วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2564

อะไร ๆ ก็ชนะ แล้ววันนี้ ใครชนะ

 ปีที่แล้วเรามี แอบพลิเคชั่น ไทยชนะ ที่ทุกคนต้องเช็คอิน แต่ในตอนนั้นเราก็มี หมอชนะ สำหรับการระบาด Covid-19 รอบใหม่ วันนี้ รัฐบาลมาเชิญชวนให้ติดตั้ง แอปพลิเคชั่น หมอชนะ ผมได้ชวนคนอ่านและคนฟังวิทยุ FM 101 ให้ติดตั้งแอปนี้เมื่อตอนปลายปีก่อนปีใหม่ เพราะเห็นว่าแอปนี้ จะช่วยยืนยันได้ว่าหลายวันที่ผ่านมา ผมไมไ่ด้เดินทางหรืออยู่ใก้ลผู้ที่มีความเสี่ยง เพราะ ถ้าทุกคนติดตั้ง แอปนี้มันจะแจ้งเตือน แต่ระบบนี้จะไม่สามารถแจ้งเตือนได้ถ้า หาก ไม่ได้รับข้อมูลผู้ป่วยจาก ภาครัฐ หรือ สบค ก็จะไม่สามารถรู้ได้ว่า เราอยู่ใกล้คนที่มีความเสียงได้ ดังนั้นแอปนี้ ถึงจะทำมาจากอาสาสมัคร เป็นความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน 

ในที่สุดก็ต้องโอนมาให้ภาครัฐ ดูแลต่อโดย สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ นำไปดูแลต่อ ข้อมูลจากเพจ กระทรวง DES กล่าวว่า ปัจจุบันกลุ่มผู้พัฒนาแอป “หมอชนะ” ได้แก่ กลุ่ม Code For Public และกลุ่มทีมงานอาสาหมอชนะ Mor Chana Volunteer Team ได้มีการส่งต่อ “หมอชนะ” จากกลุ่มอาสาสมัครมาสู่การกำกับดูแลจากทางรัฐบาลอย่างเต็มตัวแล้ว เนื่องจากหลังการนำมาใช้งานเพื่อรับมือการระบาดโควิด-19

เมื่อต้นสัปดาห์ เพราะเมื่อวันจันทร์ได้ก่อนการแถลงข่าว ก็เกิดดราม่า หากส่งมอบไปแล้วแอป หากไม่ได้ทำงานตามที่วางระบบไว้ ก็จะไม่เกิดประโยชน์ กับผู้ติดตั้งแอป คนที่ติดตั้งแอป เขาต้องการความสบายใจ ไม่ได้ติดตั้งเพราะเชียร์รัฐบาล เพราะหากไม่เปิดเผยว่าอยู่ในจุดเสี่ยง หรือ พท.เสี่ยง หรือ ใกล้เครื่องที่ผู้ใช้ตกเป็นผู้ป่วย แอปนี้ก็ไม่มีประโยชน์ 

หากเรามองความเสียงมากตามสี เสี่ยงสุงมากสีแดง เสียงสูงสีส้ม เสียงน้อยสีเหลือง และมีความเสี่ยงต่ำคือสีเขียว 



ข้อสังเกตุ จากการนำเสนอข่าวของช่องสามผู้ประกาศข่าวก่อนเที่ยงเปิดแอปพลิเคชั่นว่าหน้าตาแอปเป็น อย่างไร ผมตั้งข้อสังเกตุว่า หน้าจอยังมีความเสี่ยงตำมาก  คือเป็นสีเขียว แต่ที่ผ่านมาช่องสามอยู่ในพื้นที่ ที่ มีพนักงานติดเชื้อ covid อย่างน้อยก็จะขึ้น สีเหลือง หากผ่านไปครบเจ็ดวัน แล้วไมมีผู้ติดเชื้อเพิ่มก็ค่อยกลับไปเป็นสีเขียว

เรื่องนี้ผมมองว่าหากระบบไม่มีข้อมูลผู้ป่วย ก็จะทำให้ ไม่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ หมอชนะอยู่ฝ่ายเดียวเพราะ ควบคุมความเสี่ยงของพื้นที่ได้ว่าจะให้พื้นที่ใดมีความเสี่ยงอย่างไร

เรื่องดราม่าที่เกิดในโลกโซเชียลจริงๆแล้วไม่น่าจะเกิดเมื่อเสร็จแล้วก็ต้องมอบให้ ภาครัฐอยู่แล้ว แอปหมอชนะเกิดจากการสนับสนุนของหลายภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงโรงพยาบาล สื่อสารมวลชน สถาบันการศึกษา และถ้าจะให้ลบคำดราม่าต้องให้แอปพลิเคชั่นนี้ทำงานได้ตามวัตถุประสงค์ 

ที่มาของคำว่า ชนะ เป็นข้อความทางจิตวิทยา ที่นายกออกมาพูดให้กำลังใจประชาชนว่าประเทศไทยต้องชนะ ก็เลยทำให้มีอาสาสมัครของรัฐนำไปสร้างแอปเพื่อสแกนเข้าออกสถานที่ต่าง ๆ นั้นคือจุดเริ่มต้นของคำว่า ไทยชนะ 

ถ้าวันนี้เราไม่มีหมอชนะ สิ่งที่แน่นอนสำหรับสมาร์ทโฟนคือ Google map Timeline ซึ่ง Google เก็บข้อมูลเราไปแล้วยังเก็บข้อมูลไว้ให้เราด้วยครับว่าเราเดินทางไปไหนมาบ้าง แต่ถ้าเราใช้ Google ข้อมูลก็จะอยู่กับ Google ไมไ่ด้มีใครชนะ นอกจาก Google ชนะ แอปหมอชนะประกาศความเป็นส่วนตัวชัดเจนที่เว็บไซต์ถึงเรื่องการจะไม่นำข้อมูลไปใช้และเมื่อหมดการระบาดยืนยันว่าจะทำการลบข้อมูลทิ้งทั้งหมดอ่านเพิ่มเติมได้จากลิงค์

กรณีหมอชนะ เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากๆ ข้อมูลที่มีการปรับปรุงเพิ่มเติมตลอดเวลา(ข้อมูลมามั่ว มามาก มาไม่ต่อเนื่อง) เป็นแบบรายบุคคลมีความจำเป็นมากที่เรียกว่า Big Data นำมาวิเคราะห์ และมีการนำปัญญาประดิษฐ(AI)มาช่วย วิเคราะห์  ช่วยคัดแยก การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของผู้เกี่ยวข้องดังนั้นโลกของเทคโนโลยีเราจึงหนี AI ไปไม่ได้  กรณีนี้ AI มาช่วย



AI ชนะ

ทำไมเราเรียกปัญญาประดิษฐ์ เพราะแนวติดเริ่มแรก ของ อลัล ทรูริง(Alun Turing) ที่บอกว่าเครื่องจักรสามารถคิดเองได้ถ้ามีกระบวนการที่ถูกต้อง ต่อมา นักคอมพิวเตอร์ โดย Alexander Bain และ William James ได้นำแนวทางการทำงานของสมองมนุษย์ ทีมี นิวรอล (เซลล์ประสาท หรือ neuron) มากมายเชื่อมต่อกัน นิวรอลที่คล้ายกันจะมีเส้นแกนประสาทเชื่อมต่อกัน เมื่อมีมากๆก็จะแสดงออกมากลายเป็นทักษะ หรือ ความเชื่อเมื่อได้รับข้อมูลมากขึ้น เพราะการเชื่อมต่อกันของ neuron 



เมื่อเชื่อมต่อกันเป็นโครงข่าย เหมือนมนุษย์ที่มีความคิดคล้ายๆกันก็จะเรียกว่าเคมีตรงกันทำให้รู้จักกัน หลักการแบบนี้ ถูกนำมาใช้ กับ AI ที่เรียกว่า Artificial Neuron Network : ANN ซึ่งศาสตร์แขนงนี้ถูกนำมาใช้ในโซเชียลมีเดีย ที่เรามักจะสงสัยว่า เฟสบุคทำไมแนะนำคนที่คุณน่าจะรู้จักมาให้เรา และเมื่อเราส่งคำขอเป็นเพื่อตามคำแนะนำ ก็เท่ากับเป็นการให้คะแนนกับ AI ว่ามันตัดสินใจถูกต้อง ตอนนี้เครื่องจักรก็จะเริ่มเรียนรู้ 

Google เองก็นำเสนอว่าสถานที่ ที่คุณอยู่มันคือสถานที่นี้ใช่หรือไม่ และมักจะถามเราหากเราเปิดการให้คำแนะนำ บริษัท เทคโนโลยี หรือ Big Tech ต่างก็นำเรื่องนี้มาใช้งาน 

ถ้าวันนี้เราจะ Outsmart The AI?

ในมุมของคนเทคโนโลยี AI หากนำมาใช้ในทางที่เกิดประโยชน์กับเรามันจะเกิดประโยชน์อย่างมากหากมีข้อมูลที่พอเพียงมันจะทำนายการใช้ไฟฟ้าได้ว่าจะเติบโตไปในทิศทางใด นำมาใช้กับการพยากรณ์อากาศ และโมเดลทางวิทยาศาสตร์ได้ 

แต่ถ้าใช้ AI เพื่อเอามาชนะมนุษย์ด้วยกันเองแล้ว เช่น เอาชนะกันทางความคิด การเอาชนะกันทางการเมืองใส่ข้อมูลผิดๆ ความเชื่อผิดๆ การตัดสินใจของ AI และมนุษย์ก็จะได้รับข้อมูลที่ผิดๆไปด้วย 

เราต้องรู้ทัน AI

การที่ภาพยนต์ เรื่อง Terminator บอกว่าวันหนึ่งเครื่องจักรจะลุกขึ้นมาฆ่ามนุษย์ นั้นในโลกของความจริง เครื่องจักรกำลังโปรแกรมสมองมุนย์ ด้วยการนำเสนอข้อมูลที่แต่ละคนชอบ และปิดกันการมองเห็น บางโพสต์ที่ไม่มีคนมาถูกใจนั่นแสดงว่า AI ไม่เข้าใจแล้วว่าข้อความนี้เหมาะกับใคร  แต่เมื่อเราจำกัดกลุ่มจะมีเมื่อมีคนมาชื่นชมมาก ๆขึ้นเพราะ มนุษย์ช่วย AI เลือกกลุ่มคนมาให้  เมื่อนุษย์ถูกโปรแกรมจาก AI มนุษย์ขัดแย้งกัน ก็จะลุกขึ้นมาทำร้ายกันเอง

เราขนะมาแล้ว

และวันอังการที่ 19 2564 หลังการประชุมของคณะรัฐมนตรี ก็ได้ออกมาตรการ เราชนะ ที่จะชดเชยหรือเยียวยาให้กับประชาชนซึ่งเงื่อนไขต่าง ๆ ต้องติดตามกัน โดยเฉพาะ รัฐบาลจะมีการช่วยเหลือให้กับผู้มีรายได้น้อย ที่จะได้รับเงินเยียวยา เราก็อาจจะได้เห็นเว็บลงทะเบียน เราชนะ.com  แล้วเราก็ต้องมาแข่งกันลงทะเบียน เพื่อให้ได้มาของชัยชนะ 

และวันนี้ 20 มกราคม 1.34 ล้านสิทธ ที่เก็บตกมาจากการลงทะเบียนจากรอบแรกแล้วยังไม่ได้ใช้สิทธหรือใช้สิทธิไม่ทัน ก็ขอให้ชนะลงทะเบียนรับสิทธิ์ได้กันนะครับ กสทช ออกมากำชับให้ระบบ OTP ของค่ายมือถือให้บริการประชาชน อย่าให้ล่มอีก


ไม่มีความคิดเห็น: