สรุปตัวเลขข่าวปลอมส่งท้ายปี 63 พบจำนวนข่าวที่ต้องคัดกรองกว่า 39 ล้านข้อความ และเข้าเกณฑ์ตรวจสอบ 7,420 เรื่อง ขณะที่เพจอาสาจับตาออนไลน์ ได้ใจประชาชนมีจำนวนแจ้งเบาะแสเฉลี่ยวันละ 280 เรื่อง โดย 3 อันดับแรกที่มีการแจ้งเข้ามามากที่สุด ได้แก่ ความมั่นคง, ความมั่นคง/การเมือง และพนันออนไลน์ โชว์ผลงานไตรมาส 4 ปิดเว็บพนันแล้ว 299 ยูอาร์แอล เงินหมุนเวียนกว่า 35,000 ล้านบาท ประกาศชวน 4 หน่วยงานในสังกัดเตรียมมอบบริการฟรี และส่วนลดค่าบริการเป็นของขวัญปี 64 สำหรับประชาชน
นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวแถลงผลการดำเนินงานของกระทรวงฯ ในการปราบปรามข่าวปลอม และเว็บไซต์/สื่อสังคมออนไลน์ผิดกฎหมาย วันนี้ (22 ธ.ค.63) ว่า
ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย ได้รวบรวมข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.62 – 18 ธ.ค. 63 พบว่า มีข้อความข่าวที่ต้องคัดกรองทั้งหมด 39,209,284 ข้อความ โดยมีข้อความข่าวที่เข้าเกณฑ์ดำเนินการตรวจสอบ 20,829 ข้อความ และหลังจากคัดกรองพบจำนวนเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ 7,420 เรื่อง
โดยช่องทางที่มีการพบเบาะแสมากที่สุดอันดับ
1 คือ ระบบดักจับการสนทนาบนโลกออนไลน์ (Social Listening Tools) พบจำนวน 38,956,319 ข้อความ คิดเป็นสัดส่วนถึง 99.35% [เรืองนี้น่าสนใจว่าทุกวันนี้ ประชาชนถูกดักฟังจากรัฐแล้วใช่ไหม ดังนั้น จะดักฟังว่าบ่อน อยู่ที่ไหน ก็คงไม่น่าจะยาก ]
รองลงมาคือ บัญชีไลน์ทางการ เฟซบุ๊กเพจ และเว็บไซต์ทางการของศูนย์ฯ ตามลำดับ
ทั้งนี้ เมื่อแยกประเภทข่าวที่ต้องตรวจสอบ 7,420 เรื่อง มากกว่าครึ่ง หรือ 56% เป็นข่าวในหมวดสุขภาพ มีจำนวน 4,190 เรื่อง ตามมาด้วยหมวดนโยบายรัฐ 2,809 เรื่อง คิดเป็น 38% หมวดเศรษฐกิจ 266 เรื่อง คิดเป็น 4% และหมวดภัยพิบัติ 155 เรื่อง หรือประมาณ 2% ขณะที่ สัดส่วนข่าวปลอม ข่าวจริง และข่าวบิดเบือนในรอบปี 63 อยู่ที่อัตรา 7 ต่อ 2 ต่อ 1
นายพุทธิพงษ์ กล่าวว่า ด้านเพจ “อาสา จับตา ออนไลน์” มีประชาชนร่วมแจ้งเบาะแสเว็บ/สื่อสังคมออนไลน์ผิดกฎหมายเข้ามา ตั้งแต่วันที่ 31 ก.ค.-17 ธ.ค. 63 รวมทั้งสิ้น 39,300 เรื่อง หรือเฉลี่ยวันละ 280 เรื่อง โดยหลังจากตรวจสอบข้อมูล มีการเก็บหลักฐานนำส่งให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องตวจสอบและดำเนินการ 16,048 เรื่อง คิดเป็น 41% ส่วนอีก 23,222 เรื่อง หรือ 59%
การตรวจสอบเบื้องต้นไม่พบยูอาร์แอล/หลักฐาน โดยสาเหตุส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะมีการลบโพสต์หรือยูอาร์แอลนั้นไปก่อนแล้วเนื่องจากเกรงกลัวการบังคับใช้กฎหมาย
ในส่วนที่มีการเก็บหลักฐานและส่งดำเนินการตามกฎหมาย พบว่า เป็นประเภทความผิด ด้านความมั่นคง 42.72% จำนวน 6,855 เรื่อง ตามมาด้วย ความมั่นคง/การเมือง 26.43% จำนวน 4,241 เรื่อง, การพนันออนไลน์ 17.73% จำนวน 2,845 เรื่อง, อื่นๆ 10.94% จำนวน 1,756 เรื่อง , การหลอกลวง 1.19% จำนวน 191 เรื่อง, ข่าวปลอม 0.63% จำนวน 101 เรื่อง และลามก 0.37% จำนวน 59 เรื่อง
สำหรับการแจ้งเตือนแพลตฟอร์มต่างๆ ตามมาตรา 27 แห่ง พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ ได้ดำเนินการไปแล้วทั้งสิ้น 7 ครั้ง จำนวน 8,443 ยูอาร์แอล แบ่งเป็น เฟซบุ๊ก 5,494 ยูอาร์แอล โดยปิดกั้นแล้ว 3,107 ยูอาร์แอล, ยูทูบ 1,755 ยูอาร์แอล ปิดกั้นแล้ว 1,722 ยูอาร์แอล, ทวิตเตอร์ 674 ยูอาร์แอล ปิดกั้นแล้ว 63 ยูอาร์แอล และอื่นๆ จำนวน 520 ยูอาร์แอล ปิดกั้นแล้ว 133 ยูอาร์แอล
ในการรุกกวาดล้างเครือข่ายการพนันออนไลน์อย่างจริงจัง โดยตั้งแต่เดือน ก.ค. 63 ถึงปัจจุบัน ได้ร่วมกับกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) และศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปอส.ตร.) เร่งดำเนินการจนสามารถสืบสวน และดำเนินการจับกุมเครือข่ายเว็บพนันออนไลน์ มีคำสั่งศาลให้ระงับการแพร่หลายข้อมูลการพนันแล้ว จำนวน 1,711 ยูอาร์แอล
ขณะที่ ช่วงไตรมาส 4 ปีนี้ ผลการปฏิบัติการปิดกั้นเว็บการพนันออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. – 17 ธ.ค. 63 ได้ดำเนินการปิดกั้นแล้ว 299 ยูอาร์แอล จับกุมผู้ต้องหาได้ 143 ราย คิดเป็นมูลค่าเงินหมุนเวียนกว่า 35,000 ล้านบาท
10 ข่าวปลอมที่คนแชร์มากที่สุด
อันดับ 1 ดื่มสไปรท์ใส่เกลือ แก้ท่องร่วง ท้องเสียได้ อันดับ 2 คลอรีนในน้ำประปาเปลี่ยนเป็นสารก่อมะเร็งเมื่อถูกความร้อน อันดับ 3 ใส่ผ้าอนามัยนาน ทำให้เป็นโรคมะเร็งปากมดลูก อันดับ 4 งดใช้ตู้ ATM ที่ไม่มีไฟกระพริบตรงที่เสียบบัตร อันดับ 5 น้ำมันเบนซินมีสารระเหยดูดพิษจากแมลงกัดต่อยหายใน 3-5 นาที อันดับ 6 จัดตั้งจังหวัดในประเทศไทยเพิ่ม รวมเป็น 83 จังหวัด อันดับ 7 ผู้ประกอบการที่ใช้ตราฮาลาลบนสินค้า ไม่ต้องเสียภาษี
อันดับ 8 มหัศจรรย์น้ำปัสสาวะ รักษาโรคแก้ปวดเมื่อย ช่วยให้ตาใสมองเห็นชัด อันดับ 9 บริษัทชื่อดังฉลองวันพิเศษ แจกบัตรกำนัล สินค้า และรางวัลต่างๆ และอันดับ 10 กรอกแบบสอบถามจากหน่วยงานของรัฐลุ้นรับของรางวัลฟรี
อายุของผู้ที่แชร์ข่าวปลอม
รายงานจากศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก รวบรวมระหว่างวันที่ 1 ม.ค. – 18 ธ.ค. 63 เกี่ยวกับพฤติกรรมการโพสต์และแชร์ข่าวปลอม ของชาวโซเชียลในไทย พบว่า มีจำนวนผู้โพสต์ข่าวปลอม 787,055 คน และผู้แชร์ข่าวปลอม 28,519,534 คน
ข้อมูลระบุว่า ประชาชนในช่วงอายุ 25-34 ปี มีพฤติกรรมที่เข้าข่ายการเผยแพร่ข่าวปลอมมากสุด คิดเป็นสัดส่วนถึง 48.8% ส่วนกลุ่มอายุอันดับรองลงมา ได้แก่ 18-24 ปี, 35-44 ปี, 45-54 ปี และ 55-64 ปี ตามลำดับ โดยแบ่งกลุ่มตามเพศของพฤติกรรมเผยแพร่ข่าวปลอม มีสัดส่วนใกล้เคียงกัน คือ ผู้ชาย 51.8% และผู้หญิง 48.2%
ขณะที่ อายุของผู้โพสต์ที่เข้าข่ายเป็นข่าวปลอม กลุ่มอายุ 25-34 ปี ยังนำเป็นอันดับ 1 คิดเป็น 48.9% ตามมาด้วย อายุ 18-24 ปี, 35-44 ปี , 45-54 ปี และ 55-64 ปี ส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย 53.0% ขณะที่ผู้หญิงอยู่ที่ 47.0%
ในด้านพฤติกรรมการแชร์ข่าวปลอม พบว่าอายุของผู้แชร์ที่เข้าข่ายเป็นข่าวปลอม เกินครี่งหรือประมาณ 53.3% อยู่ใน18-24 ปี อันดับรองลงมา คือ อายุ 25-34 ปี คิดเป็น 41.7% ตามมาด้วย อายุ 45-54 ปี และอายุ 55-64 ปี ประชาชนส่วนใหญ่ที่แชร์ข่าวปลอมเป็นผู้ชาย 49.4% ส่วนผู้หญิงอยู่ที่ 50.6%
ปีนี้คนไทยค้นหาอะไรกันบ้าง จาก google
Tick Tock Day 29 ธันวาคมคือวันอะไร
Tick Tock Day เป็นวันสำคัญเพื่อจะเตือนว่างานอะไรที่ยังทำไม่เสร็จ ในขณะที่กำลังจะสิ้นปี อะไรที่วางแผนไว้แล้วยังไม่ได้ทำเช่นการวางแผนภาษี การโอนทรัพย์สินให้ลูกหลาน ซึ่งต้องใช้ในการวางแผนภาษี การตรวจสอบตัวเองว่าได้ทำตามที่วางแผนที่จะอ่านหนังสือให้จบ
ที่สำคัญในวันนี้อีกอย่างคือการวางแผนเป้าหมายในปีถัดไปว่าจะทำอะไร
ประวัติของ Tick Tock Day
วันนี้ถูกกำหนดโดย Ruth และ Thomas Roy เจ้าของเว็บไซต์ wellcat.com และเป็นนักแสดง ผลงานที่เคยแสดง เช่น เรื่อง 12 Monkeys และเป็นนักจัดรายการวิทยุ พวกเขา กำหนดวันพิเศษไว้ 80 วัน
และบังเอิญว่าวันที่ 29 เป็นวันที่เขากำหนดว่าเป็นวัน Tick Tock และมันตรงกับชื่อ ของ แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียวีดีโอ TiK Tok ที่มีประเด็นกันมาทั้งปี
วิธีฉลองวัน TickTock
เขาบอกว่าวันนี้ควรหยุดเศร้าหยุดกังวน หยุดผิดหวังกับเรื่องที่ผ่านมาทั้งปี อย่าไปเศร้ากับเรื่องที่ผ่านมาแล้วยังทำไม่เสร็จ ให้เดินหน้าวางแผนทำในปีถัดไป
หลายคนบอกว่าในเมื่อชื่อก็คล้ายกับ Tik Tok แพลตฟอร์มวีดีโอบนมือถือ เราก็ควรจะหยิบมือถือขึ้นมาแล้วแล้วโพสต์วีดีโอแล้วบอกไปว่าปีหน้าตั้งใจจะทำอะไร
อ้างอิง