วันพุธที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2562

STEM Education ความมั่นใจทั้งในประเทศและต่างประเทศ

สร้างความแปลกใจเมื่อหลายๆคนเห็นข่าวญี่ปุ่นเพิ่มหลักสูตรการเขียนโปรแกรมทั้งแต่  ป 5 ก็เพราะมีรายงานว่า ปี 2020 ญี่ปุ่นจะขาดแคลนแรงงานด้าน IT ถึง 290,000 ตำแหน่ง หลายคนก็ตื่นเต้นกับข่าวนี้ แต่จริง ๆ แล้ว ไม่ใช่แค่ IT เท่านั้นที่ขาดแคลน และ ไม่ แค่ญี่ปุ่นเท่านั้น ประเทศไทย เมื่อ ปีที่แล้ว บริษัทรับสมัครงานออนไลน์ jobthai ก็เปิดเผยตัวเลขว่ามีตำแหน่งงานด้านไอทีที่ต้องการถึง 4000 ตำแหน่ง

ไม่เพียงแต่ตลาดแรงงานที่คาดแคลนในสาย IT แต่ในแวดวง วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี ต่างก็ขาดแคลน และ คาดการณ์กันว่า เศรฐกิจยุคใหม่ จะขับเคลื่อนด้วย สหวิทยาการทั้ง 4 สาขานี้ ดังนั้น ในบางประเทศเขาจะให้นักเรียนแยกสาขา ออกไปเป็นสาขาที่เรียกว่า STEM (Science Technology Engineering Math )คล้าย ๆกับที่ สมัยก่อน พอเข้ามัธยมต้น ก็จะจัดกลุ่มเรียนตามที่ ถนัด เช่น สายวิทย์ สายศิลป์ สายภาษา ส่วนปัจจุบันในบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา จะมีสาขาที่เรียกว่า STEM และโรงเรียนบางแห่ง ก็แยก สาขาขึ้นมาใหม่เรียกว่า วิทยาการหุ่นยนต์

การขับเคลื่อนเศรฐกิจที่บ้านเราเรียกว่า เศรฐกิจดิจิทัล มีความจำเป็นมากๆที่จะต้อง ฝึกบุคลากรรุ่นใหม่กันตั้งแต่ชั้น ประถมศึกษา โดยการบรรจุ STEM เข้าไปในหลักสูตร สำหรับประเทศไทย จะไปอยู่ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ วิทยาการคำนวณ ตั้แต่ปีการศึกษา 2561 ดังนั้น การที่เราได้เห็นข่าวเด็กประถมเรียนหุ่นยนต์ เรียนเขียนโปรแกรม ไม่ใช่เรื่องแปลกอีกต่อไป

มีงานวิจัยออกมาถึงปัญหาในการจัดการเรียนการสอน STEM อยู่ไม่น้อย เช่นตัวอย่างของเด็กผู้หญิงที่เรียนเขียนโปรแกรมได้ดี แต่ เวลามีการแข่งขั้นก็มักจะไม่ค่อยพบเด็กผู้หญิงลงแข่งขั้นในรายการต่าง ๆ เช่นการแข่งขันเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ หันมามองที่ประเทศไทยก็เป็นปัญหาเช่นเดียวกัน ในรายการแข่งขันหุ่นยนต์เดินตามเส้น ที่ผ่านมา ทีมที่เข้าแข่งขันส่วนใหญ่ก็จะเป็นเด็กผู้ชาย

จากการสังเกตุในการสอนเขียนโปรแกรมสำหรับเด็กที่ผ่านมากลุ่มของเด็กผู้หญิงจะสามารถเรียนรู้ได้เร็วกว่าผู้ชาย แต่เด็กผู้ชายจะสามารถคิดอะไรแผลงๆออกมาได้มากกว่า น่าจะเกิดจากความซนของเด็กผู้ชาย

ชนพื้นเมืองที่่มีความเชื่อเรื่องสัตว์ เช่นเผ่า Taboo ก็ทำให้ไม่มีนักเรียนที่จะสนใจเรียนวิทยาศาสตร์  คล้ายๆ กับเด็กไทยบางคนที่ กลัวบาปเรื่องการทรมารสัตว์ หรือ ก็จะไม่ชอบเรียนชีวะวิทยา

เทรนส่วนใหญ่ของหลายๆประเทศได้นำเอา STEM มาอยู่ในสายของการเรียน แบบผสมผสานเข้าไปเช่นเอาเทคโนโลยีมาแก้ปัญหาทางการคำนวณวิทยาสาสตร์ การพิสูจน์โจทย์ทางคณิตสาสตร์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์

ในแต่ละประเทศก็จะมีปัญหาคล้ายๆกันคือ เด็กเมื่อเข้าสู่ระดับมัธยม ความสนใจในวิชา คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์ จะลดลง เรื่องนี้เกิดขึ้นกับหลายประเทศ แม้แต่ประเทศที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ ในระดับแถวหน้าก็ตาม (ข้อมูลจาก TIMSS 2015 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับทัศนคติ ) TIMSS คือ Trends in the International Mathematics and Science Study ข้อมูลต่างๆ สามารถเข้าไปเลือกได้จากเว็บไซต์ https://nces.ed.gov ข้อมูลล่าสุดจะอยู่ที่ปี 2015 เขาจะทำการทดสอบทุกๆสี่ปี ส่วนประเทศไทย ปี 2015 ไม่ได้เข้าร่วม

ในประเทศอินโดนิเซีย STEM เป็นวิชาแยกออกมาจาก คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ซึ่งจริงๆ แล้วจะต้องบูรณาการเข้าด้วยกัน ซึ่งในอนาคตจะต้องมีการแก้ไขหลักสูตร  แต่ รัฐบาลของอิโดนิเซีย ให้ความสำคัญกับการนำเอา STEM เข้าไปใช้ในโรงเรียนอาชีวศึกษา เพื่อต้องการพัฒนาทักษะให้ทันกับอุตสาหกรรม ยุคที่ 4

ในสหรัฐอเมริกา ภาคการศึกษาไม่มีข้อสงสัยเลยเพราะทุกส่วนที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ให้ความสำคัญมีความเห็นตรงกันว่าประเทศต้องไปในแนวทางของการนำเอา STEM education มาใช้ เมื่อปี 2010 สภาที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของประธานาธิบดี โอบาม่า คาดการณ์ว่าในอีกสิบปีข้างหน้าจะต้องผลิตบัณฑิต หนึ่งล้านคน ในสาขา STEM

สรุป
เราจะเห็นว่ามุมมองของรับบาลหลายๆประเทศสอดคล้องกันคือให้ความสำคัญอย่างมากต่อเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมต่างๆที่เปลี่ยนไป พบว่าการให้ความสำคัญต่อสาขาSTEM ต้องเริ่มจาก ประถมศึกษา ไปจนถึงระดับมหาวิทยาลัย และ สายอาชีพ

ข้อมูลบางส่วนจาก
International Journal of innovation in Science and Mathematics Education 2018

ไม่มีความคิดเห็น: