หลังจากทีเราได้ยินข่าวมากมายในช่วยสองสามปีที่ผ่านมาว่า การส่งสินค้าในอนาคตจะมีการใช้ อากาศยานไร้คนขับ หรือ โดรนส่งสินค้า เช่น ในสหรัฐอเมริกาเอง Amazon ก็ได้รับใบอนุญาตให้ทดสอบการส่งสินค้าด้วยโดรนได้ หลายๆคนก็คาดหวังว่าต่อไป สินค้าจะมาถึงมือผู้บริโภคไวขึ้นด้วยบริการโดรน
เมื่อวันที่ 11 เมษายนที่ผ่านมาที่ประเทศออสเตเรีย บริษัท Wing บริษัทลูกของ Alphabet ได้เปิดตัวบริการโดรนเชิญพาณิชย์ ส่งสินค้าทางอากาศ (drone delivery service) ในเขตชานเมือง Crace, Palmerston และ Franklin” ซึ่งอยู่ทางเหนือของแคนเบอร์ราในออสเตรเลีย โดรนของ Wing สามารถวางผลิตภัณฑ์ขนาดเล็กหลากหลายประเภทรวมถึงกาแฟอาหารและร้านขายยาทำการปิดการทำงานของพวกเขาจากร้านค้าในท้องถิ่นไปจนถึงสวนหลังบ้านของลูกค้าภายในไม่กี่นาที
คำถามมากมายเกิดขึ้น เช่น บริการนี้จะมีได้นานแค่ไหน เสียงที่ดังมากเมื่อโดรนบินผ่าน หรือ จะหย่อนสินค้า ซึ่งเสียงเหล่านี้เป็นการรบกวนอย่างมาก คำถามในการให้บริการว่าถ้าฝนตกจะให้บริการได้หรือไม่ โดรนมีร่มชูชีพไหม กรณีฉุกเฉิน การจราจรทางอากาศจะต้องมีการบริหารจัดการยังไง
ส่วนคนที่ใช้บริการรับส่งสินค้าของ Wing ก็ชมกันว่าสะดวกไม่ต้องวุ่นวายกับการขับรถไปที่ร้านกาแฟ อยากสั่กาแฟดี ดี ตอนเช้า กาแฟก็ลอยมาส่งถึงบ้าน ภายในเวลา 10 นาทีก็ได้ทานกาแฟแล้ว
Wing ดูเหมือนจะส่งเสริมการจัดส่งอาหาร ซึ่งเป็นสิ่งที่คนต้องการบ่อย แต่อีกแนวทางถ้าคุณเพียงสั่งให้อาหารหลายอย่าง อาจจะต้องใช้โดรนหลายตัวเพื่อส่งอาหารให้เพียงพอ และในชานเมืองที่ทำให้เกิดการแข่งขันโกับผู้ที่ส่งของด้วยรถ การส่งมอบจะประสิทธิภาพมากขึ้น (และในอนาคตอันใกล้จะมี ความหลากหลายของ หุ่นยนต์ทางเท้า และยานพาหนะของตนเองเช่นกัน) Wing เสนอให้ส่งมอบสิ่งต่าง ๆ ภายใน 10 นาที แต่เมื่อเทียบกับส่งของโดยรถยนต์เวลา 20 หรือ 30 นาที นั่นก็เพียงพอที่จะทำให้การบริการ
การตอบคำถามของ Wing ต่อปัญหาเสียงรบกวน (เมื่อWall Street Journalถามพวกเขาเกี่ยวกับเรื่องนี้ในเดือนมกราคม) คือ:“ มันเป็นเสียงใหม่ที่หูของมนุษย์ไม่เคยได้ยินเมื่อมาถึงจุดนี้” โดยทั่วไปแล้ว บริษัท กำลังจัดการปัญหาด้วยการพูดว่า คุณจะชินกับมันในที่สุด” Wing กล่าวว่ามันทำงานบนโดรนที่เงียบกว่า แต่ก็ยังคงเป็นที่เห็นได้ว่าการปรับปรุงเป็นไปได้มากแค่ไหน
โดรนในประเทศ
ส่วนปัญหาของโดรนในประเทศไทยมีมากเช่นกันเพราะเรามีกฏหมาย ห้ามไม่ให้โดรนขึ้นบินโดยไม่ได้รับอณุญาตเหมือกัน และเมื่อไม่นานที่ผ่านมา ช่างภาพที่ใช้โดรนโดยที่ไม่ไปขึ้นทะเบียน และห้ามบินสูงเกิน 90 เมตร ก็ออกมา บนและเขียนเล่าเหตุการของการเสียค่าปรับในการบินโดรนโดยไม่ได้ขึ้นทะเบียนว่า เขาเองนั้นถูกแจ้งความ โดยมีหลักฐานการแชรภาพในเฟสบุคมาประกอบ
ส่วนคนที่เคยขึ้นทะเบียนแล้วก็มีมาเล่าให้ฟังอีกว่า เมื่อมีคนแอบบินโดรนในบริเวณใกล้เคียงเขามักจะถูกตำรวจเรียกเข้าไปสอบถามว่าได้ทำการบินหรือไปในเวลาดังกล่าว
เนื้อหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการบินโดรน https://www.dotlife.store/blog/uav_authorization/
แหล่งที่มาของข่าว https://spectrum.ieee.org/automaton/robotics/drones/wing-officially-launches-australian-drone-delivery-service
วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2562
วันพุธที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2562
STEM Education ความมั่นใจทั้งในประเทศและต่างประเทศ
สร้างความแปลกใจเมื่อหลายๆคนเห็นข่าวญี่ปุ่นเพิ่มหลักสูตรการเขียนโปรแกรมทั้งแต่ ป 5 ก็เพราะมีรายงานว่า ปี 2020 ญี่ปุ่นจะขาดแคลนแรงงานด้าน IT ถึง 290,000 ตำแหน่ง หลายคนก็ตื่นเต้นกับข่าวนี้ แต่จริง ๆ แล้ว ไม่ใช่แค่ IT เท่านั้นที่ขาดแคลน และ ไม่ แค่ญี่ปุ่นเท่านั้น ประเทศไทย เมื่อ ปีที่แล้ว บริษัทรับสมัครงานออนไลน์ jobthai ก็เปิดเผยตัวเลขว่ามีตำแหน่งงานด้านไอทีที่ต้องการถึง 4000 ตำแหน่ง
ไม่เพียงแต่ตลาดแรงงานที่คาดแคลนในสาย IT แต่ในแวดวง วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี ต่างก็ขาดแคลน และ คาดการณ์กันว่า เศรฐกิจยุคใหม่ จะขับเคลื่อนด้วย สหวิทยาการทั้ง 4 สาขานี้ ดังนั้น ในบางประเทศเขาจะให้นักเรียนแยกสาขา ออกไปเป็นสาขาที่เรียกว่า STEM (Science Technology Engineering Math )คล้าย ๆกับที่ สมัยก่อน พอเข้ามัธยมต้น ก็จะจัดกลุ่มเรียนตามที่ ถนัด เช่น สายวิทย์ สายศิลป์ สายภาษา ส่วนปัจจุบันในบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา จะมีสาขาที่เรียกว่า STEM และโรงเรียนบางแห่ง ก็แยก สาขาขึ้นมาใหม่เรียกว่า วิทยาการหุ่นยนต์
การขับเคลื่อนเศรฐกิจที่บ้านเราเรียกว่า เศรฐกิจดิจิทัล มีความจำเป็นมากๆที่จะต้อง ฝึกบุคลากรรุ่นใหม่กันตั้งแต่ชั้น ประถมศึกษา โดยการบรรจุ STEM เข้าไปในหลักสูตร สำหรับประเทศไทย จะไปอยู่ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ วิทยาการคำนวณ ตั้แต่ปีการศึกษา 2561 ดังนั้น การที่เราได้เห็นข่าวเด็กประถมเรียนหุ่นยนต์ เรียนเขียนโปรแกรม ไม่ใช่เรื่องแปลกอีกต่อไป
มีงานวิจัยออกมาถึงปัญหาในการจัดการเรียนการสอน STEM อยู่ไม่น้อย เช่นตัวอย่างของเด็กผู้หญิงที่เรียนเขียนโปรแกรมได้ดี แต่ เวลามีการแข่งขั้นก็มักจะไม่ค่อยพบเด็กผู้หญิงลงแข่งขั้นในรายการต่าง ๆ เช่นการแข่งขันเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ หันมามองที่ประเทศไทยก็เป็นปัญหาเช่นเดียวกัน ในรายการแข่งขันหุ่นยนต์เดินตามเส้น ที่ผ่านมา ทีมที่เข้าแข่งขันส่วนใหญ่ก็จะเป็นเด็กผู้ชาย
จากการสังเกตุในการสอนเขียนโปรแกรมสำหรับเด็กที่ผ่านมากลุ่มของเด็กผู้หญิงจะสามารถเรียนรู้ได้เร็วกว่าผู้ชาย แต่เด็กผู้ชายจะสามารถคิดอะไรแผลงๆออกมาได้มากกว่า น่าจะเกิดจากความซนของเด็กผู้ชาย
ชนพื้นเมืองที่่มีความเชื่อเรื่องสัตว์ เช่นเผ่า Taboo ก็ทำให้ไม่มีนักเรียนที่จะสนใจเรียนวิทยาศาสตร์ คล้ายๆ กับเด็กไทยบางคนที่ กลัวบาปเรื่องการทรมารสัตว์ หรือ ก็จะไม่ชอบเรียนชีวะวิทยา
เทรนส่วนใหญ่ของหลายๆประเทศได้นำเอา STEM มาอยู่ในสายของการเรียน แบบผสมผสานเข้าไปเช่นเอาเทคโนโลยีมาแก้ปัญหาทางการคำนวณวิทยาสาสตร์ การพิสูจน์โจทย์ทางคณิตสาสตร์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ในแต่ละประเทศก็จะมีปัญหาคล้ายๆกันคือ เด็กเมื่อเข้าสู่ระดับมัธยม ความสนใจในวิชา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ จะลดลง เรื่องนี้เกิดขึ้นกับหลายประเทศ แม้แต่ประเทศที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ ในระดับแถวหน้าก็ตาม (ข้อมูลจาก TIMSS 2015 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับทัศนคติ ) TIMSS คือ Trends in the International Mathematics and Science Study ข้อมูลต่างๆ สามารถเข้าไปเลือกได้จากเว็บไซต์ https://nces.ed.gov ข้อมูลล่าสุดจะอยู่ที่ปี 2015 เขาจะทำการทดสอบทุกๆสี่ปี ส่วนประเทศไทย ปี 2015 ไม่ได้เข้าร่วม
ในประเทศอินโดนิเซีย STEM เป็นวิชาแยกออกมาจาก คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ซึ่งจริงๆ แล้วจะต้องบูรณาการเข้าด้วยกัน ซึ่งในอนาคตจะต้องมีการแก้ไขหลักสูตร แต่ รัฐบาลของอิโดนิเซีย ให้ความสำคัญกับการนำเอา STEM เข้าไปใช้ในโรงเรียนอาชีวศึกษา เพื่อต้องการพัฒนาทักษะให้ทันกับอุตสาหกรรม ยุคที่ 4
ในสหรัฐอเมริกา ภาคการศึกษาไม่มีข้อสงสัยเลยเพราะทุกส่วนที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ให้ความสำคัญมีความเห็นตรงกันว่าประเทศต้องไปในแนวทางของการนำเอา STEM education มาใช้ เมื่อปี 2010 สภาที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของประธานาธิบดี โอบาม่า คาดการณ์ว่าในอีกสิบปีข้างหน้าจะต้องผลิตบัณฑิต หนึ่งล้านคน ในสาขา STEM
สรุป
เราจะเห็นว่ามุมมองของรับบาลหลายๆประเทศสอดคล้องกันคือให้ความสำคัญอย่างมากต่อเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมต่างๆที่เปลี่ยนไป พบว่าการให้ความสำคัญต่อสาขาSTEM ต้องเริ่มจาก ประถมศึกษา ไปจนถึงระดับมหาวิทยาลัย และ สายอาชีพ
ข้อมูลบางส่วนจาก
International Journal of innovation in Science and Mathematics Education 2018
ไม่เพียงแต่ตลาดแรงงานที่คาดแคลนในสาย IT แต่ในแวดวง วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี ต่างก็ขาดแคลน และ คาดการณ์กันว่า เศรฐกิจยุคใหม่ จะขับเคลื่อนด้วย สหวิทยาการทั้ง 4 สาขานี้ ดังนั้น ในบางประเทศเขาจะให้นักเรียนแยกสาขา ออกไปเป็นสาขาที่เรียกว่า STEM (Science Technology Engineering Math )คล้าย ๆกับที่ สมัยก่อน พอเข้ามัธยมต้น ก็จะจัดกลุ่มเรียนตามที่ ถนัด เช่น สายวิทย์ สายศิลป์ สายภาษา ส่วนปัจจุบันในบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา จะมีสาขาที่เรียกว่า STEM และโรงเรียนบางแห่ง ก็แยก สาขาขึ้นมาใหม่เรียกว่า วิทยาการหุ่นยนต์
การขับเคลื่อนเศรฐกิจที่บ้านเราเรียกว่า เศรฐกิจดิจิทัล มีความจำเป็นมากๆที่จะต้อง ฝึกบุคลากรรุ่นใหม่กันตั้งแต่ชั้น ประถมศึกษา โดยการบรรจุ STEM เข้าไปในหลักสูตร สำหรับประเทศไทย จะไปอยู่ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ วิทยาการคำนวณ ตั้แต่ปีการศึกษา 2561 ดังนั้น การที่เราได้เห็นข่าวเด็กประถมเรียนหุ่นยนต์ เรียนเขียนโปรแกรม ไม่ใช่เรื่องแปลกอีกต่อไป
มีงานวิจัยออกมาถึงปัญหาในการจัดการเรียนการสอน STEM อยู่ไม่น้อย เช่นตัวอย่างของเด็กผู้หญิงที่เรียนเขียนโปรแกรมได้ดี แต่ เวลามีการแข่งขั้นก็มักจะไม่ค่อยพบเด็กผู้หญิงลงแข่งขั้นในรายการต่าง ๆ เช่นการแข่งขันเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ หันมามองที่ประเทศไทยก็เป็นปัญหาเช่นเดียวกัน ในรายการแข่งขันหุ่นยนต์เดินตามเส้น ที่ผ่านมา ทีมที่เข้าแข่งขันส่วนใหญ่ก็จะเป็นเด็กผู้ชาย
จากการสังเกตุในการสอนเขียนโปรแกรมสำหรับเด็กที่ผ่านมากลุ่มของเด็กผู้หญิงจะสามารถเรียนรู้ได้เร็วกว่าผู้ชาย แต่เด็กผู้ชายจะสามารถคิดอะไรแผลงๆออกมาได้มากกว่า น่าจะเกิดจากความซนของเด็กผู้ชาย
ชนพื้นเมืองที่่มีความเชื่อเรื่องสัตว์ เช่นเผ่า Taboo ก็ทำให้ไม่มีนักเรียนที่จะสนใจเรียนวิทยาศาสตร์ คล้ายๆ กับเด็กไทยบางคนที่ กลัวบาปเรื่องการทรมารสัตว์ หรือ ก็จะไม่ชอบเรียนชีวะวิทยา
เทรนส่วนใหญ่ของหลายๆประเทศได้นำเอา STEM มาอยู่ในสายของการเรียน แบบผสมผสานเข้าไปเช่นเอาเทคโนโลยีมาแก้ปัญหาทางการคำนวณวิทยาสาสตร์ การพิสูจน์โจทย์ทางคณิตสาสตร์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ในแต่ละประเทศก็จะมีปัญหาคล้ายๆกันคือ เด็กเมื่อเข้าสู่ระดับมัธยม ความสนใจในวิชา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ จะลดลง เรื่องนี้เกิดขึ้นกับหลายประเทศ แม้แต่ประเทศที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ ในระดับแถวหน้าก็ตาม (ข้อมูลจาก TIMSS 2015 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับทัศนคติ ) TIMSS คือ Trends in the International Mathematics and Science Study ข้อมูลต่างๆ สามารถเข้าไปเลือกได้จากเว็บไซต์ https://nces.ed.gov ข้อมูลล่าสุดจะอยู่ที่ปี 2015 เขาจะทำการทดสอบทุกๆสี่ปี ส่วนประเทศไทย ปี 2015 ไม่ได้เข้าร่วม
ในประเทศอินโดนิเซีย STEM เป็นวิชาแยกออกมาจาก คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ซึ่งจริงๆ แล้วจะต้องบูรณาการเข้าด้วยกัน ซึ่งในอนาคตจะต้องมีการแก้ไขหลักสูตร แต่ รัฐบาลของอิโดนิเซีย ให้ความสำคัญกับการนำเอา STEM เข้าไปใช้ในโรงเรียนอาชีวศึกษา เพื่อต้องการพัฒนาทักษะให้ทันกับอุตสาหกรรม ยุคที่ 4
ในสหรัฐอเมริกา ภาคการศึกษาไม่มีข้อสงสัยเลยเพราะทุกส่วนที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ให้ความสำคัญมีความเห็นตรงกันว่าประเทศต้องไปในแนวทางของการนำเอา STEM education มาใช้ เมื่อปี 2010 สภาที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของประธานาธิบดี โอบาม่า คาดการณ์ว่าในอีกสิบปีข้างหน้าจะต้องผลิตบัณฑิต หนึ่งล้านคน ในสาขา STEM
สรุป
เราจะเห็นว่ามุมมองของรับบาลหลายๆประเทศสอดคล้องกันคือให้ความสำคัญอย่างมากต่อเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมต่างๆที่เปลี่ยนไป พบว่าการให้ความสำคัญต่อสาขาSTEM ต้องเริ่มจาก ประถมศึกษา ไปจนถึงระดับมหาวิทยาลัย และ สายอาชีพ
ข้อมูลบางส่วนจาก
International Journal of innovation in Science and Mathematics Education 2018
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)