ยกตัวอย่างข่างการเคลือนไหวของรถถัง โดยมีภาพเป็นขบวนรถ ซึ่งถ้าติดตามข่าวก็จะพบว่าเป็นการย้ายยุทโธปกรณ์ ไปทำการฝึก ซึ่งก็มีข่าวจากวิทยุหลายคลื่นก็นำเสนอข่าวมาว่าอย่าตื่นเพราะเป็นการไปฝึก จากนั้น ข่าวปลอมก็สวมบทบาทว่ามีการปลดนายทหารออกมา
ซึ่งเราก็จะเห็นว่าข่าวจริงที่ออกมามักจะมีผู้ที่ต้องการหยิบข่าวนั้นออกมาบิดเบือนเสมอถ้าเป็นยุคนี้ก็จะออกแนวได้เปรียบเสียเปรียบกันทางการเมือง
ทำไมคนต้องแชร์ข่าว
มาสโลว์กล่าวว่า (Masloow's theoly) ความต้องการของมนุษย์ มีห้าขั้น1. ความต้องการทางพื้นฐาน เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย
2. ความมันคง เช่น ความปลอดภัย
3. การยอมรับ เช่น การยอมรับ ทางสังคม ความรุ้สึกดี ความรัก
4. เกียรติยศ ความมีชื่อเสียง
5. การประจักตน ความสำเร็จส่วนตัว
จากห้าขั้นที่กล่าวมาจะพบว่า ขั้นที่ 3 ของมนุษย์เป็นสิ่งที่หลายคนแชร์ก็คือความต้องการเป็นที่ยอมรับว่าฉันนั้นมีข่าวเร็ว ข่าววงใน รู้ก่อนใครๆ ก็เลยทำให้ไม่ทันได้ตรวจสอบความถูกต้อง
อย่าตกเป็นเหยื่อ
ข่าวปลอมจะสำเร็จไม่ได้ถ้าไม่มีผู้ใดให้ความร่วมมือ เพราะเป้าหมายของข่าวปลอมก็เพื่อทำลายคู่ต่อสู้โดยอาศัยการกระจายข่าวทาง Social network โดยใช้วิธีใช้ภาพสื่อความหมาย จะโดยการตัดต่อภาพ แล้วกระจายข่างออกไป โดยการทำงานเป็นทีม เมื่อมีคนแชร์กันมาก ๆจะหาแหล่งรวบรวมข่าวปลอม
หลายสำนักข่าวตอนนี้ก็มีการรวบรวมข่าวปลอมเอาไว้ให้คอยตรวจสอบเพียงแค่เข้าเว็บของสำนักข่าวผมยกตัวอย่าง เช่นกระปุกดอทคอม
ไทยรัฐ
สนุกดอทคอม
หรือใช้ Google ค้นคำว่า ข่าวปลอมเราก็จะพบว่ามีหลายเว็บไซต์ทำการรวบรวมไว้เพื่อการตรวจสอบถึงแม้ว่าในเว็บไซต์ต่าง ๆยังไม่รวบรวมไว้ ก็ อดใจรอครับ หรือ ใช้วิธีค้นจากแหล่งที่มาโดยตรงเช่น เว็บของราชกิจจานุเบกษา http://www.ratchakitcha.soc.go.th โดยตรง
การค้นหาข่าวที่เป็นโฆษณาจากเฟสบุค
เฟสบุคเปิดโอกาศให้เราทำการสืบค้นได้ว่า ข่าวไหนเป็นข่าวที่มาจากการโฆษณา โดยเรามักจะเห็นคำว่าได้รับการสนับสนุน แต่เฟสบุคเองก็มีเครื่องมือในการค้นหาคลังโฆษณาเช่นกัน ที่ https://www.facebook.com/ads/archive/Google สร้างเครื่องมือรายงานการใช้เงิน
จากการเลือกตั้งล่าสุดของสหรัฐอเมริกา Google เองได้ทำการรวลรวมสถิติการใช้เงินในการโฆษณาหาเสียง โดยแบ่งเป็นรายรัฐ ผมอยากนำเสนอให้ Google ทำแบบนี้กับประเทศไทยด้วย โดยปัจจุบันหลายคนคิดว่าประเมินยากอย่างน้อยเราก็ยังเห็น ข้อมูลบางส่วนได้https://transparencyreport.google.com/
ไม่ใช่แค่รายงานการใช้งบประมาณการโฆษณาอย่างเดียว ยังมีการนำเสนอข้อมูลที่ทางภาครัฐต้องการจะremove ออกจากการค้นหาอีกด้วย
วิธีสร้างความตระหนักในองค์กร
ปัจจุบันหลายหน่วยงานเริมเอาวิธีการอบรมเข้ามาใช้โดยวิธีการส่งข่าว ปลอมมาหลอกกันภายในให้พนักงานแล้ว ดูวาจะมีใครตกเป็นเหยือบ้าง เมื่อพบเหตุการณ์จากเมล์ล่อลวง และจากนั้นก็จัดอบรมสร้างความตระหนักในเรื่องนี้ อันนี้เป็นหนึงตัวอย่างที่ ภายในหน่วยงานใช้วิธีสร้างความตระหนักกันภายใน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น