ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจเรื่อง FAB กันก่อนซึ่งมีที่มาจากคำว่า fabrication ที่หมายถึงการประดิษฐ์ ส่วนคำว่า Fab Lab ก็จะหมายถึงห้องปฏิบัติการ หรือ ห้อง ประลองสำหรับการประดิษฐ์ ซึ่งในห้องประลองนี้ก็จะมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นต่อการสร้างสรรค์งานที่ประกอบไปด้วย เครื่อง 3D Print เครื่อง มือวัดอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องตัดเจาะ CNC เครื่อง เรเซอร์คัดเตอร์
Fab Lab เป็นส่วนขยายการศึกษาของศูนย์สำหรับ Bits และ Atoms (CBA) ของ MIT ซึ่งเป็นส่วนขยายของการวิจัยในการผลิตและคำนวณแบบดิจิทัล Fab Lab เป็นแพลตฟอร์มต้นแบบทางเทคนิคสำหรับนวัตกรรมและการประดิษฐ์ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นสำหรับผู้ประกอบการในท้องถิ่น Fab Lab ยังเป็นแพลตฟอร์มสำหรับการเรียนรู้และนวัตกรรม: สถานที่เล่น, สร้างสรรค์, เรียนรู้, ให้คำปรึกษาและประดิษฐ์ การเป็น Fab Lab หมายถึงการเชื่อมต่อกับชุมชนผู้เรียนการศึกษานักเทคโนโลยีนักวิจัยผู้ผลิตและผู้สร้างนวัตกรรม - เครือข่ายการแบ่งปันความรู้ที่ครอบคลุม 30 ประเทศและ 24 โซนเวลา เนื่องจาก Fab Labs ทั้งหมดแบ่งปันเครื่องมือและกระบวนการทั่วไปโปรแกรมจึงสร้างเครือข่ายทั่วโลกห้องปฏิบัติการกระจายเพื่อการวิจัยและการประดิษฐ์
สำหรับในประเทศไทยการส่งเสริมให้โรงเรียนมีการจัดตั้ง FAB LAB ขึ้นในโรงเรียนระดับมัฐยมมากขึ้นเพื่อการส่งเสริมเรื่อง STEM ศึกษา โดยการที่เป็นการนำเอา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ มาบูรณาการในรายวิชาโดยให้ครอบคุมเนื้อหาทั้ง 4 ด้าน เพื่อให้ผลเป็นรูปเป็นร่างจับต้องได้ไมได้มีแค่ในตำราเท่านั้น นักเรียนสามารถที่จะเข้ามาใช้งานเครื่องมือเหล่านี้เปรียบเสมือนแหล่งบริการทางการศึกษาเช่นห้องสมุดเป็นต้น
หัวเรือหลักในเรื่องนี้สำหรับประเทศไทย ก็จะเป็นศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติหรือ สวทช ที่ส่งเสริมเรื่องนี้อยู่ โดยเมื่อปีที่ผ่านมาได้มีการแจก อุปกรณ์การเรียนรู้สำหรับการเขียนโปรแกรมเพื่องานสมองกลฝังตัว ออกไปยังสู่โรงเรียน ทั้งหมด สองพันโรงเรียน โดยใช้ชื่ออุปกรณ์ตัวนี้ว่า kidBright และมีแนวโน้มว่าจะจัดสรรค์เพิ่มขึ้นอีก
การมอบเครื่องพิมพ์สามมิติทีพัฒนาโดยนักวิจัยไทยให้กับโรงเรียนที่มีความพร้อมเช่นเรียนในโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของโรงเรียนในชนบท (ทสรช.) ภายใต้มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
โรงเรียนในเขตการส่งเสริม EECi เช่นจังหวัดระยอง ฉะเชิงเทรา ชลบุรี จำนวน 40 โรงเรียน ที่เคยได้รับอุปกรณ์ที่ชื่อว่า KidBright เข้ามาอบรมเพิ่มเติมและประเมินความก้าวหน้าด้วยการจัดประกวดโครงงาน ซึ่งจะมีขึ้นในเดือน มิถุนาที่จะถึงผมจะติดตามมาเล่าสู่กันฟัง
การอบรมนักเรียนแต่ละโรงเรียนจะต้องนำความรู้ที่จากในห้องเรียนปกติ และ ห้องอบรมมานำเสนอแนวคิดว่าจะสร้างโครงงานอะไร แล้วทำการเบิกอุปกรณ์ ภายในกิจกรรมก็จะมีนักวิชาการ เข้ามาช่วยในการให้คำแนะนำในการเขียนโปรแกรม กิจกรรมการสร้างหุ่นยนต์เพื่อการกระตุ้นให้เด็กๆ เกิดความสนใจที่จะศึกษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อีกตัวคือ การประกอบหุ่นยนต์ BEAM จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้เด็กๆ ได้สัมผ้สกับการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เอามาประกอบกันแล้วให้หุ่นทำงานโดยไม่ต้องเขียนโปรแกรมเช่น หุ่นเดินตามเส้น กิจกรรมที่สามเป็นกิจกรรม ออกแบบชิ้นงานด้วยเครื่องพิพม์ สามมิติ เพื่อให้ได้ชิ้นงาน หุ่นยนต์ไต่ราว ที่มาจากการออกแบบ ของเด็กๆ
กิจกรรมสามอย่างนั้นจัดขึ้นช่วงเดือนมีนาคม และให้เวลาเด็กๆ สามเดือนนำผลงานมานำเสนอกัน และนี้คือความก้าวหน้าในการพัฒนาเด็กๆ เพื่อกระตุ้นการเป็นนักประดิษฐ์ ส่งเสริมการเรียนรู้ STEM และจัดตั้ง FABLAB ในโรงเรียน