วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2561

เวสต์เวอร์จิเนียทดลองใช้แอปโหวดลงคะแนน

เรื่องของการลงคะแนนเป็นที่พูดถึงกันเป็นอย่างมาก ในประเทศไทยตอนนี้หลายพรรคการเมืองก็พูดถึงเรื่องการที่อยากให้มีระบบลงคะแนนด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบสมาท์โฟน วันนี้มีข่าวว่า สหรัฐจะมีการลงคะแนนที่เรียกว่า midterm election ซึ่งการเลือกตั้งครั้งนี้ประกอบด้วยการเลือกตั้งผู้ว่าการรัฐ 36 คน สมาชิกวุฒิสภา 35 คน และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(สส) 435 คน

เพื่อแก้ปัญหาสำหรับคนที่ไม่สามารถกลับมาลงคะแนนเสียงได้เช่นกำลังปฎิบัติหน้าที่อยู่ในเรือดำน้ำ หรือ อยู่ในอัฟกานิสฐาน หรือ ในต่างประเทศ

ตอนนี้เวสเวอร์จิเนียจะนำระบบการลงคะแนนแบบ อิเล็กทรอนิกสมาใช้สำหรับ ถามว่ามีกฏหมายรองรับหรือไม่ก็ตอบได้ว่า มีเรียกชื่อ ย่อว่า UOCAVA ซึ่งพรบ ฉบับนี้ อนุญาตให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถลงคะแนนเสียงผ่านรูปแบบใดๆ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึง FAX และ e-mail

ซึ่งก็หมายความว่าเวสเวอร์จิเนียจะเป็นรัฐแรกที่เสนอการลงคะแนนออนไลน์ผ่านแอปสมาร์ทโฟน

ข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น

ถึงแม้ว่าการลงคะแนนด้วยวิธีออนไลน์อาจจะทำให้คนรุ่นใหม่ที่เพิ่งจะมีโอกาศลงคะแนนในปีนี้จะได้รับความสะดวกสะบายไปด้วยทำให้เชือว่าจะสามารถเพิ่มตัวเลขจำนวนผู้มาลงคะแนนได้ แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยก็เป็นกังวนในในเรื่องของความปลอดภัยที่จะส่งผลต่อคะแนนเสียง หรือ ข้อมูลส่วนตัวตกไปอยู่ในเมือของผู้ไม่หวังดี เช่น การใช้เทคนิค DNS spoofing เมื่อเราเข้าไปเว็บต่างๆ แล้ว DNS ก็เปลี่ยนชื่อที่คล้ายกันทำให้เส้นทางการเข้าเว็บเปลี่ยนไปเข้าเว็บปลอม เพื่อให้ได้รหัสผ่าน

ผู้อำนวยการของ CyberScout ก็เตือนว่าเขาไม่มันใจว่าผู้มีสิทธฺ์เลือกตั้งจะได้รับการคุ้มครอง จากการเลือกตั้งทางอิเล็กทรอนิกส์

ไอเดียนี้เกิดจากนายทหารเกษียนอายุราขการ ที่ปัจจุบันมาเป็น เลขานุการรัฐเวสเวอร์จิเนีย ตอนนี้เขารับราชการอยู่นั้นเขาไม่สามารถลงคะแนนได้ระหว่างปฏิบัตหน้าที่

หัวหน้าศูนย์เทคโนโลยีประชาธิปไตย กล่าวว่า การเลือกตั้งด้วยวิธีนี้จะเกิดขึ้นได้แต่ต้องระมัดระวังเรื่องของความปลอดภัยในCyber

ระบบมาจากไหน

ระบบเลือกตั้งนี้เกิดขึ้นจาก องค์กรไม่แสวงกำไรชื่อว่า Tusk Montgomery Phithropies ซึ่งมุ่งเน้นเรื่องการส่งเสริมการลงคะแนนเสียงและการต่อสู้กับความหิวโดย ได้ สนับสนุนทางการเงินให้กับ Voatz เนื่องจาก Voatz นั้นได้รับรางวัลชนะเลิศในการ Citrix Hackathon ของ SXSW ในปี 2014

โดยขั้นตอนของการลงคะแนน ผู้ที่ต้องการใช้ระบบลงคะแนนจะต้องสมัครใช้งานและจะได้รับคำแนะนำผ่านทาง จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ และให้ดาว์โหลดแอปและยืนยันตัวตนด้วย รหัสภาพถ่าย และถ่ายรูปบัตร ID ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง รวมทั้งส่งวีดีโอด้วยตนเองเพื่อให้แน่ใจว่าตรงกัน แอปจะทำการจดจำใบหน้าเพื่อจับคู่ภาพ

หากทุกอย่างตรงกันผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะสามารถเปิดบัตรลงคะแนน เมื่อลงคะแนนแล้วการส่งบัตรคะแนนจะใช้ Face ID ของ Apple หรือ ลายนิ้วมือขึ้นอยู่กับโทรศัพท์ของผู้ใช้สิทธิ  บัตรจะถูกส่งไปยังเครื่องที่เรียกว่า Digital lockbook กล่องนี้จะไม่ทำงานจนกว่าจะมีการเลือก โดยผู้สมัครทั้งสองพรรค จะต้องนำซีเคียวคีย์ มาเสียบที่ตู้พร้อมป้อนรหัสลับเพื่อการลงคะแนน การลงคะแนนนั้นจะมีการบันทึกภาพดิจิทัลเมื่อมีการลงคะแนน เพื่อป้องกันการโต้แย้งในภายหลังอีกด้วย

การทดสอบระบบนั้นได้เคยทำการทดสอบมาแล้ว และได้เคยเข้าไปตรวจสอบระบบคราว์น ของ Voatz มาแล้ว เพื่อให้เกิดความมั่นใจเรื่องการดูแลรักษาความปลอดภัย

วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2561

เราเกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอะไรบ้าง

พ.ร.บ นี้ กําลังจะมีการเสนอเข้าสู่สภา สนช เหตุผลก็เนื่องจากว่ามีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องคลอด พ.ร.บ นี้มี อยู่ 2 ประการก็คือผลกระทบจากกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของ EU หรือที่เราเรียกว่า GDPR อันที่สองก็คือว่าเนื่องจากว่าปัจจุบันเราใช้ดิจิตอลข้อมูลดิจิตอลกันเยอะมากในสื่อสังคมออนไลน์ทำให้มีการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลกันอย่างกว้างขวางและมีผลกระทบต่อเจ้าของข้อมูลอย่างมากจึงจำเป็นต้องมีกฎหมายมาควบคุมกำกับดูแลเพื่อคุ้มครองสิทธิของบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูล

ในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันนั้นมีการเก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้บริการเป็นอย่างมากเช่นการส่งสินค้า ในระบบอีคอมเมิร์ซก็ต้องมีการจัดเก็บที่อยู่ของผู้รับ หรือร้านค้าต่างๆข้อมูลสินเชื่อแม้แต่ว่าเราไปโรงพยาบาลเราก็ต้องให้ข้อมูลทางด้านสุขภาพทางด้านข้อมูลส่วนตัวซึ่งข้อมูลเหล่านี้เรามักจะพบว่าหลายครั้ง เราก็สงสัยว่าปัจจุบันทำไมมีผู้ที่โทรมาขายบัตรเครดิตขายประกันหรือเสนอสินค้าอื่นๆให้กับเราข้อมูลเหล่านี้เขาเท่านั้นได้มาอย่างไร เราก็มีความเชื่อกันว่าข้อมูลที่เราให้ไปกับการสมัครสมาชิกการเป็นสมาชิกคลับต่างๆหรือแม้แต่สมาชิกบัตรเครดิต หรือร้านค้าเชื่อกันว่ามีการนำเอาข้อมูลของลูกค้านั้นไปขายข้อมูลให้กับบริษัท ต่างๆเหล่านั้น พ.ร.บ. ที่จะออกมาก็เป็นเรื่องที่มีทั้งแง่ดีและก็ในแง่ที่จะทำความยุ่งยากให้กับผู้ประกอบการเนื่องจากว่าพรบฉบับนี้ มีความเกี่ยวโยงกับเรื่องของกฎหมายความมั่นคงทางไซเบอร์ ถ้าหากว่าข้อมูลนั้นมีการรั่วไหลหรือไม่มีการจัดเก็บที่ดีตามกฎข้อบังคับท่านอาจจะถูกปรับ และเมื่อเกิดความเสียหายซึ่งปัจจุบันมันก็สามารถที่จะข้อมูลรั่วไหลกันได้ทราบว่ามีการรักษาความปลอดภัยที่ไม่ดี
เขาแยก จ้อมูลส่วนบุลคล เป็นสองประเภท
LAWFUL BASIC
เช่นข้อมูล เพื่อการทำธุรกรรม ถ้าไม่มีจะทำธุรกรรมไม่ได้
CONCENT
ข้อมูลที่ต้องได้รับจากเจ้าของข้อมูล เช่น ความเชื่อ ศาสนา  ข้อมูลที่ เป็นความลับเช่นความลับทางสุขภาพ

USELIMITATION
ข้อมูลที่ใช้ได้แค่จำกัดใช้แค่บางอย่างเท่านั้นที่จำเป็น

มาดูกันคราวๆ ว่า ผบกระทบจะเป็นเรื่องอะไรบ้าง

- การถ่ายคลิปโดยไม่มีความยินยอม จะมีความผิด

- การจะเก็บข้อมูลต้องเป็นไปตามความเหมาะสม ไม่ได้ขอทึก

- ควรแจ้งต้องแจ้งเป็นลายลักษอักษร

- เว็บไซต์ต้องมีการแจ้งเตือนถ้าหากกำลังจะมีการเก็บข้อมูลและมีหลักฐาน ถ้าไม่ทำจะโดนโทษปรับทางปกครอง Privacy notis ต้องถูกต้องตาม รูปแบบ เก็บเพื่ออะไร แล้วจะเปืดเผยอะไรบ้าง ต้องชัดเจน อาจถูกปรับ 1,000,000 บาท

- ข้อมูลที่เหมาะสม ที่สามารถจัดเก็บได้

- ห้ามเก็บข้อมูลจากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่เจ้าของข้อมูลโดยตรง เข่น การโทรมาขายประกัน ขายบัตรเครดิต

- กรณีที่เป็นธุรกิจ แล้วมีสาขาอยู่ต่างประเทศ แล้วประเทศนั้นไม่มีกฎหมาย คุ้มครอง ความเป็นส่วนตัว จะมีความผิด

- สิ่งที่น่ากลัวคือผู้ประกอบการ ถ้ากรรมการหรือผู้จัดการสั่งการหรือละเว้นไม่สั่งการให้มีความรับผิดด้วย มีโทษจำคุก และปรับ

สิทธิของเจ้าของข้อมูล

-บุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลมีสิทธิ์เข้ามาขอตรวจสอบข้อมูลขอดูความถูกต้องขอดูการประมวลผลข้อมูล

- สิทธิ์เพื่อจะขอดูข้อมูลเพื่อย้ายโอเปอเรเตอร์

- มีสิทธิ์ในการคัดค้าน การประมวลผล

- สิทธิที่จะมีการขอจำกัดข้อมูลในการประมวลผล จากผู้ประมวลผลข้อมูล

- ต่อไปผู้ประกอบการจะต้องบันทึกข้อมูล ทุกกิจกรรม ขิงข้อมูลส่วนบุคคล ใครเข้ามาดู ข้อมูลบ้าง

กฎหมายฉบับนี้มุ่งเน้นไปที่ผู้ประกอบการเป็นหลัก ผู้เชียวชาญบอกว่า กฎหมายของเราแตกต่างจาก GDPR  ในเรื่องของการประมวลผลข้อมูลด้วย AI แต่บ้านเรายังไม่ได้พูดถึงในเรื่องนี้

ขอบคุณ ข้อมูลจากการถ่ายทอดสด สัมมนา ร่างพรบ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดย นายแพทย์ สุธี ทุวิรัตน์

วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ปี 2018 เทรนที่มาแรงคือ BI หรือ Business intelligen

เจอกันทุกวันพุธครับ ใกล้สิ้นปีเข้ามาทุกขณะครับก็จะมีเทรนสรุปของปีนี้ออกมากันว่าอะไรที่มาแรงแซงทางโค้งกัน และเทรนของปีนี้เป็นกระแสไปทั่วโลกรวมถึงวงการไอทีบ้านเราด้วยเช่นกันคือ BI หรือ Business intelligence บทความที่  Tableau เผยแพร่ออกมา มีประโยชน์มากว่า ว่าเจ้า BI นี่ละปีนี้มาแรง จะว่าไปแล้วมันเป็นเรื่องของการวิเคราะห์ข้อมูลไม่ว่าจะเป็นข้อมูลลูกค้า พฤติกรรมผู้บริโภค สิ่งต่างๆเหล่านี้คือข้อมูลเพื่อการนำไปวางแผนกลยุทธ์ขององค์กรนั่นเองครับ ว่าเราจะนำข้อมูลต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร เพื่อขับเคลื่อนสินค้าให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า


Machine Learning เอามาใช้ในเชิงธุรกิจ

ลองนึกภาพว่าถ้าเป็นในอดีตเราอยากวิเคราะห์ข้อมูล ก็อาจจะใช้โปรแกรมตารางคำนวน อย่าง LibreOffice Calc หรือ R หรือ Tableau แระบวนการเหล่านี้ก็เกิดจากเอาข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ด้วยมืออาจใช้เวลาเป็นชั่วโมง แต่การที่เราใช้ Machine Learning จะช่วยทำให้การวิเคราะห์นั้นเกิดขึ้นในเวลาไม่กี่นาที ปัจจุบันเราก็รู้ว่าปัจจัยภายนอกในทางธุรกิจเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นวันหยุด ภัยธรรมชาติ ข่าวที่มีผลกระทบกับสินค้า เช่นการเปิดตัวสินค้าของคู่แข่ง ยุคนี้น่าจะหมดยุคของการทำแบบสำรวจจากแบบสอบถาม เพราะเราก็รู้ว่าลูกค้าไม่ค่อยได้ให้ข้อมูลที่แท้จริง แต่ก็ยังดีกว่าไม่ได้ทำอะไรเลยนะครับ การใช้ Machine Learning จะช่วยให้เข้าใจ พฤติกรรมของผู้บริโภคหรือลูกค้าได้ดีกว่า

การเติบโตของ Natural Language Processing (NLP)  

ในปี 2018 เราได้เห็นการเติบโตของ การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (NLP) มากขึ้นมีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายการนำเอา NLP เข้ามาใช้กับสินค้าเริ่มโตขึ้น ถึงแม้ว่ามันจะเป็นเรื่องที่ นักพัฒนาในด้านนี้ยังมีไม่มากแต่เราก็เห็นสินค้าของ Amazon Alexa, Google Home, Microsoft Cortana ที่ออกมาและพัฒนาไปพร้อมๆกับการออกมาให้นักพัฒนาทั่วโลกได้ทดลองใช้ โดยหวังว่ามนุษย์จะสามารถพูดคุยกับอุปกรณ์เหล่านี้ได้ เหมือนกับในหนังที่เราเห็นโทนี่สตาร์ค คุยกับ จาวิค ใน ไอร่อนแมน

การ์เนอร์ก็คาดการ์ณว่าในปี 2020 จะมีการสร้างแบบสอบถามการวิเคราะห์ 50 เปอร์เซ็นจะมาจากการการโต้ตอบผ่านเสียงด้วยเทคโนโลยี NLP เช่น"ยอดขายผักวันนี้เป็นอย่างไร" "คะแนนในการเรียนวิทยาศาสตร์มีเท่าไหรแล้ว" เชื่อกันว่าสิ่งเหล่านี้จะทำให้ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเชิ่งลึกได้ว่าผู้คนอยากรู้อะไรและมักจะถามอะไร ข้อมูลเชิงลึกต่าง ๆ จะช่วยนำมาเป็นข้อมูลในการตัดสินใจทางธุรกิจได้ นักวิเคราะห์เชื่อว่าคำถามต่างๆ สามารถที่จะนำมาวิเคราะห์ความพึงพอใจได้ ไม่ใช่แค่การพูดเท่านั้น NLP ยังรวมไปถึง chatbot อีกด้วยที่มนุษย์สามารถพิมพ์โต้ตอบกับหุ่นยนต์ garner คาดการณ์ว่าปี 2021 จะมีการใช้มากว่า 50% และ IDC ก็บอกเช่นกันว่า ปี 2019 ในการทำงานแต่ละวันในระดับ enterprise จะมี Application ที่สามารถเข้าถึงผู้ช่วยอัฉริยะแบบเป็นส่วนตัวได้  

มหาวิทยาลัยหลายแห่งเริ่มเห็นความสำคัญกับสาขา Data science and Analytic 

เทรนนี้ ไมไ่ด้เกิดขึ้นแต่ในต่างประเทศ ประเทศไทยเองก็เกิดปรากฏการณ์แบบนี้เหมือนกันและจะมีการบรรจุเนื้อหาการวิเคราะห์ข้อมูลลงไปในโรงเรียนด้วยเช่นกัน
เช่น ป6 เรียน introduction to data science ม2 จะเรียนวิชา dada analytics
ในต่างประเทศเอง ก็มี 
มหาวิทยาลัยแห่งรัฐนอร์ทแคโรไลนาเป็นที่ตั้งของหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาแรก MSA ตั้งอยู่ภายในสถาบัน Advanced Analytics (IAA) ซึ่งเป็นศูนย์กลางข้อมูลที่มีภารกิจ
เพื่อสร้าง "ผู้ประกอบการด้านการวิเคราะห์ที่ดีที่สุดในโลก - ผู้ที่เข้าใจวิธีการและเครื่องมือที่ซับซ้อนสำหรับการสร้างแบบจำลองข้อมูลขนาดใหญ่ [และ] ที่มีความปรารถนาในการแก้ปัญหาที่ท้าทาย ... "

วิชาศิลปะปรับตัวสร้างนักศึกษาเพื่อตอบโจทย์ การวิเคราะห์ข้อมูล

เนื่องจากว่าอุตสาหกรรมการวิเคราะห์ข้อมูลต้องการแรงงานที่มีทักษะในการเล่าเรื่องไม่ว่าจะเป็น info Graphic การสร้าง Dash Board ที่ทำให้ผู้บริหารได้ดูกราฟแสดงผลต่าง ๆ ซึ่งต้องใช้ทักษะการสร้างวิธีการนำเสนอเป็นอยางมาก ว่ากันว่าปัจจุบันแพลตฟอร์มเทคโนโลยีจะกลายเป็นเรื่องที่ง่าย ทุกคนสามารถที่จะเล่นกับข้อมูล ดังนั้นศิลปะ เหล่านี้จะเข้ามามีส่วนร่วม 

ปัจจุบันเราจะเห็นผลการทบทางเทคโนโลยีค่อนข้างมากแต่การทำให้มีประสิทธิภาพก็ด้วยการนำวิชาศิลปะเข้ามาใช้ เช่น นิสสันได้จ้างนักมานุษยวิทยาระดับปริญญาเอก Melissa Cefkin มาเป็นผู้นำในการวิจัยเรื่องปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์กับเครื่องจักร ระหว่างรถยนต์ที่ขับด้วยตนเองและมนุษย์