วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2563

เมื่อ กขค. ประกาศเกณฑ์มากำกับแพลตฟอร์ม ฟู้ดเดลิเวอรี่ ร้านอาหาร

สถานการณ์โควิดที่ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคหันมาสั่งอาหารกลับไปทานที่บ้านมากขึ้น ร้านค้าต่างๆก็หันมาใช้บริการ ฟู้ดเดลิเวอรี่ ในการส่งอาหาร ทำให้ สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค) ต้องออกแนวทางเพื่อป้องกัน ร้านค้ารายย่อยถูกเอาเปรียบ และ (กขค) ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 23 พฤษจิกายน และจะมีผลบังคับใช้อีก30วัน

ตัวอย่างร้านค้าที่อาจจะถูกเอาเปรียบ
การเรียกเก็บค่าใช้จ่าย ค่าตอบแทน หรือผลประโยชน์อื่น ๆ ที่ไม่เป็นธรรม   ร้านค้ารายย่อยอาจถูกเอาเปรียบจากการขึ้นราคาค่าทำเนียมโดยไม่มีเหตุจำเป็น
ร้านค้าอาจะถูกเอาเปรียบในการผูกขาดทำสัญญากับรายใดรายหนึงเท่านั้นห้ามทำสัญญากับรายอื่น
การเรียกเก็บค่าส่งเสริมการขายในโอกาสพิเศษทางการตลาด (Promotion)ที่เป็นการเรียกเก็บโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร

สำหรับรายะเอียดเพิ่มเติม อ่านได้ที่เว็บไซต์ราชกิจานุเบกษา  http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/274/T_0014.PDF

ลองมาวิเคราะห์จากการที่ กขค ออกประกาศแนวทางพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมระหว่างผู้ประกอบธุรกิจให้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์มรับและส่งอาหารกับผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหาร ถือว่าเป็นเรื่องดีที่ภาครัฐรีบทำเรื่องนี้ก่อน เพราะปัจจุบันการแข่งขั้นเพื่อดึงลูกค้าไว้นั้นมีสูงมาก และ ผู้ให้บริการบางราย มีทุนจากต่างประเทศกัน ทั้งนั้น การแข่งขั้นส่งฟรีทำให้ผู้บริโภคได้เปรียบ แต่ ร้านค้ารายย่อยอาจจะทีต้นทุนที่มากขึ้น

เมื่อมีคำถามว่าภาครัฐน่าจะเป็นผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่ ความเห็นส่วนตัว ภาครัฐไม่ควรลงมาทำเรื่องนี้เองเพราะการแข่งขั้นต้องใช้เงินลงทุนสูงหลักพันล้าน และอีกทั้งถ้าหากรัฐจะทำเอง ก็จะมาในรูปแบบรัฐวิสาหกิจ ดังนั้นจะมีเรื่องของการต้องออก พรบ สำหรับหน่วยงานนี้ และ จะต้องมีเรื่องของสวัสดิการ ต่างๆ ขึ้นมา และหลายครั้งที่รัฐเข้ามาทำอะไรแข่งกับเอกชน พบว่าเอกชนที่มักจะเกิดปัญหาตามมา เช่นผูกขาดรัฐกับรัฐซื้อขายกันเองซึ่งมีให้เห็นกันอยู่  รัฐควรมีหน้าที่กำกับดูแล อย่างที่ทำตอนนี้อยู่ก็ดีแล้ว ให้เอกชนเขาแข่งขั้นกัน และส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในบริษัทเกิดใหม่  บริษัทไปรษณีย์ไทย ก็มีแนวคิดที่จะทำมาก่อนหน้านี้แล้ว เพื่อส่งอาหารชื่อดังจากท้องถิ่นมาในกรุงเทพ หรือ ส่งผลไม้ตามฤดูกาล ซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนของกิจการของรัฐ และตอนนี้ ก็มี ธนาคารเข้ามาลงทุนกับ ฟู้ดเดลิเวอรี่ อีกด้วยเช่น แอป Robinhood ที่ลงทุนโดย SCB x10

ช่วงนี้การแข่งขั้นสูงสาเหตุเกิดจากโครงการคนละครึ่งของรัฐบาลที่ออกค่าใช้จ่ายให้ 150 บาทต่อวันพบว่าคนส่วนใหญ่ใช้จ่ายในเรื่องของการซื้ออาหาร และ สินค้าในร้านธงฟ้า จึงเป็นเหตุให้ นอกจากธุรกิจร้านอาการจะคึกคักแล้ว กิจการส่งอาหารก็คึกคักไปด้วย 

ปัจจุบันผู้ให้บริการ ฟู้ดเดลิ้เวอร์รี่ มีรายใหญ่ ๆ ดังนี้ 
บทความจากแบนด์อินไซต์ https://brandinside.asia/food-delivery-competition-in-thailand/

Line Man Wongnai 

ก่อนหน้านี้ไม่นาน LINE MAN เพิ่งจะประกาศควบรวมกิจการกับ Wongnai กลายเป็น LINE MAN Wongnai โดยได้รับเงินลงทุนประมาณ 3,300 ล้านบาท ให้บริการในพื้นที่ 13 จังหวัด และกำลังขยายไปต่างจังหวัดในอนาคต สำหรับ Line man แถวหัวหิน มีร้ารร่วมรายการน้อย

จุดเด่นของ LINE MAN Wongnai

มีร้านอาหารให้เลือกกว่า 100,000 ร้าน โดยได้ข้อมูลร้านอาหารจากแอปพลิเคชัน Wongnai ที่มีจุดเด่นเรื่องการรวบรวมรีวิวร้านอาหารจากผู้ใช้งานในไทย รวมถึงสามารถกดสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชัน Wongnai ได้เลย ค่าส่งถูก 3 กิโลเมตรแรกส่งฟรี (สำหรับร้านที่ร่วมเป็น Partner)

สั่งอาหารจากร้านที่อยู่ไกลๆ เกิน 10 กิโลเมตรได้ ไม่จำกัดระยะทาง

เชื่อมต่อกับ Rabbit LINE Pay ที่คนกรุงเทพฯ นิยมใช้งานกันอยู่แล้ว จ่ายเงินสะดวก

GRAB Food

Grab เป็นหนึ่งในบริษัทสตาร์ทอัพที่มีขนาดใหญ่ที่สุดบริษัทหนึ่งในสิงคโปร์ เรียกได้ว่าเป็น ยูนิคอร์น ด้วยมูลค่ากว่า 1.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 4.4 แสนล้านบาท โดยเริ่มให้บริการในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2013 ปัจจุบันกล่าวได้ว่า Grab เป็นผู้นำในตลาด Food Delivery ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ซึ่งนอกจากบริการ Food Delivery ทาง Grab ก็ยังมีบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการขนส่งให้บริการอยู่ด้วย เดิมในประเทศไทย Grab มีคู่แข่งสำคัญคือ Uber ก่อนที่ Grab จะควบรวม Uber (ซึ่งมีบริการ Ubereat) ทำให้ลดทอนการแข่งขันในตลาดลงไปอยู่ระยะเวลาหนึ่ง ผมได้มาลองเปิด GRAB Food ที่หัวหิน ใช้งานได้

จุดเด่น Food Delivery ของ GrabFood

มี Partner ที่เป็นผู้ขับ 100,000 คน ทั่วประเทศ มีช่องทางการชำระเงินที่หลากหลาย ทุกร้านอาหารบน GrabFood ชำระเงินผ่าน บัตรเครดิต เดบิต และ GrabPay ได้ มีส่วนโปรโมชันเป็น Code ส่วนลด ร่วมกับบัตรเครดิต ธนาคาร หรือเครือข่ายโทรศัพท์ต่างๆ ค่าบริการจัดส่ง 10 บาท ในระยะทาง 5 กิโลเมตรแรก

Gojek

Gojek เป็นยูนิคอร์นจากประเทศอินโดนีเซีย เป็นซูเปอร์แอป ที่มีแทบทุกบริการอยู่ในนั้น ช่วงแรกที่เข้ามาไทยใช้แบรนด์ Get ตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2562 ก่อนจะรีแบรนด์ใหม่กลับมาเป็น Gojek ส่วนหนึ่งน่าจะทำให้การทำตลาดภายใต้แบรนด์ Gojek กับกลุ่มประเทศใกล้เคียง คือ อินโดนีเซีย, สิงคโปร์ และ เวียดนาม มีพลังและความชัดเจนมากขึ้น ไม่ต้องแยกแบรนด์ให้วุ่นวาย

จุดเด่น Food Delivery ของ Gojek

Get เดิม ที่มีผู้ใช้งานสั่งอาหารกว่าหนึ่งล้านครั้ง ในระยะเวลาหลังเริ่มให้บริการเพียงปีกว่าๆ
ค่าบริการจัดส่ง 10 บาท ในระยะทาง 5 กิโลเมตรแรก
เป็นบริการ Food Delivery ที่เพิ่งเปิดตัวใหม่ ดังนั้นจึงมีโปรโมชันมาก
พัฒนาแอปพลิเคชันในคอนเซป Super Application แอปฯ เดียว ทำได้ทุกอย่าง (ผมลองทดสอบใช้แอปที่ หัวหินยังใช้แถวนี้ไม่ได้)

Foodpanda 

เป็นบริษัทในเครือของ Delivery Hero มีจุดเริ่มต้นจากประเทศเยอรมนี ให้บริการใน 50 ประเทศทั่วโลก ส่วนในประเทศไทย Foodpanda เริ่มให้บริการตั้งแต่ปี 2016 เป็นต้นมา ปัจจุบันในเขตกรุงเทพ จะเห็น Foodpanda อยู่บ้างทั่วไป แต่ถ้าไปตามหัวเมืองในต่างจังหวัด เช่น เชียงใหม่ Foodpanda คือผู้ให้บริการหลัก แสดงว่ากลยุทธ์ธุรกิจของ Foodpanda คือ ป่าล้อมเมือง เน้นตลาดต่างจังหวัดมากกว่า

จุดเด่น Food Delivery ของ Foodpanda

มีพื้นที่การให้บริการครอบคลุมพื้นที่ต่างจังหวัดมากที่สุด กว่า 62 จังหวัด ในทุกๆ ภูมิภาค จัดโปรโมชันส่งฟรี หรือค่าส่ง 40 บาท ราคาเดียว  มาลองใช้แอปที่ หัวหินเจอร้านอาหารเยอะเลย

Robinhood

Robinhood น้องใหม่แห่งวงการ Food Delivery ดำเนินการภายใต้บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด (Purple Ventures) บริษัทน้องใหม่ในเครือเอสซีบี เท็นเอกซ์ (SCB 10X) โดยมีเงินลงทุนกว่า 100 ล้านบาท

ความน่าสนใจของ Robinhood คือ การประกาศว่าไม่มีค่าธรรมเนียม GP ที่จะเก็บกับร้านอาหาร แปลว่าให้ใช้บริการฟรี และมีการเคลียร์เงินเข้าบัญชีภายใน 1 ชั่วโมง เพื่อให้ร้านอาหารมีเงินหมุนเวียนในธุรกิจ ส่วนการส่งอาหารใช้ความร่วมมือกับ Skootar บริการคนขับรถของคนไทย ส่วนรายได้ของ Robinhood คาดว่าจะมาจากบริการทางการเงินที่ร่วมกับ SCB ในอนาคต ต่างจังหวัดยังไม่สามารถใช้บริการได้

จุดเด่น Food Delivery ของ Robinhood

เป็น Food Delivery ทางเลือก ของคนไทย 100%
ใช้กลุยุทธ์ที่ไม่มีการแข่งขันด้านราคา
ต้องการเป็นทางเลือกให้ร้านอาหาร โดยไม่เก็บค่าธรรมเนียม GP
เคลียร์เงินเข้าบัญชีของร้านอาหารภายในเวลาเพียง 1 ชั่วโมง

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเปิดเผยว่า 

สำหรับทิศทางของตลาดธุรกิจจัดส่งอาหารไปยังที่พักในช่วงที่เหลือของปี 2563 นี้ ภายหลังการระบาดของโควิด-19 ได้คลี่คลาย และธุรกิจร้านอาหารกลับมาเปิดให้บริการ ส่งผลทำให้ปริมาณความหนาแน่นของการสั่งอาหารไปยังที่พักจะไม่ได้สูงเมื่อเทียบกับช่วงการระบาดของโควิด-19 แต่ยังสูงกว่าก่อนที่จะเกิดการระบาดของโควิด-19 (แต่หากสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศกลับมามีการระบาดอีกครั้ง ก็มีโอกาสที่ธุรกรรมจะปรับสูงขึ้น) และทำให้ทั้งปี 2563 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า จำนวนครั้งของการจัดส่งอาหารจะอยู่ที่ 66- 68 ล้านครั้งหรือขยายตัวสูงถึงร้อยละ 78.0-84.0 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตอย่างก้าวกระโดด

 ขณะที่ความนิยมในการใช้บริการสั่งอาหารไปยังที่พัก (Food Delivery) ผ่านแอพพลิเคชั่นออนไลน์ ดึงดูดให้มีผู้เล่นรายใหม่ที่นำเสนอรูปแบบการทำธุรกิจที่ต่างจากเดิมให้เข้ามาแข่งขัน ซึ่งจะยิ่งยกระดับการแข่งขันในตลาดผู้ให้บริการแพลตฟอร์มจัดส่งอาหารที่เดิมถูกขับเคลื่อนโดยผู้เล่น 4 รายหลักให้รุนแรงขึ้น ขณะที่ผู้บริโภคยังมีแนวโน้มให้ความสำคัญกับส่วนลดที่ได้รับและความหลากหลายของร้านอาหารบนแพลตฟอร์ม ดังนั้น การเข้ามาแบ่งฐานตลาดของผู้บริโภคและสร้างฐานพันธมิตรทางธุรกิจของผู้ให้บริการรายใหม่คงจะไม่ใช่เรื่องง่าย ส่งผลให้ส่วนแบ่งทางการตลาดระหว่างผู้เล่นเดิมและผู้เล่นใหม่ในช่วงที่เหลือของปี 2563 ต่อเนื่องจนถึงต้นปี 2564 อาจไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มรายเดิมคงเร่งรุกไปสู่การเป็น Super Application

ไม่มีความคิดเห็น: