วันพุธที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

โครงการ Internet ดาวเทียม Starlink โดย elon musk ปล่อยสุ่วงโคจรแล้ว


โครงการปล่อยดาวเทียม ในโครงการ Internet ดาวเทียมชื่อ Starlink โดย elon musk เริ่มขึ้นแล้ว



กลุ่มดาวเทียม 60 ดวงแรกถูกปล่อยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่าน จากดาวเทียม 12,000 ดวงที่ถูกส่งไปยังวงโคจรประสบความสำเร็จในวันพฤหัสบดีโดย บริษัทของ Musk ซึ่งวางแผนที่จะใช้พวกมันเพื่อส่งสัญญาณการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตจากอวกาศสู่โลก SpaceX เผยแผนการในการจะปล่อยดาวเทียม ดวงขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศด้วย Falcon 9 เพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสุด 1 Gbps ให้บริการอินเทอร์เน็ตในปี 2019 โดยมีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2024

SpaceX กล่าวว่าระบบให้บริการอินเทอร์เน็ตดังกล่าวจะมีความเร็วสูงสุดได้ถึง 1 Gbps และมี latency อยู่ในช่วงระหว่าง 25-35ms จากในปัจจุบันที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมมี latency อยู่ที่ 600ms หรือมากกว่า อีกทั้งเป็นความเร็วที่สูงกว่าอินเทอร์เน็ตตามสายส่วนใหญ่ในปัจจุบัน

หลังจากที่มีการปล่อยก็มีการพบเห็นขบวนของดาวเทียมที่กำลังเคลื่อนที่ข้ามท้องฟ้าเช่นที่โพสต์ออนไลน์โดยนักดาราศาสตร์สมัครเล่นมาร์โกลังโบร๊กก์ในขั้นต้นทำให้เกิดความตื่นเต้นและความประหลาดใจ

ปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นสิ่งที่แปลกประหลาดจนเว็บไซต์ยูเอฟโอดัตช์ เอาไปโพสล้อเรียนว่ากำลังจะเผชิญหน้าจากต่างดาว

แต่สำหรับนักดาราศาสตร์ความตื่นเต้นเริ่มต้นอย่างรวดเร็วแต่ทำให้เกิดความหวาดกลัวเมื่อพวกเขาเริ่มคำนวณผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับ ผู้คนเกี่ยวกับจักรวาล หรือนักดาราศาสตร์

ผมกระทบจากความเห็นของผม
เมื่อการปล่อยดาวเทียมครบ 12000 ดวงหรือ อินเตอร์เน็ตดาวเทียมให้บริการสิ่งที่น่าสนใจหาก ปล่อยให้ใช้บริการฟรีผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตในแต่ละประเทศ อาจจะถูกรบกวนจากโครงการนี้


แหล่งที่มา https://www.theguardian.com/technology/2019/may/28/spacex-satellites-could-blight-the-night-sky-warn-astronomers
แหล่งที่มา https://www.techtalkthai.com/spacex-2019-satellite-internet/

วันพุธที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

โอเพนซอร์สกับการรับมือสงครามการค้ากรณี Huawei เมื่อรัฐบาลสั่งให้ google เลิกคบ หลัง 90 วันต่อจากนี้ไป


Android เป็น โอเพนซอร์สที่ทาง Google นำมาปรับปรุงให้สามารถแข่งขันกับ Apple ได้จนมีบริษัท Hardware ต่าง ๆ เข้าร่วมโครงการกับ Google จึงทำให้เราเห็นว่า Android นั้นมี Hardware ที่หลากหลายรวมถึง หัวเว่ยเองก็เข้าร่วมโครงการนี้ด้วย โอเพนซอร์สนั้นสำคัญอย่างไร เราได้เห็นแล้ว จีน สามารถพึงพาตัวเองทางเทคโนโลยีได้

เป็นข่าวตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม กระแสวิภาควิจารณ์เรื่องของการที่ Google หยุดทำธุรกรรมกับหัวเว่ย รวมถึงธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องของ หัวเว่ย เพราะหัวเว่ยเองไม่ได้มีแค่ โทรศัพท์มือถือ แต่ยังรวมถึงอุปกรณ์เครือข่าย อื่นๆ ตั้งแต่ระดับผู้ใช้งานตามบ้าน ไปจนถึงอุปกรณ์เครือข่าย เช่น Routher , Switch, Hub ไปจนถึง เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่

วันนี้จะพูดถึง Android ที่กระทบกับผู้ใช้งานทั่วๆไป แต่ก็เชื่อว่าไม่มีผลกระทบมากอย่างที่หลายๆคนคิด เพราะเนื่องจาก ระบบปฏิบัติการ Android เป็นลิขสิทธิ์แบบโอเพนซอร์ส ซึ่ง หมายถึงสิ่งที่ต้องทำเมื่อใช้ลิขสิทธิ์แบบนี้คือ ต้องเปิดเผยซอร์สโค๊ดของซอฟต์แวร์ ในที่นี้หมายถึงระบบปฏิบัติการ ดังนั้น ปัญหาเรื่องการอัพเดทระบบปฏิบัติการจะไม่ได้มีผลกระทบกับผู้ใช้งาน เท่าไหร่เพราะทาง หัวเว่ยเองก็จะเป็นผู้ที่จะต้องทำการปรับปรุงแก้ไขให้เข้ากับ hardware ของหัวเว่ย

ในระดับผู้ใช้งาน play store ถ้าหากในอนาคตเครื่องรุ่นใหม่ ๆ ไม่มี play store มาด้วยจะเป็นปัญหาหรือไม่ ปกติแล้วในส่วนนี้ หัวเว่ย สามารถสร้าง play store ขึ้นมาให้โทรศัพท์ของเขาสามารถเข้าถึง แหล่งซอฟต์แวร์ของตัวเองได้ และ ก็เชื่อว่าหากสภาพแวดล้อมของการเผยแพร่ application ไม่ต่างกันมากกับ android  ก็จะมีนักพัฒนา นำงานของตัวเองมาขึ้นบริการกับหัวเว่ย

เนื่องจาก Android เป็น Open Source ที่เปิดซอร์สโค๊ด อยู่แล้วหัวเว่ยสามารถที่จะปรับปรุงซอฟต์แวร์ได้เองรวมถึงสามารถสร้างร้านขาย Application ของตัวเองได้ในอนาคตแต่การตัดขาดครั้งนี้ทำให้ผู้ใช้งานจะไม่สามารถอัพเดท youtube ได้ และ app อื่น ๆ ของ google

แต่หัวเว่ย ไม่ได้สนใจกลับยอมรับข้อตกลงและบอกว่าตนเองนั้นมีระบบปฏิบัติการที่ทำไว้แล้ว ชื่อ Hong Meng ตามที่เราได้ติดตามข่าวสารกันอย่างต่อเนื่อง

การทำระบบปฏบิบัติการใหม่ไม่ใช่เรื่องยากเนื่องจาก ระบบปฏิบัติการ Linux ที่โอเพนซอร์สจนทำให้เกิด ระบบปฏิบติการ Android ก็มีที่มาจาก Linux มาทำระบบปฏิบัติการสำหรับโมบาย ปัจจุบันก็มี ค่าย canonical ที่ทำระบบปฏิบัติการ ubuntu linux ก็ได้ทำ ubunto phone ออกมาแต่ไม่ประสบความสำเร็จ ปัจจุบันก็ยังคงทำอยู่  บริษัท โนเกีย ก็มี ระบบปฏิบัติการชื่อ Meego ที่อยู่ใน Nokia N9 และออกมาในรูปแบบ โอเพนซอร์ส ด้วยเช่นกัน

การที่จะมีระบบปฏิบัติการใหม่ออกมาแข่งกับ google และ Apple มันเป็นเรื่องที่ท้าทายมากเพราะองค์ประกอบของมันอยู่ที่ แอปพลิเคชั่น ที่นักพัฒนาจะนำมาชนกับ ฝั่ง android ถ้านักพัฒนาเอาด้วยผู้ใช้งานก็จะมีทางเลือก ถาวว่าทำไมนักพัฒนาถึงไม่มาทำแอปให้ฝั่งค่าย อื่น ๆ บ้าง ลำพังทำแอปให้ android กับ Apple ก็ใช้เวลามากพอแล้ว การที่พวกเขาจะต้องมาทดสอบแอปให้เข้ากับระบบปฏิบัติการใหม่นั้นเป็นเรื่องที่ต้องใช้บุคลากรเพิมขึ้นนั่นเอง

แต่ถ้าระบบปฏิบัติการนั้นมีค่ายอื่นมาร่วมด้วยกันมากๆแบบ Android ก็จะมีความเป็นไปได้ที่จะต่อกรกับ Google ได้

เทคโนโลยีระบบเปิดหรือที่เรียกว่าโอเพนซอร์สเราจะเห็นชัดเจนในศึกครั้งนี้ว่า การมีเทคโนโลยีเป็นของตัวเองนั้นไม่ต้องเริมจากศูนย์ ใช้วิธีการพัฒนาต่อยอด บรรลุข้อตกลงร่วมกันว่าจะต้องเปิดเผยรหัสหรือซอร์สโค๊ดของซอฟต์แวร์ ก็จะทำให้เกิดนวรรตกรรมใหม่ๆ ได้ไม่ยาก บนพื้นฐานของการไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ ที่เราเรียกว่าการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเท่าเทียม โปร่งใส เพราะตรวจสอบซอร์สโค๊ดได้

ความเป็นโอเพนซอร์สของซอฟต์แวร์หลาย ๆ ตัวที่ขับเคลื่อน กันอยู่ในปัจจุบัน รัฐบาลจีนเองเคยให้ข่าวว่าให้กระทรวงกลาโหมของเขานั้นใช้ระบบปฏิบัติการ Linux ที่พัฒนาเองชื่อว่า Red Flag Linux
https://en.wikipedia.org/wiki/Red_Flag_Linux

หลังจากเกิดเหตุการหัวเว่ยได้ไม่นาน เกาหลีใต้ ก็มีประกาศออกมาว่าให้ใช้ Linux เป็นระบบปฏิบัติการแห่งชาติเพราะนอกจากจะ ปลอดภัยในเรื่องการถูกระงับทางการค้าแลัว Linux จะยังช่วยลดค่าใช้จ่ายให้ 780 พันล้านวอน

ในยุคที่ Linux สามารถใช้งานกับเครื่อง Desktop ได้ดีรัฐบาลไทยเองก็ต้องวางแผนเรื่องนี้เอาไว้ด้วยหากเกิดเหตุต้องเลือกข้างขึ้นมา หรือ เราต้องเริ่มพัฒนาเทคโนโลยีของตัวเอง พึงพาตัวเองให้ได้ ทางเทคโนโลยี แต่เท่าที่ผ่านมารัฐบาลไทยทุกสมัยยังไม่ให้ความสำคัญเรื่องนี้

วันพุธที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

Microsoft Love Linux

นับตั้งแต่ ไลนัส ทอวัล สร้างระบบปฏิบัติการ Linux ขึ้นมาเพื่อเรียนแบบการทำงานของ ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ UNIX ที่ทำงานกับ CPU INTEL นับเป็นเวลากว่า 25 ปี ที่ Linux หรือ ไวนัส (
Linus Torvalds)  เป็นระบบปฏิบัติการที่ แข็งแรงในเรื่องการใช้งาน พร้อมๆกันหลายๆคน และทำงานได้พร้อมกันหลายๆงานในเวลาเดียวกัน จนแตกหน่อ ออกไปมากมาย หรือเรียกว่า ดิสโทร (Distro) เช่น Redhat ,suse ,ubuntu

เหตุที่วันนี้พูดเรื่องนี้ก็เพราะว่า เมื่อไม่กี่วันที่ผ่าน ไมโครซอฟต์จะนำเอาแกนกลางของระบบปฏิบัติการ linux มาใข้ร่วมกับ ระบบปฏิบัติการ windows 10.โดยเรีนกว่า Subsystem2 WSL2 นั้นแสดงว่ามี WSL1 มาก่อนแล้ว.สำหรับ WSL2 จะเร็วกว่าเดิมหลายเท่า ให้อารมณ์เหมือนได้ใข้งาน Linux

ระบบปฏิบัติการ windows เป็นระบบปฏิบัติการที่เกิดมากับ CPU intel เป็นที่นิยมใช้งานทั่วไป ในอดีตที่ผ่าน สองโอเอสนี้ ก็มีแฟนคลับที่เหนียวแน่นเรียกว่ากินกันไม่ลง พอมามีความร่วมมือกันทาง้ทคนิคของ canonical กับ microsoft ทำให้ windows เองนั่นใช้งานแอปพลิเคชั่น ของ linux ได้มากขึ้น
สิ่งที่ windows ได้ประโยชน์ในครั้งนี้ก็คือ จะสามารถ ใช้งาน docker , kuburnetes และอ่านไฟล์ในระบบของ linux สำหรับสิ่งหนึ่งทำให้ ไมโครซอฟต์หันมา รัก linux ก็คือเรื่องของ Azure cloud ของไมโครซอฟต์นั่นเอง เพราะนักพัฒนา สร้างงาน บน Docker แล้ว deploy ขึน คราว์น ดังนัน หากนักพัฒนาไม่สามารถ ทำงานกับ.Docker ได้สะดวก เขาก็จะหันไปใช้ Linux แบบเต็มตัว เพราะก่อนหน้านี้ พวกเขาทำงาน Linux ผ่าน virtual machine (VM) เพราะ WSL1 ช้าและไม่คล่องตัว 

สำหรับผู้ใช้งานทั้วๆไปจะไม่ได้รับประโยชน์อะไรมาก แต่ในส่วนของ นักพัฒนาซอฟต์แวร์จะได้รับประโยชน์เต็มๆ โดยที่ไม่ต้องเปลี่ยนระบบปฏิบัติการไปใช้ Linux 

ส่วนผู้ใช้งาน Linux เองก็หวังว่าสักวันหนึ่งซอฟต์แวร์ที่ วิ่งอยู่บนระบบปฏิบัติการ windows จะสามารถติดตั้งบน ระบบปฏิบัตการ Linux


ดังนั้น ไม่ต้องแปลกใจว่า Developer ส่วนมาก ทำไมถึงใช้ OSX กันก็เพราะ มีโครงสร้างเป็น UNIX อยู่แด่เดิมและก็พัฒนามาจากซอฟต์แวร์ระบบเปิด