วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2564

PDPA พ.ร.บ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กำลังจะมีผลบังคับใช้

 หลังจากที่มีการประกาศใช้ พ.ร.บ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้มีผลบังคับใช้เมื่อเดือนพฤษภาคม 2563 และหลังจากนั้น วันที่ 21 พฤษภาคม 2563 รัฐบาลก็ได้ออก พระราชกฤษฎีกา กำหนดหน่วยงานและกิจการที่ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่อยู่ภายใต้ พรบ.  บังคับใช้ ตั้งแต่ 27 พฤษภาคม 2563 ถึง 31 พฤษภาคม 2564 โดยมีกิจการทั้งหมด 22 ด้าน ด้วยกันทั้งภาครัฐและเอกชน กิจการด้านเกษตร กิจการด้านอุตสาหกรรม มูลนิธิ สมาคม และอื่น ตามประกาศแนบท้าย ตีความง่าย ๆ คือ หลังวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 ทุกกิจการจะต้องอยู่ภายใต้ พรบ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สาเหตุที่นำเสนอเรื่องนี้ก็เกิดมาจาก ได้ชม Documentary เรื่อง The Great Hack ทาง Netflix ที่นำเอาเรื่องราวของ Cambridge Analytica ทำงานให้กับวุฒิสมาชิก Ted Cruz จนได้คะแนนสูง  ซึ่งหลังจากนั้นแคมเปญต่อมา Brittany Kaiser อดีตผู้อำนวยการ ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ ของบริษัท SCL Group ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ Cambridge Analytica ก็ทำให้ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้งเมื่อปี 2016 เป็นการทำผิดกฏหมายข้อมูลส่วนบุคคล จากบัญชีของ facebook มาใช้ประโยชน์ โดยไม่ได้รับความยินยอม เรื่องนี้น่าจะเป็นคดีที่โด่งดัง อื้อฉาว มากและเกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล การนำเอาข้อมูลส่วนบุคคลมาใช้เพื่อให้เกิดการมีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องนี้ และ มีผลกระทบเป็นอย่างมาก หลายคนไม่เชื่อว่าเฟสบุคเองนั้นไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องนี้ 



กฏหมายไทยหรือ พ.ร.บ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ของไทยซึ่ง ณ วันนี้ที่เขียนบทความยังไม่มีประกาศเลือนออกไป สาเหตุของการเลือนออกไปในปีที่แล้ว น่าจะมาจากสองสาเหตุ คือ เรื่องของโรคระบาด Covid-19 และการเตรียมความพร้อง ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่ง ใน พ.ร.บ. ฉบับนี้จะทำให้เกิด สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และ คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่ง ตอนนี้ ทั้งสำนักงาน และ คณะกรรมการ ได้จัดตั้งและสรรหาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ในยุโรป ก็มีกฏหมายฉบับนี้เหมือนกัน จะใช้ชื่อ ว่า GDPR ถ้าหากใครไปอ่านข่าวเจอก็ให้เข้าใจได้เลยว่าเป็นเรื่องของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล GDPR (General Data Protection Regulation) เป็นกฎระเบียบของ EU ที่ออกมาเพื่อคุ้มครองประชาชนในกลุ่มประเทศ EU จากการที่ความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคลถูกล่วงละเมิดมากขึ้นในโลกยุคใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล กฎหมายนี้เป็นการปรับปรุงมาตรการให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่แตกต่างไปจากเมื่อครั้งออก EU Directive เมื่อปี 1995 

สำหรับ ไทยใช้ชื่อว่า PDPA(Personal Data Protection Act)

ประชาชนจะได้อะไร

1. ประชาชนจะไม่ต้องให้ข้อมูลมากเกินจำเป็นกับการสมัครใช้บริการต่าง
2. ประชาชนจะได้รับการปกป้องจากการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้และทำให้เกิดความอับอาย
3. การนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ประโยชน์ เช่น ไป ขายให้กับผู้ลงโฆษณาจะทำไม่ได้ หรือ ธนาคารจะ นำข้อมูลไปขายให้ บริษัทประกันโทรมาขาย จะทำไม่ได้อีกต่อไป เว้นแต่ บริษัทจะเก็บรวบรวมข้อมูลเอง
4. การเปิดเผยข้อมูลจะต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล
5. การจะแชร์ข้อมูลส่วนบุคคล เช่น e-mail ข้อมูลติดต่อ อื่นๆ 
6. การนำข้อมูลคนอื่นไปสวมรอย ก็จะได้รับความคุ้มครองด้วย

หน่วยงานหรือบริษัทต้องทำอะไร

หากมีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลซึ่ง บริษัทส่วนใหญ่จะมีการเก็บข้อมูลลูกค้า มาใช้ในการให้บริการหลังการขายหรือส่งโปรโมชั่น ดี ๆ กลับไปให้ซึ่งสามารถทำได้ แต่ ห้ามนำข้อมูลที่เก็บไว้ไปขาย และการเก็บข้อมูลต้องได้รับความยินยอม

ยกตัวอย่างเว็บไซต์แห่งหนึ่งต้องการให้มีการสมัครรับข้อมูลข่าวสารจะต้องให้มีการกรอกข้อมูลเท่าที่จำเป็นเช่นใส่แค่ email address ก็พอไม่จำเป็นต้องใช้ที่อยู่ และจะต้องมีข้อความ ประกาศข้อกำหนดในการใช้บริการ

ยกตัวอย่าง Facebook การสมัครสมาชิก จะมีลิงค์ข้อความให้เข้าไปอ่าน ข้อกำหนดการใช้บริการ ผมจะยกตัวอย่างข้อความหนึ่งที่ Facebook ระบุไว้ว่า 

"เราจะไม่ขายข้อมูลส่วนตัวของคุณแก่ผู้ลงโฆษณา และเราจะไม่แชร์ข้อมูลที่ระบุตัวคุณได้โดยตรง(เช่น ชื่อ อีเมล หรือ ข้อมูลติดต่ออื่นๆ ) ให้กับผู้ลงโฆษณาเว้นแต่คุณจะให้สิทธิ์การอนุญาตเป็นการเฉพาะกับเราแต่ผู้ลงโฆษณาสามารถบอกเราเกี่ยวกับประเภทของกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการให้เห็นโฆษณาของตนได้ แล้วเราจึงแสดงโฆษณาเหล่านั้นให้กับผู้คนที่อาจสนใจ "

หน่วยงานจะต้องรักษาข้อมูล

ทุกวันนี้ไม่ว่าจะเป็น การใช้บริการต่าง ๆ ที่มีความจำเป็นจะต้องลงทะเบียนเช่น การซื้อบัตรชมคอนเสริต์ การซื้อสินค้าออนไลน์ แม้แต่การลงทะเบียนรับสิทธิ์ ของรัฐบาล หน่วยงานของรัฐก็จะต้องเก็บรักษาข้อมูลไม่ให้รั่วไหลไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดก็ตามดังนั้น ระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลต้องเข้มแข็ง

การสมัครใช้บริการเปิดบัญชีธนาคาร เปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ ปัจจุบันมีการสมัครแบบยืนยันตัวตนต้องมีการถ่ายรูป ถ่ายบัตรประชาชน ถ่ายหนังสือเดินทาง ก็จะต้อง ไม่นำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ และต้องป้องกันไม่ให้รั่วไหล หรือบุคคลภายในล่วงรู้ข้อมูลและนำไปใช้ เช่นหลังการลาออก นำเอาข้อมูลลูกค้าของ บริษัท ไปใช้ประโยชน์

อ้างอิง 
พ.ร.บ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/069/T_0052.PDF
พ.ร.ก กำหนดหน่วยงานและกิจการที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่อยู่ภายใต้บังคับ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ พ.ศ. ๒๕๖๓  http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/A/037/T_0001.PDF
เกี่ยวกับ สารคดี The Great Hack https://en.wikipedia.org/wiki/The_Great_Hack

วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2564

อะไร ๆ ก็ชนะ แล้ววันนี้ ใครชนะ

 ปีที่แล้วเรามี แอบพลิเคชั่น ไทยชนะ ที่ทุกคนต้องเช็คอิน แต่ในตอนนั้นเราก็มี หมอชนะ สำหรับการระบาด Covid-19 รอบใหม่ วันนี้ รัฐบาลมาเชิญชวนให้ติดตั้ง แอปพลิเคชั่น หมอชนะ ผมได้ชวนคนอ่านและคนฟังวิทยุ FM 101 ให้ติดตั้งแอปนี้เมื่อตอนปลายปีก่อนปีใหม่ เพราะเห็นว่าแอปนี้ จะช่วยยืนยันได้ว่าหลายวันที่ผ่านมา ผมไมไ่ด้เดินทางหรืออยู่ใก้ลผู้ที่มีความเสี่ยง เพราะ ถ้าทุกคนติดตั้ง แอปนี้มันจะแจ้งเตือน แต่ระบบนี้จะไม่สามารถแจ้งเตือนได้ถ้า หาก ไม่ได้รับข้อมูลผู้ป่วยจาก ภาครัฐ หรือ สบค ก็จะไม่สามารถรู้ได้ว่า เราอยู่ใกล้คนที่มีความเสียงได้ ดังนั้นแอปนี้ ถึงจะทำมาจากอาสาสมัคร เป็นความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน 

ในที่สุดก็ต้องโอนมาให้ภาครัฐ ดูแลต่อโดย สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ นำไปดูแลต่อ ข้อมูลจากเพจ กระทรวง DES กล่าวว่า ปัจจุบันกลุ่มผู้พัฒนาแอป “หมอชนะ” ได้แก่ กลุ่ม Code For Public และกลุ่มทีมงานอาสาหมอชนะ Mor Chana Volunteer Team ได้มีการส่งต่อ “หมอชนะ” จากกลุ่มอาสาสมัครมาสู่การกำกับดูแลจากทางรัฐบาลอย่างเต็มตัวแล้ว เนื่องจากหลังการนำมาใช้งานเพื่อรับมือการระบาดโควิด-19

เมื่อต้นสัปดาห์ เพราะเมื่อวันจันทร์ได้ก่อนการแถลงข่าว ก็เกิดดราม่า หากส่งมอบไปแล้วแอป หากไม่ได้ทำงานตามที่วางระบบไว้ ก็จะไม่เกิดประโยชน์ กับผู้ติดตั้งแอป คนที่ติดตั้งแอป เขาต้องการความสบายใจ ไม่ได้ติดตั้งเพราะเชียร์รัฐบาล เพราะหากไม่เปิดเผยว่าอยู่ในจุดเสี่ยง หรือ พท.เสี่ยง หรือ ใกล้เครื่องที่ผู้ใช้ตกเป็นผู้ป่วย แอปนี้ก็ไม่มีประโยชน์ 

หากเรามองความเสียงมากตามสี เสี่ยงสุงมากสีแดง เสียงสูงสีส้ม เสียงน้อยสีเหลือง และมีความเสี่ยงต่ำคือสีเขียว 



ข้อสังเกตุ จากการนำเสนอข่าวของช่องสามผู้ประกาศข่าวก่อนเที่ยงเปิดแอปพลิเคชั่นว่าหน้าตาแอปเป็น อย่างไร ผมตั้งข้อสังเกตุว่า หน้าจอยังมีความเสี่ยงตำมาก  คือเป็นสีเขียว แต่ที่ผ่านมาช่องสามอยู่ในพื้นที่ ที่ มีพนักงานติดเชื้อ covid อย่างน้อยก็จะขึ้น สีเหลือง หากผ่านไปครบเจ็ดวัน แล้วไมมีผู้ติดเชื้อเพิ่มก็ค่อยกลับไปเป็นสีเขียว

เรื่องนี้ผมมองว่าหากระบบไม่มีข้อมูลผู้ป่วย ก็จะทำให้ ไม่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ หมอชนะอยู่ฝ่ายเดียวเพราะ ควบคุมความเสี่ยงของพื้นที่ได้ว่าจะให้พื้นที่ใดมีความเสี่ยงอย่างไร

เรื่องดราม่าที่เกิดในโลกโซเชียลจริงๆแล้วไม่น่าจะเกิดเมื่อเสร็จแล้วก็ต้องมอบให้ ภาครัฐอยู่แล้ว แอปหมอชนะเกิดจากการสนับสนุนของหลายภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงโรงพยาบาล สื่อสารมวลชน สถาบันการศึกษา และถ้าจะให้ลบคำดราม่าต้องให้แอปพลิเคชั่นนี้ทำงานได้ตามวัตถุประสงค์ 

ที่มาของคำว่า ชนะ เป็นข้อความทางจิตวิทยา ที่นายกออกมาพูดให้กำลังใจประชาชนว่าประเทศไทยต้องชนะ ก็เลยทำให้มีอาสาสมัครของรัฐนำไปสร้างแอปเพื่อสแกนเข้าออกสถานที่ต่าง ๆ นั้นคือจุดเริ่มต้นของคำว่า ไทยชนะ 

ถ้าวันนี้เราไม่มีหมอชนะ สิ่งที่แน่นอนสำหรับสมาร์ทโฟนคือ Google map Timeline ซึ่ง Google เก็บข้อมูลเราไปแล้วยังเก็บข้อมูลไว้ให้เราด้วยครับว่าเราเดินทางไปไหนมาบ้าง แต่ถ้าเราใช้ Google ข้อมูลก็จะอยู่กับ Google ไมไ่ด้มีใครชนะ นอกจาก Google ชนะ แอปหมอชนะประกาศความเป็นส่วนตัวชัดเจนที่เว็บไซต์ถึงเรื่องการจะไม่นำข้อมูลไปใช้และเมื่อหมดการระบาดยืนยันว่าจะทำการลบข้อมูลทิ้งทั้งหมดอ่านเพิ่มเติมได้จากลิงค์

กรณีหมอชนะ เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากๆ ข้อมูลที่มีการปรับปรุงเพิ่มเติมตลอดเวลา(ข้อมูลมามั่ว มามาก มาไม่ต่อเนื่อง) เป็นแบบรายบุคคลมีความจำเป็นมากที่เรียกว่า Big Data นำมาวิเคราะห์ และมีการนำปัญญาประดิษฐ(AI)มาช่วย วิเคราะห์  ช่วยคัดแยก การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของผู้เกี่ยวข้องดังนั้นโลกของเทคโนโลยีเราจึงหนี AI ไปไม่ได้  กรณีนี้ AI มาช่วย



AI ชนะ

ทำไมเราเรียกปัญญาประดิษฐ์ เพราะแนวติดเริ่มแรก ของ อลัล ทรูริง(Alun Turing) ที่บอกว่าเครื่องจักรสามารถคิดเองได้ถ้ามีกระบวนการที่ถูกต้อง ต่อมา นักคอมพิวเตอร์ โดย Alexander Bain และ William James ได้นำแนวทางการทำงานของสมองมนุษย์ ทีมี นิวรอล (เซลล์ประสาท หรือ neuron) มากมายเชื่อมต่อกัน นิวรอลที่คล้ายกันจะมีเส้นแกนประสาทเชื่อมต่อกัน เมื่อมีมากๆก็จะแสดงออกมากลายเป็นทักษะ หรือ ความเชื่อเมื่อได้รับข้อมูลมากขึ้น เพราะการเชื่อมต่อกันของ neuron 



เมื่อเชื่อมต่อกันเป็นโครงข่าย เหมือนมนุษย์ที่มีความคิดคล้ายๆกันก็จะเรียกว่าเคมีตรงกันทำให้รู้จักกัน หลักการแบบนี้ ถูกนำมาใช้ กับ AI ที่เรียกว่า Artificial Neuron Network : ANN ซึ่งศาสตร์แขนงนี้ถูกนำมาใช้ในโซเชียลมีเดีย ที่เรามักจะสงสัยว่า เฟสบุคทำไมแนะนำคนที่คุณน่าจะรู้จักมาให้เรา และเมื่อเราส่งคำขอเป็นเพื่อตามคำแนะนำ ก็เท่ากับเป็นการให้คะแนนกับ AI ว่ามันตัดสินใจถูกต้อง ตอนนี้เครื่องจักรก็จะเริ่มเรียนรู้ 

Google เองก็นำเสนอว่าสถานที่ ที่คุณอยู่มันคือสถานที่นี้ใช่หรือไม่ และมักจะถามเราหากเราเปิดการให้คำแนะนำ บริษัท เทคโนโลยี หรือ Big Tech ต่างก็นำเรื่องนี้มาใช้งาน 

ถ้าวันนี้เราจะ Outsmart The AI?

ในมุมของคนเทคโนโลยี AI หากนำมาใช้ในทางที่เกิดประโยชน์กับเรามันจะเกิดประโยชน์อย่างมากหากมีข้อมูลที่พอเพียงมันจะทำนายการใช้ไฟฟ้าได้ว่าจะเติบโตไปในทิศทางใด นำมาใช้กับการพยากรณ์อากาศ และโมเดลทางวิทยาศาสตร์ได้ 

แต่ถ้าใช้ AI เพื่อเอามาชนะมนุษย์ด้วยกันเองแล้ว เช่น เอาชนะกันทางความคิด การเอาชนะกันทางการเมืองใส่ข้อมูลผิดๆ ความเชื่อผิดๆ การตัดสินใจของ AI และมนุษย์ก็จะได้รับข้อมูลที่ผิดๆไปด้วย 

เราต้องรู้ทัน AI

การที่ภาพยนต์ เรื่อง Terminator บอกว่าวันหนึ่งเครื่องจักรจะลุกขึ้นมาฆ่ามนุษย์ นั้นในโลกของความจริง เครื่องจักรกำลังโปรแกรมสมองมุนย์ ด้วยการนำเสนอข้อมูลที่แต่ละคนชอบ และปิดกันการมองเห็น บางโพสต์ที่ไม่มีคนมาถูกใจนั่นแสดงว่า AI ไม่เข้าใจแล้วว่าข้อความนี้เหมาะกับใคร  แต่เมื่อเราจำกัดกลุ่มจะมีเมื่อมีคนมาชื่นชมมาก ๆขึ้นเพราะ มนุษย์ช่วย AI เลือกกลุ่มคนมาให้  เมื่อนุษย์ถูกโปรแกรมจาก AI มนุษย์ขัดแย้งกัน ก็จะลุกขึ้นมาทำร้ายกันเอง

เราขนะมาแล้ว

และวันอังการที่ 19 2564 หลังการประชุมของคณะรัฐมนตรี ก็ได้ออกมาตรการ เราชนะ ที่จะชดเชยหรือเยียวยาให้กับประชาชนซึ่งเงื่อนไขต่าง ๆ ต้องติดตามกัน โดยเฉพาะ รัฐบาลจะมีการช่วยเหลือให้กับผู้มีรายได้น้อย ที่จะได้รับเงินเยียวยา เราก็อาจจะได้เห็นเว็บลงทะเบียน เราชนะ.com  แล้วเราก็ต้องมาแข่งกันลงทะเบียน เพื่อให้ได้มาของชัยชนะ 

และวันนี้ 20 มกราคม 1.34 ล้านสิทธ ที่เก็บตกมาจากการลงทะเบียนจากรอบแรกแล้วยังไม่ได้ใช้สิทธหรือใช้สิทธิไม่ทัน ก็ขอให้ชนะลงทะเบียนรับสิทธิ์ได้กันนะครับ กสทช ออกมากำชับให้ระบบ OTP ของค่ายมือถือให้บริการประชาชน อย่าให้ล่มอีก


วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2564

ก่อนเปิดพอร์ตเทรดเหรียญดิจิทัล อ่านเรื่องนี้ก่อน

 ช่วงนี้การซื้อเหรียญดิจิทัล หรือคริปโตเคอเรนซี่ (cryptocurrency) กำลังเป็นที่สนใจของนักลงทุนหน้าใหม่ ว่าจะเปิดพอร์ตเทรด เหรียญคลิปโต กับโบรคเกอร์ไหนดี บทความนี้อาจจะไม่ได้มีคำตอบโดยตรงว่า เทรดกับใครดีแต่อยากจะให้พิจารณากันหลายเรืองด้วยกันก่อนจะเสียโอกาศในการลงทุน


1. การเปิดบัญชีชื่อขายจะต้องมีการส่งเอกสารยืนยันตัวตนของเช่นรูปถ่ายบัตรประชาชน หรือถ้าเป็นของโบรคเกอร์ต่างประเทศอาจจะต้องถ่ายรูปเราถือคู่กับหนังสือเดินทางและต้องให้เห็นชัดไม่เบรอ บางโบรคเกอร์ให้เราส่งภาพถ่ายทางออนไลน์ 

*ข้อควรระวังทุกอย่างต้องถ่ายชัดและต้องใช้เวลาในการอนุมัติไม่นานเกินไปเช่นบางโบรคเกอร์ใช้เวลา 1 - 2 วันทำการในการอนุมัติทีละขั้นตอน บางโปรคเกอร์ใช้เวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง

2. เมื่อเกิดปัญหา มีช่องทางการติดต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุนกี่ช่องทาง หรือ ให้คุยทาง Chat อย่างเดียว และถ้าเป็น Chat อย่างเดียวรอคิวนานหรือไม่ บางโบรคเกอร์คนสมัครใช้เยอะมาก รอคิวเกือบ 50 คิวพอเหลือไม่กี่คิวระบบหมดเวลาต้องไปเริ่มเข้าคิวใหม่ 

3.ฝากเงินผ่านระบบดิจิทัลหรือใช้โอนเงินแล้วยืนสลิป อาจจะมีให้เลือกทั้งสองอย่างก็ได้

*คำเตือนการฝากเงินเข้าไปให้ลองฝากครั้งแรก 100 บาทก่อนเพราะหากฝากเงินเข้าไปแล้วเงินไม่เข้าบัญชีซื้อขายจะได้ไม่เสียดาย หากฝากเงินด้วยการโอนเงินแล้วแสดงสลิป หากฝากผ่านไปแล้วหลายชั่วโมงเงินไม่เข้าบัญชี ก็ต้องติดต่อฝ่าย Support หรือฝ่ายสนับสนุน แล้วถ้าติดต่อไม่ได้ก็จะเสียโอกาศอีกเช่นกัน

4. โบรคเกอร์มีกระเป๋าเงินสำหรับคริปโต หรือไม่เผื่อเอาไว้สำหรับการโอนเหรียญไปยังที่อื่นได้หรือเอาไปใช้จ่ายต่อไป

5. ก่อนซื้อเหรียญควรตรวจสอบ ระบบการซื้อขายว่า Realtime หรือไม่บาง ทีราคาลงไปเยอะแล้วเรายังเห็นราคา ยังนิ่งๆอยู่ซึ่ง ใครเคยเทรดหุ้นน่าจะเข้าใจว่าราคาจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงรายวินาที

6.ตรวจสอบกับโบรคเกอร์ต่างประเทศว่าราคาเหรียญที่ไม่ใช่บิทคอย ที่ต่างประเทศเขาซื้อขายกันราคาเท่าไหร่ เมื่อไม่นานมานี้เกิดเหตุการกับเหรียญ CTXC ที่ราคาบางโบรคเกอร์สูงถึง 200 บาทแต่ในต่างประเทศเคลื่อนไหวอยู่ที่ 2 ถึง 3 บาท ทำให้วันเดียวราคาเพิ่มขึ้นหลายร้อยเปอร์เซ็นต กว่าจะรู้ว่าระบบมีปัญหา

7.ศึกษาเหรียญดิจิทัลบางเหรียญว่ามีที่มาที่ไปอย่างไรและทำไมในต่างประเทศประกาศจะไม่ให้ทำการซื้อขาย เช่น  XRP ที่ทาง ก.ล.ต สหรัฐจะทำการฟ้องเพราะไม่ได้รับอนุญาตและจะให้ถอดออกจากตลาดซื้อขาย แต่ นักลงทุนบางกลุ่มยังซื้อขายกันอยู่ เนื่องจากการกระจายเหรียญของ XRP หรือชื่อเต็มว่า Rippel ผู้บริหารสองคนเอาเหรียญส่วนตัวไปกระจายขายกันก่อนตั้งแต่ปี 2013 มูลค่า 600 ล้านดอลล่า

ในเรื่องนี้ไม่มีโบรคเกอรไทยขึ้นประกาศเตือนให้ระวังการซื้อขาย

8. หาข้อมูลว่าในแต่ละโบรคเกอร์คริปโตเคอเรนซี่ ไทยคนไหนได้รับอนุญาติ จาก ก.ล.ต บ้าง 

ตรวจสอบได้ที่ https://www.sec.or.th/th/pages/shortcut/digitalasset.aspx หมายเหตุ bx.in.th ปิดกิจการไปแล้ว

9. มีใครบ่นเรื่องต่าง ๆ ที่เกียวข้องมาทั้งหมดนี้ตามกลุ่ม Facebook ต่างๆหรือไม่แล้วค่อยตัดสินใจ

ข่าวเด่นอื่น ๆ สัปดาห์นี้

1. อินเตอ์เน็ทฟรีเพราะแอปหมอชนะ 
จากการระบาดของ Covid-19 ในรอบใหม่นี้หลังจากที่ได้เชิญชวนกันติดตั้งแอปพลิเคชั่น หมอชนะ ทำให้หลายคนพบว่า ปริมาณการใช้อิเตอร์เน็ทสูงมากขึ้นจนผิดสังเกตุ บางคนโดนไป 20 กิกกะไบท์ ส่วนตัวผมโดนไป 500 เมกกะไบท เป็นปริมาณครึ่งหนึงของ 1 กิกกะไบท์ หากมีการใช้ข้อมูลสูงกว่าปกติแบบกรณีแรกต้องติดต่อผู้ให้บริการ และเมื่อวันอังคารที่ 12 มาตรการของรัฐ ให้สามค่ายมือถือจะให้ใช้อิเตอร์เน็ทฟรี 3 เดือน และไม่ให้คิดค่าใช้จ่ายกับข้อมูลหมอชนะ

2.ถึงคราวที่ Twitter ถอดบัญชี QAnon 70,000 บัญชีในสหรัฐเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ซึ่งเมื่อปีที่แล้วได้ถอดบัญชีกลุ่มนี้ไป 7000 บัญชี มาคราวนี้ก็ถอดออกไปเพิ่มอีก ซึ่งจะเห็นว่า Twitter เอาจริงกับเรื่องนี้เพราะเกรงว่า จะถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือทำให้เกิดความไม่สงบเช่นเดียวกับที่ถอดบัญชี IO ไทยจะแตกต่างตรงที่ IO ไทยที่ถูกถอดไปเป็นกลุ่มจัดตั้ง

3.และสุดท้าย Parler เป็น Social media เนื่องจากไม่สนใจโพสต์ที่ส่งเสริมความรุนแรง กลุ่มทีสนับสนุนทรัทป์ ทำให้เมื่อวันเสาร์ Apple และ google รวมถึง amazon web service ได้เอาแอป Parler ออกจาก store เป็นที่เรียบร้อย ถึงไม่มี Parler ก็ไม่เป็นไร ฝรั่งหลายคนบอกว่า งั้นไปใช้ Telegram ก็ได้ ส่วน Elon Musk ได้ twitt บอกว่าคุณควรใช้ Signal แทน Facebook เพราะ มันปลอดภัย เขาเองก็ใช้

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่Musk พูดถึง Facebookในเรื่องความเป็นส่วนตัว ในปี 2018 เขาได้ ลบหน้า Facebook ส่วนตัวของตัวเอง และลบหน้าเพจ บริษัท ของเขาอย่างTeslaและSpaceXด้วย 


วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2564

9 เทคโนโลยีที่จะเข้ามาเปลี่ยนชีวิตในปี 2021

 ปี 2021 เป็นปีที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล หลายเรื่อง ซึ่งช่วงต้นปีแบบนี้เราก็จะมาเดากันก่อนว่าน่าจะมีอะไรที่เปลี่ยนได้ เช่น เปลี่ยนการใช้ชีวิต และอุปกรณ์ที่จะเข้ามาทำให้เราอาจจะต้องลงทุนซื้อกันใหม่ และเป็นจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยี โทรศัพท์มือถือ ก็น่าจะมีกล้องที่ดีขึ้น แอปพลิเคชั่น ไทยชนะ อย่างเดียวเอาไม่อยู่แล้ว ต้องติดตตั้ง แอปหมอชนะ ของ สำนักงานรับบาลอิเล็กทรอนิกส์หรือ DGA ที่จะสรุปความเสียงของเราให้ว่าเรามีความเสียงมากน้อยแค่ไหน และสามารถส่อง qr-code ของเพื่อนเพื่อตรวจสอบความเสียงของเพื่อได้ด้วย

1.คอมพิวเตอร์ที่จะเปลี่ยนมาใช้ ชิฟหรือ CPU ที่ไม่ได้มาจาก Intel ซึ่งก่อนหน้านี้ Apple ได้เปิดตัวชิฟ M1 จากค่าย ARM ที่ทำให้ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยเหมือนเครื่องโทรศัพท์มือถือและไม่ต้องมีพัดลมระบายความร้อน ไม่เพียงแค่ Apple ที่เปลี่ยน Lenovo , Acer , Microsoft ก็กำลังจะออก คอมพิวเตอร์แล็ปท็อป ที่ใช้ชิฟจาก Qualcomm ที่นิยมใช้กันในโทรศัพท์มือถือ Android ส่วน Apple เองมีแผนจะเปลี่ยนให้ครบทั้งหมดภายในปี 2565

2. ภาพยนต์ ที่จะมีฉายพร้อมๆกันในแอปพลิเคชั่น เพราะสาเหตุโรงภาพยนตืปิดให้บริการ และในประเทศไทย ดิสนีย์เองก็กำลัง จะเปิดให้บริการ Disney plus ในราคาเดือนละ 250 บาท ปัจจุบันมีภาพยนต์จากหลายค่าย เช่น HBO max และภายในปีนี้ Warner Media ก็จะให้บริการ

3. เทคโนโลยีที่ต้องสมัครสมาชิก อาจจะ ทำให้เราต้อง เสียเงินมากขึ้น หรือ อาจจะต้องงดรับบริการบางอย่างออกไปบ้าง เช่นค่าสมัคร Netflix , ค่าเช่าพื้นที่เก็บข้อมูลใน internet เช่นปลายปี Google Photo .ให้บริการเก็บรูปถ่าย ประกาศจะไม่ให้บริการฟรีอีกต่อไป  และ YouTube TV จะเพิ่มแพคเกจคล้ายกับเคเบิลทีวี ค่าบริการสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการออกกำลังกาย Apple เตรียมออกแอปพลิเคชั่นออกกำลังกายมาเก็บค่าสมาชิก หลายคนอาจจะไม่ได้เสียชีวิตจาก covid แต่ออาจจะมาจากค่าสมาชิกต่างๆ

4. เรื่องของสุขภาพ และการไปพบหมอ ก็เปลี่ยนไป เมื่อทุกคนอยู่บ้านการออกกกำลังกายกับแอปพลิเคชั่น ออกกำลังกายมีการดาว์นโหลด เพิ่มขึ้น 46% ทั่วโลก เมื่อต้นปี 2020 ข้อมูลเปิดเผยโดยบริษัทวิจัยตลาด MoEngage  อุปกรณ์ที่ดูเหมือนจะเป็นของฟุ่มเฟือย ที่อเมริกา บริษัทที่ผลิตจักรยานอัจฉริยะ ลู่วิ่งไฟฟ้า มียอดขายเพิ่มขึ้นสามเท่าตัว 

คุณหมอที่โรงพยาบาลเอกชนใช้โทรศัพท์มือถือสัมภาษณ์อาการของคนไข้ประจำตัว ผ่าน zoom , FaceTime, Skype โดยไม่ต้องเดินทางมาพบแพทย์และจ่ายยาด้วยวิธีการส่งไปรษณีย์ จะเรียกว่าเป็น telemedicine ก็ได้ ดังนั้นเครื่องวัดความดันส่วนตัว เครื่องตรวจเบาหวานด้วยตัวเองปีนี้น่าจะขายดีขึ้น

5. รถยนต์ไฟฟ้า มาแล้ว เมื่องาน Motor Expo ที่ผ่านมาเกือบทุกค่ายรถยนต์ ทังรถญี่ปุน และ ยุโรป นำเอา รถยนต์ไฟฟ้า ออกมาขาย ทำให้ปีนี้ 2021 จะมีรถยนต์ไฟฟ้าออกมาวิ่งกันแล้ว และรถยนต์ประเภท Plugin Hybridge ที่ใช้ได้ทั้ง ไฟฟ้าและน้ำมันทำให้ประหยัดนำมันสุงถึง 60 กิโมเมตร ต่อ ลิตร  ถึงไม่มีปั๊มให้ชารต์แบต แต่ทุกค่ายมีอะแดปเตอร์ มาให้ด้วย หรือ ข่ายชุด ชาร์ตแบบเร็ว ให้กับลูกค้าที่ซื้อรถ

6. อีคอมเมิร์ซ ปีนี้น่าจะเติบโตกว่าปีที่ผ่านมาอีกอย่างมาก เพราะเริมต้นปี ทุกคนต้อง ล๊อกดาว์นตัวเอง เก็บตัวอยู่บ้าน รายได้หาย หลายคนหันมาขายสินค้าผ่านระบบออนไลน์และซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ รวมไปถึง การใช้แอป ส่งอาหารที่เติบโตมากขึ้นอย่างแน่นอน แต่ ก็มีข่าวตั้งแต่เดือน มกราคมของปี ว่า ซัมซุง pay จะไม่ให้บริการอีกต่อไปหลังปี 2021 อาจจะเป็นเพราะมีสมาชิกใช้บริการน้อยเกินไป

7. การทำงานที่บ้านหรือ WFH กลับมาแล้วซึ่งปีที่ผ่านมาถือว่าเป็นการซ้อมทำงานที่บ้าน หลายบริษัท ลดพื้นที่ในการทำงานลง และมีการประเมินกันว่ามีประสิทธิภาพ พนักงานมีความสุขมากขึ้น บริษัทประหยัดเงินมากขึ้น การประชุมที่ไม่มีกาแฟหรือขนมอร่อยไม่เป็นอุปสรรค์ เพราะสามารถสั่งแล้วส่งไปให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้ ดังนั้นเรื่องความไม่น่าเชื่อถือว่าพนักงานทำงานที่บ้านแล้วจะได้ทำงานหรือไม่นั้น ผ่านการพิสูจน์มาหลายบริษัทแล้วว่าดีกว่า แต่ จะไม่ดีก็ตรงที่ โรงเรียนปิดการเรียนการสอน ทำให้ต้องดูแลบุตรหลานด้วย

8. แว่นตาอัฉริยะ ต้องมาลุ่นกันว่าปีนี้ค่ายใหญๆอย่าง Google, Apple จะออกมาวางขายหรือไม่ แต่มีข่าวหลุดว่า Facebook และ Ray Bans จะออกมาขายแน่นอนในปีนี้ซึ่งก็ต้องติดตาม แว่นตาที่จะแสดงภาพ ข้อความออกมา เพราะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการประชุมทางไกลก็เตรียมเข็นอปพลิเคชั่นออกมา ซึ่งปี2020 ที่ผ่านมา Facebook เตรียมที่จะออกแว่น AR ซึ่งก็น่าจะเลื่อนมาเป็นปีนนี้ และ บริษัทอย่างไมโครซอฟต์ก็เตรียมตัวออกมาเหมือนกัน

9. Crypto Currency หรือ Digital Currency จะเข้ามาเปลี่ยนวิธีการโอนเงินข้ามประเทศโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม ให้กับคนกลาง และมีความเร็วในการโอนเงิน เพราะในปีนี้มีหลายบริษัทรับชำระเงินด้วย บิทคอย์น์ เช่นไมโครซอฟต์ เริ่มตั้งแต่การเพิ่มขึ้นอย่างช้า ตั้งแต่ต้นปี ที่บิทคอยน์ละสามแสน ส่งท้ายปี 2020 ราคาของบิทคอยน์ก็วิ่งขึ้นมา แตะที่หนึ่งล้านบาท สร้างความสนใจให้กับนักคอมพิวเตอร์ที่มีบิทคอย์ไว้ในมือ บางคนได้มาจากการทำเหมืองบิทคอย์ที่ใช้พลังของ CPU และ GPU หรือ บางคนก็ซื้อเก็บไว้ การที่ราคาค่อย ๆ เพิ่มขึ้นไปกระแสข่าวมาจาก การที่มีนักลงทุนสถาบัน เข้าไปซื้อ บิทคอยน์เพราะมีความไม่เชื่อมั่นในเงิน ดอลล่า รวมทั้ง อเมริกา มี ก.ล.ต เข้ามากำกับดูแล บริษัทแลกเปลี่ยนซื้อขายบิทคอยน์ ญีปุน ก็มีแล้ว และไทยเองก็ถูกกฏหมายแล้วมี ก.ล.ต กำกับดูแล ออกใบอนุญาต 

จีนเริ่มใช้ดิจิตอลหยวนแล้วโดย JD.com แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของจีน เป็นผู้ค้าปลีกรายแรกเริ่มให้งานเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ดังนั้น crypto curency ปีนี้น่าจับตามองครับ