Android เป็น โอเพนซอร์สที่ทาง Google นำมาปรับปรุงให้สามารถแข่งขันกับ Apple ได้จนมีบริษัท Hardware ต่าง ๆ เข้าร่วมโครงการกับ Google จึงทำให้เราเห็นว่า Android นั้นมี Hardware ที่หลากหลายรวมถึง หัวเว่ยเองก็เข้าร่วมโครงการนี้ด้วย โอเพนซอร์สนั้นสำคัญอย่างไร เราได้เห็นแล้ว จีน สามารถพึงพาตัวเองทางเทคโนโลยีได้
เป็นข่าวตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม กระแสวิภาควิจารณ์เรื่องของการที่ Google หยุดทำธุรกรรมกับหัวเว่ย รวมถึงธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องของ หัวเว่ย เพราะหัวเว่ยเองไม่ได้มีแค่ โทรศัพท์มือถือ แต่ยังรวมถึงอุปกรณ์เครือข่าย อื่นๆ ตั้งแต่ระดับผู้ใช้งานตามบ้าน ไปจนถึงอุปกรณ์เครือข่าย เช่น Routher , Switch, Hub ไปจนถึง เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่
วันนี้จะพูดถึง Android ที่กระทบกับผู้ใช้งานทั่วๆไป แต่ก็เชื่อว่าไม่มีผลกระทบมากอย่างที่หลายๆคนคิด เพราะเนื่องจาก ระบบปฏิบัติการ Android เป็นลิขสิทธิ์แบบโอเพนซอร์ส ซึ่ง หมายถึงสิ่งที่ต้องทำเมื่อใช้ลิขสิทธิ์แบบนี้คือ ต้องเปิดเผยซอร์สโค๊ดของซอฟต์แวร์ ในที่นี้หมายถึงระบบปฏิบัติการ ดังนั้น ปัญหาเรื่องการอัพเดทระบบปฏิบัติการจะไม่ได้มีผลกระทบกับผู้ใช้งาน เท่าไหร่เพราะทาง หัวเว่ยเองก็จะเป็นผู้ที่จะต้องทำการปรับปรุงแก้ไขให้เข้ากับ hardware ของหัวเว่ย
ในระดับผู้ใช้งาน play store ถ้าหากในอนาคตเครื่องรุ่นใหม่ ๆ ไม่มี play store มาด้วยจะเป็นปัญหาหรือไม่ ปกติแล้วในส่วนนี้ หัวเว่ย สามารถสร้าง play store ขึ้นมาให้โทรศัพท์ของเขาสามารถเข้าถึง แหล่งซอฟต์แวร์ของตัวเองได้ และ ก็เชื่อว่าหากสภาพแวดล้อมของการเผยแพร่ application ไม่ต่างกันมากกับ android ก็จะมีนักพัฒนา นำงานของตัวเองมาขึ้นบริการกับหัวเว่ย
เนื่องจาก Android เป็น Open Source ที่เปิดซอร์สโค๊ด อยู่แล้วหัวเว่ยสามารถที่จะปรับปรุงซอฟต์แวร์ได้เองรวมถึงสามารถสร้างร้านขาย Application ของตัวเองได้ในอนาคตแต่การตัดขาดครั้งนี้ทำให้ผู้ใช้งานจะไม่สามารถอัพเดท youtube ได้ และ app อื่น ๆ ของ google
แต่หัวเว่ย ไม่ได้สนใจกลับยอมรับข้อตกลงและบอกว่าตนเองนั้นมีระบบปฏิบัติการที่ทำไว้แล้ว ชื่อ Hong Meng ตามที่เราได้ติดตามข่าวสารกันอย่างต่อเนื่อง
การทำระบบปฏบิบัติการใหม่ไม่ใช่เรื่องยากเนื่องจาก ระบบปฏิบัติการ Linux ที่โอเพนซอร์สจนทำให้เกิด ระบบปฏิบติการ Android ก็มีที่มาจาก Linux มาทำระบบปฏิบัติการสำหรับโมบาย ปัจจุบันก็มี ค่าย canonical ที่ทำระบบปฏิบัติการ ubuntu linux ก็ได้ทำ ubunto phone ออกมาแต่ไม่ประสบความสำเร็จ ปัจจุบันก็ยังคงทำอยู่ บริษัท โนเกีย ก็มี ระบบปฏิบัติการชื่อ Meego ที่อยู่ใน Nokia N9 และออกมาในรูปแบบ โอเพนซอร์ส ด้วยเช่นกัน
การที่จะมีระบบปฏิบัติการใหม่ออกมาแข่งกับ google และ Apple มันเป็นเรื่องที่ท้าทายมากเพราะองค์ประกอบของมันอยู่ที่ แอปพลิเคชั่น ที่นักพัฒนาจะนำมาชนกับ ฝั่ง android ถ้านักพัฒนาเอาด้วยผู้ใช้งานก็จะมีทางเลือก ถาวว่าทำไมนักพัฒนาถึงไม่มาทำแอปให้ฝั่งค่าย อื่น ๆ บ้าง ลำพังทำแอปให้ android กับ Apple ก็ใช้เวลามากพอแล้ว การที่พวกเขาจะต้องมาทดสอบแอปให้เข้ากับระบบปฏิบัติการใหม่นั้นเป็นเรื่องที่ต้องใช้บุคลากรเพิมขึ้นนั่นเอง
แต่ถ้าระบบปฏิบัติการนั้นมีค่ายอื่นมาร่วมด้วยกันมากๆแบบ Android ก็จะมีความเป็นไปได้ที่จะต่อกรกับ Google ได้
เทคโนโลยีระบบเปิดหรือที่เรียกว่าโอเพนซอร์สเราจะเห็นชัดเจนในศึกครั้งนี้ว่า การมีเทคโนโลยีเป็นของตัวเองนั้นไม่ต้องเริมจากศูนย์ ใช้วิธีการพัฒนาต่อยอด บรรลุข้อตกลงร่วมกันว่าจะต้องเปิดเผยรหัสหรือซอร์สโค๊ดของซอฟต์แวร์ ก็จะทำให้เกิดนวรรตกรรมใหม่ๆ ได้ไม่ยาก บนพื้นฐานของการไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ ที่เราเรียกว่าการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเท่าเทียม โปร่งใส เพราะตรวจสอบซอร์สโค๊ดได้
ความเป็นโอเพนซอร์สของซอฟต์แวร์หลาย ๆ ตัวที่ขับเคลื่อน กันอยู่ในปัจจุบัน รัฐบาลจีนเองเคยให้ข่าวว่าให้กระทรวงกลาโหมของเขานั้นใช้ระบบปฏิบัติการ Linux ที่พัฒนาเองชื่อว่า Red Flag Linux
https://en.wikipedia.org/wiki/Red_Flag_Linux
หลังจากเกิดเหตุการหัวเว่ยได้ไม่นาน เกาหลีใต้ ก็มีประกาศออกมาว่าให้ใช้ Linux เป็นระบบปฏิบัติการแห่งชาติเพราะนอกจากจะ ปลอดภัยในเรื่องการถูกระงับทางการค้าแลัว Linux จะยังช่วยลดค่าใช้จ่ายให้ 780 พันล้านวอน
ในยุคที่ Linux สามารถใช้งานกับเครื่อง Desktop ได้ดีรัฐบาลไทยเองก็ต้องวางแผนเรื่องนี้เอาไว้ด้วยหากเกิดเหตุต้องเลือกข้างขึ้นมา หรือ เราต้องเริ่มพัฒนาเทคโนโลยีของตัวเอง พึงพาตัวเองให้ได้ ทางเทคโนโลยี แต่เท่าที่ผ่านมารัฐบาลไทยทุกสมัยยังไม่ให้ความสำคัญเรื่องนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น