel Durov.) Nikolai Durov สร้างโปรโตคอลMTProtoที่เป็นพื้นฐานสำหรับผู้ส่งสารในขณะที่ Pavel ให้การสนับสนุนทางการเงินและโครงสร้างพื้นฐานผ่านกองทุน Digital Fortress โดยมีหุ้นส่วน Axel Neff ร่วมเป็นผู้ร่วมก่อตั้งคนที่สอง บริษัท และแอปนี้เริ่มต้นในรัสเซียและย้ายไปที่เยอรมนี ปัจจุบันเป็นองค์กรไม่แสวงกำไร และมีที่อยู่ไม่เป็นหลักแหล่ง ย้ายไป ย้ายมา หลายประเทศ ดังนั้น เราถึงได้ไม่พบโฆษณาใดๆให้กวนใจ พวกเขาไมได้ลงทุนตั้ง Server เองเขาให้บริการ Google Cloud และ Amazon เป็น Infrastructure 

การใช้ social media ของคนแต่ละกลุ่มมีวัตถุประสงค์ไม่เหมือนกัน คนทำงานใช้ Social media เพื่อการทำงานที่ไหนมีคนเยอะมาใช้กันเยอะๆ ก็มีการซื้อขายกัน

สื่อสารมวลชน ก็ใช้เพือการสื่อสารออกไปถึงผู้รับข่าว ก็ใช้งานเพื่อการนั้นๆ ดังนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกที่หลายคนจะมาใช้ Facebook, Twitter, YouTube, Line

Telegram โดยมากใช้กันในกิจกรรมที่เป็นความลับ หลายประเทศที่มีปัญหาทางการเมือง ก็มีคนที่นำไปใช้ เพื่อการติดต่อสื่อสารกันระหว่างกลุ่ม

แต่ละประเทศรับมือกับ Telegram กันอย่างไร

จีน ปิดกันไม่ให้ใช้งาน Telegram และกำลังจะมีการปิดกันการใช้งานที่อ่องกง ด้วยวฺิธีนี้เป็นวิะีที่รุ่นแรง 

รัฐเซีย ก็เคย ปิดบริการ โดยขอร้องไปยัง google และ Apple ให้เอาแอปพลิเคชั่นนี้ออกจาก Play Store แต่ก็ไม่ได้รับความร่วมมือ ต่อมารัฐบาลรัฐเซีย ก็ ใช้งาน Telegram เพื่อสื่อสารเรือง Covid-19 ไปยังผู้คน และใช้งานเป็นที่แพ่หลาย

ไทย ทันทีที่ รัฐบาล รู้ว่ากลุ่ม ผู้ชุมนุม ใช้ Telegram เพื่อสื่อสารก็มีการประกาศสั่งปิดกั้น แต่ ในทางเทคนิคจะมีการให้ความร่วมมือจากเจ้าของเทคโนโลยี ได้หรือ ไม่นั้น ยิ่งทำให้น่าติดตาม

ถึงแม้จะปิด Internet

ก็จะมีแอป Chat แบบ ออฟไลน์ให้ใช้งานกัน และ ฟรี และสามารถสื่อสารได้ระยะ 100 เมตรขึ้นไป และ ส่งต่อ ๆ กันไปได้ เช่น zapChat และ Bridgefy

ทางเทคนิค

ไม่ว่าจะปิดกันในแบบ ขอร้องให้ Apple กับ Google ปิดการดาว์นโหลดจาก Play store ในทางเทคนิค ก็สามารถเข้าไปดาว์โหลดได้ ด้วยการใช้ VPN และไป ดาว์โหลดในประเทศอืนที่ไม่ปิดกัน

การสั่งปิดสื่อของ อย่างช่อง voice tv , The standard และอื่น ๆ แต่ก็สามารถ ทำการถ่ายทอดสดในนามของชื่อใหม่ ๆ ได้อยู่ดี ไม่สามารถปิดกั้น ได้เหมือน ยุคก่อนมีอินเตอร์เน็ต

เมื่อรัฐปิด ก็จะมีผลกระทบตามมา หลาด้าน กลายเป็นเงื่อนไข อีกข้อที่ทำให้การลงมาบนถนนเพิ่มมากขึ้นเพราะถ้าหากใครติดตาม ทีวีดิจิตอลจะพบว่า มีข่าวการชุมนุมน้อยมาก เมื่อเทียบกับช่องทาง ไลฟ์สด ทาง ทำให้ตอนนี้ เพจเกิดใหม่ในเฟสบุคที่ขยันไลฟสด มียอดผู้ติดตามมากขึ้น

การรับมือของรัฐ

การรับมือของ รัฐที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น IO ก็ดีจะเป็นในลักษณะของการเข้าไปทำ comment ฝั่งตรงข้ามเพื่อให้เกิดความขัดแย้งกันมากกว่า ที่จะใช้เหตุและผลในการอธิบาย 

ไม่ควรจัดม๊อบชนม๊อบ เพื่อให้เกิดสถานการณ์รุนแรง รัฐควรใช้ เครื่องมือออนไลน์ ทำสำรวจ ใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยี ทำ Social mining เพื่อวิเคราะห์ความต้องการที่แท้จริง ไม่ควรที่จะ บอกว่านักศึกษาไทยคิดเองไม่เป็น เรียบแบบฮ่องกง

รัฐบาลเองไม่ต้องรอเวลานัดประชุมนัดเจอ ใช้เทคโนโลยีในการประชุมทางไกลแทน ทั้งๆที่มี พรบ ออกมารองรับแล้วว่าการประชุม ด้วยดิจิทัล สามารถทำได้

วิวัฒนาการของการชุมนุม

การชุมนุมในครั้งนี้ทำให้นึกถึง กิจกรรมสัมมนา ในแวดวง ไอที หลายปีมาแล้ว การจัดกิจกรรมทางไอที ที่ออกมาคล้าย ๆ กับการชุมนุม เช่น งาน Bar Camp ที่การจัดงานไม่มี การระบุผู้พูดผู้บรรยาย และหัวข้อที่อยากพูดล่วงหน้า ใครอยากพูดก็ ไปขึ้นกระดานไว้ในงานและก็มีการโหวดกันว่าใครอยากฟังเรื่องอะไร ก็ไปลงคะแนนกัน ถ้าคนเยอะก็แยกย้ายกันไปใช้ห้องประชุมใหญ่หน่อย ครั้งแรก BarCamp ถูกจัดขึ้นในพาโลอัลโต, แคลิฟอร์เนียจากวันที่ 19-21 สิงหาคม 2005 ในสำนักงานของSocialtext การจัดงานเตรียมขึ้นภายในเวลาไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ จากแนวคิดสู่กิจกรรมโดยมีผู้เข้าร่วม 200 คน และ ก็นำเอาไปจัดงานแบบนี้กันไปทั่วโลก ประเทศไทยเองก็เคยจัด กันต่อเนื่องมาหลายปี

อ้างอิง

https://en.wikipedia.org/wiki/Telegram_(software)#cite_note-181
https://en.wikipedia.org/wiki/Telegram_(software)#Encryption_scheme
https://www.barcampbangkok.org/

ไม่มีความคิดเห็น: