วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

มาตรการต่าง ๆ การตืนตัวเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศ

ปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาประเทศไทยมีมาอย่างยาวนาน จนประเทศไทยติดอันดับ 3 ประเทศในอาเซี่ยน(Thaipublica 2018, https://thaipublica.org/2018/06/rate-unlicensed-software-thai/)ที่มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ถึงขั้น ต้องเป็นประเทศที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษ  (PWL) แต่ระยะหลังช่วงสองปีที่ผ่านมากระแสการเข้าตรวจค้นการละเมิดลิขสิทธิ์ ดูเหมือนว่าจะหายไป อาจจะเป็นเพราะเมื่อปี 2560 ไทยได้เลือนอันดับกลับมาเป็นประเทศ จับตามอง ( WL) อ้างอิงจากข่าว (โพสทูเดย์  : 2560,  https://www.posttoday.com/economy/530688) ปัจจุบันปัญหาในเรื่องนี้เป็นอย่างไรกันบ้าง ผมขอติดตามมาเขียนให้อ่านกัน ซึ่งการหาทางป้องกันแก้ไข เริ่มมีให้เห็นกันมาบ้างแล้ว ยกตัวอย่าง

การลดการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในระดับอุดมศึกษา 


หลายมหาวิทยาลัยใช้แอปพลิเคชั่นอัขราวิสุทธิ์ http://www.akarawisut.com/ เพื่อป้องกันการลอกผลงานทางวิชาการ ปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยเข้าร่วม 96 มหาวิทยาลัย (https://www.facebook.com/Akarawisut) อักขาวิสุทธิ์ ให้บริการฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย โดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ บริษัท อินสไปก้า จำกัด ทำให้ นักศึกษาหลายมหาวิทยาลัยตระหนักถึงเรื่องนี้

ภาครัฐโดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา


กรมทรัพย์สินทางปัญญา ประสานมือ ETDA ลงนาม MoU ด้านการบริหารจัดการสิทธิใน IP และการปกป้องคุ้มครองสิทธิใน IP บนอินเทอร์เน็ต ( ETDA : https://www.etda.or.th/content/intellectual-property-on-the-internet-mou.html )

หลังจากนั้นต่อมาเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562  (ไทยโพสต์ :  https://www.thaipost.net/main/detail/28759?fbclid=IwAR3-CWeGslulySKadhXKVPKFCUwRR0yp3t6LyFwhS5hJNzboS8AZX5x9yeo ) กรมทรัพย์สินทางปัญญา ที่ได้ทำความร่วมมือกับ ETDA กำลังพัฒนาระบบ แมงมุม ซึ่งคาดว่าจะเสร็จภายในปีนี้ ระบบนี้ เพื่อให้ความคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์ เพราะแม้ลิขสิทธิ์จะเกิดขึ้นตั้งแต่ที่ได้คิดค้นขึ้นมา แต่ถ้าผู้คิดค้นงานมายื่นแจ้งกับกรมฯ ก็จะทำให้มีหลักฐานว่าเป็นคนทำ จะเป็นประโยชน์กับผู้แจ้งเอง และต่อไปหากมีการละเมิดเกิดขึ้น ก็จะใช้เป็นหลักฐานได้

การรวมตัวกันของ BSA เพื่อรับแจ้งการใช้ซอฟต์แวร์

กรุงเทพฯ 22 กุมภาพันธ์ 2562 – โอเพนซอร์ทูเดย์ได้รับจดหมายข่าว จาก BSA เรื่องการเพิ่มโอกาสสำหรับผู้แจ้งเบาะแสการใช้งานซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย ประเภทซอฟต์แวร์มูลค่าสูงที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม  จะได้รับเงินรางวัลสูงขึ้นถึง 1 ล้านบาท


บีเอสเอ | พันธมิตรซอฟต์แวร์ จะเพิ่มเงินรางวัลถึง 1 ล้านบาทตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป สำหรับผู้แจ้งเบาะแสเกี่ยวกับองค์กรที่ใช้งานซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย หรือไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ โดยเน้นซอฟต์แวร์มูลค่าสูงที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ ซอฟต์แวร์ของ Altium, Autodesk,  Aveva,  Dassault Systémes, CNC MasterCAM, Siemens PLM และ Trimble (ซึ่งเป็นเจ้าของซอฟต์แวร์ Tekla) รวมถึงซอฟต์แวร์อื่นๆ


ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปแจ้งเบาะแสได้ทางเว็บไซต์ www.bsa.org โดยข้อมูลของผู้แจ้งเบาะแสจะถูกเก็บไว้เป็นความลับอย่างเคร่งครัด พร้อมรับสิทธิ์ได้รับเงินรางวัลสูงสุดถึง 1 ล้านบาท ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 1 มิถุนายน 2562 เท่านั้น

บีเอสเอได้ปรับกลยุทธ์โดยมุ่งเน้นไปยังกลุ่มซอฟต์แวร์มูลค่าสูงที่ใช้งานอุตสาหกรรม เนื่องจากพบว่ามีบริษัทเป็นจำนวนมากที่ใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย หรือไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ โดยส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมประเภทวิศวกรรม ออกแบบ การผลิต ยานยนต์ และอุตสาหกรรมการก่อสร้าง รวมถึงกลุ่มอื่นๆ


“ในขณะที่บางบริษัทปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดและลงทุนในซอฟต์แวร์ที่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิถูกต้องครบถ้วนและมีความปลอดภัย แต่หลายบริษัทกลับยังคงใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย หรือไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ” ดรุณ ซอว์เน่ย์ ผู้อำนวยการอาวุโส ภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก บีเอสเอ I พันธมิตรซอฟต์แวร์  กล่าว “สำหรับประเทศไทยและทั่วภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก เรามุ่งเน้นรณรงค์เพื่อการแข่งขันทางการค้าอย่างเสรีและเป็นธรรม เพื่อทำให้แน่ใจว่าบริษัทใช้ซอฟต์แวร์ที่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิถูกต้องครบถ้วน เงินรางวัลใหม่ที่เพิ่มมากขึ้นนี้ถือเป็นก้าวแรกสำหรับทิศทางนี้”


ท่านสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแคมเปญของบีเอสเอ พันธมิตรซอฟต์แวร์ ประเทศไทย ได้ที่หมวดการแจ้งเบาะแสซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ บนเว็บไซต์ www.bsa.org และเฟซบุ๊คเพจ “รู้ทันภัยไซเบอร์” รวมถึงทวิตเตอร์และอินสตาแกรม

โอเพนซอร์สทูเดย์จัดงาน Document Freedom Day

เราจะเห็นว่าหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้องตื่นตัวอันมากขึ้น และ ในฐานะของคนทำสื่อ ก็ขอร่วมส่งเสริมด้วยการจัดสัมมนากึ่งปฏิบัติการ ซึ่งงานนี้จัดขึ้นก่อนประเทศอื่น ห้าวันตามความสะดวกของสถานที่ งานจัดวันที่ 22 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2562 ตั้งแต่ 9.00-16.00 น. ณ ศูนย์จัดประชุมและสัมมนา เดอะ คอนเน็คชั่น
สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ลาดพร้าว ทางออก 4 

วัตถุประสงค์การจัดงาน
  • เพื่อส่งเสริมการใช้ซอฟต์แวร์มาตรฐานเปิดหรือ Open Document 
  • เพื่อส่งเสริมการใช้งานเอกสารที่เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส เช่น LibreOffice
  • เพื่อเพิ่มความตระหนักในการไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
จัดโดย
โอเพนซอร์สทูเดย์ 
ลงทะเบียนฟรี หรือ สนับสนุนการจัดงานได้ที่

หรือ
http://bit.ly/2StUEw0

วิทยากร
อ.ภาณุภณ พสุชัยสกุล บรรณาธิการบริหารโอเพนซิอร์สทูเดย์ และ นักจัดรายการวิทยุทาง FM101


วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ระวังข่าวปลอม

ช่วงนี้เรามักจะพบกับกระแสข่าวปลอมซึ่งน่าจะมีเยอะขึ้นเพราะเนื่องจากกำลังจะมีการเลือกตั้งเราก็มักจะเห็นเกมส์ต่าง ๆ ที่นำเสนอออกมาก ในอดีต พวกเขามักจะใช้อิเล็กทรอนิกส์เมล์ ในการส่งข่าวต่อๆกันไป แต่ในปัจจุบันเป็นยุคสังคมออนไลน์ รูปแบบของการปล่อยข่าวจึงเปลี่ยนไป

ยกตัวอย่างข่างการเคลือนไหวของรถถัง โดยมีภาพเป็นขบวนรถ ซึ่งถ้าติดตามข่าวก็จะพบว่าเป็นการย้ายยุทโธปกรณ์ ไปทำการฝึก ซึ่งก็มีข่าวจากวิทยุหลายคลื่นก็นำเสนอข่าวมาว่าอย่าตื่นเพราะเป็นการไปฝึก จากนั้น ข่าวปลอมก็สวมบทบาทว่ามีการปลดนายทหารออกมา

ซึ่งเราก็จะเห็นว่าข่าวจริงที่ออกมามักจะมีผู้ที่ต้องการหยิบข่าวนั้นออกมาบิดเบือนเสมอถ้าเป็นยุคนี้ก็จะออกแนวได้เปรียบเสียเปรียบกันทางการเมือง

ทำไมคนต้องแชร์ข่าว

มาสโลว์กล่าวว่า (Masloow's theoly) ความต้องการของมนุษย์ มีห้าขั้น
1. ความต้องการทางพื้นฐาน เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย
2. ความมันคง เช่น ความปลอดภัย
3. การยอมรับ เช่น การยอมรับ ทางสังคม ความรุ้สึกดี ความรัก
4. เกียรติยศ  ความมีชื่อเสียง
5. การประจักตน ความสำเร็จส่วนตัว

จากห้าขั้นที่กล่าวมาจะพบว่า ขั้นที่ 3 ของมนุษย์เป็นสิ่งที่หลายคนแชร์ก็คือความต้องการเป็นที่ยอมรับว่าฉันนั้นมีข่าวเร็ว ข่าววงใน รู้ก่อนใครๆ ก็เลยทำให้ไม่ทันได้ตรวจสอบความถูกต้อง

อย่าตกเป็นเหยื่อ

ข่าวปลอมจะสำเร็จไม่ได้ถ้าไม่มีผู้ใดให้ความร่วมมือ เพราะเป้าหมายของข่าวปลอมก็เพื่อทำลายคู่ต่อสู้โดยอาศัยการกระจายข่าวทาง Social network โดยใช้วิธีใช้ภาพสื่อความหมาย จะโดยการตัดต่อภาพ แล้วกระจายข่างออกไป โดยการทำงานเป็นทีม เมื่อมีคนแชร์กันมาก ๆ

จะหาแหล่งรวบรวมข่าวปลอม

หลายสำนักข่าวตอนนี้ก็มีการรวบรวมข่าวปลอมเอาไว้ให้คอยตรวจสอบเพียงแค่เข้าเว็บของสำนักข่าวผมยกตัวอย่าง เช่น

กระปุกดอทคอม
ไทยรัฐ
สนุกดอทคอม

หรือใช้ Google ค้นคำว่า ข่าวปลอมเราก็จะพบว่ามีหลายเว็บไซต์ทำการรวบรวมไว้เพื่อการตรวจสอบถึงแม้ว่าในเว็บไซต์ต่าง ๆยังไม่รวบรวมไว้ ก็ อดใจรอครับ หรือ ใช้วิธีค้นจากแหล่งที่มาโดยตรงเช่น เว็บของราชกิจจานุเบกษา http://www.ratchakitcha.soc.go.th  โดยตรง

การค้นหาข่าวที่เป็นโฆษณาจากเฟสบุค

เฟสบุคเปิดโอกาศให้เราทำการสืบค้นได้ว่า ข่าวไหนเป็นข่าวที่มาจากการโฆษณา โดยเรามักจะเห็นคำว่าได้รับการสนับสนุน แต่เฟสบุคเองก็มีเครื่องมือในการค้นหาคลังโฆษณาเช่นกัน ที่ https://www.facebook.com/ads/archive/

Google สร้างเครื่องมือรายงานการใช้เงิน

จากการเลือกตั้งล่าสุดของสหรัฐอเมริกา Google เองได้ทำการรวลรวมสถิติการใช้เงินในการโฆษณาหาเสียง โดยแบ่งเป็นรายรัฐ ผมอยากนำเสนอให้ Google ทำแบบนี้กับประเทศไทยด้วย โดยปัจจุบันหลายคนคิดว่าประเมินยากอย่างน้อยเราก็ยังเห็น ข้อมูลบางส่วนได้
https://transparencyreport.google.com/ 

ไม่ใช่แค่รายงานการใช้งบประมาณการโฆษณาอย่างเดียว ยังมีการนำเสนอข้อมูลที่ทางภาครัฐต้องการจะremove ออกจากการค้นหาอีกด้วย

วิธีสร้างความตระหนักในองค์กร

ปัจจุบันหลายหน่วยงานเริมเอาวิธีการอบรมเข้ามาใช้โดยวิธีการส่งข่าว ปลอมมาหลอกกันภายในให้พนักงานแล้ว ดูวาจะมีใครตกเป็นเหยือบ้าง เมื่อพบเหตุการณ์จากเมล์ล่อลวง และจากนั้นก็จัดอบรมสร้างความตระหนักในเรื่องนี้ อันนี้เป็นหนึงตัวอย่างที่ ภายในหน่วยงานใช้วิธีสร้างความตระหนักกันภายใน