การลดการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในระดับอุดมศึกษา
หลายมหาวิทยาลัยใช้แอปพลิเคชั่นอัขราวิสุทธิ์ http://www.akarawisut.com/ เพื่อป้องกันการลอกผลงานทางวิชาการ ปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยเข้าร่วม 96 มหาวิทยาลัย (https://www.facebook.com/Akarawisut) อักขาวิสุทธิ์ ให้บริการฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย โดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ บริษัท อินสไปก้า จำกัด ทำให้ นักศึกษาหลายมหาวิทยาลัยตระหนักถึงเรื่องนี้
ภาครัฐโดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา
กรมทรัพย์สินทางปัญญา ประสานมือ ETDA ลงนาม MoU ด้านการบริหารจัดการสิทธิใน IP และการปกป้องคุ้มครองสิทธิใน IP บนอินเทอร์เน็ต ( ETDA : https://www.etda.or.th/content/intellectual-property-on-the-internet-mou.html )
หลังจากนั้นต่อมาเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 (ไทยโพสต์ : https://www.thaipost.net/main/detail/28759?fbclid=IwAR3-CWeGslulySKadhXKVPKFCUwRR0yp3t6LyFwhS5hJNzboS8AZX5x9yeo ) กรมทรัพย์สินทางปัญญา ที่ได้ทำความร่วมมือกับ ETDA กำลังพัฒนาระบบ แมงมุม ซึ่งคาดว่าจะเสร็จภายในปีนี้ ระบบนี้ เพื่อให้ความคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์ เพราะแม้ลิขสิทธิ์จะเกิดขึ้นตั้งแต่ที่ได้คิดค้นขึ้นมา แต่ถ้าผู้คิดค้นงานมายื่นแจ้งกับกรมฯ ก็จะทำให้มีหลักฐานว่าเป็นคนทำ จะเป็นประโยชน์กับผู้แจ้งเอง และต่อไปหากมีการละเมิดเกิดขึ้น ก็จะใช้เป็นหลักฐานได้
การรวมตัวกันของ BSA เพื่อรับแจ้งการใช้ซอฟต์แวร์
กรุงเทพฯ 22 กุมภาพันธ์ 2562 – โอเพนซอร์ทูเดย์ได้รับจดหมายข่าว จาก BSA เรื่องการเพิ่มโอกาสสำหรับผู้แจ้งเบาะแสการใช้งานซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย ประเภทซอฟต์แวร์มูลค่าสูงที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม จะได้รับเงินรางวัลสูงขึ้นถึง 1 ล้านบาท
บีเอสเอ | พันธมิตรซอฟต์แวร์ จะเพิ่มเงินรางวัลถึง 1 ล้านบาทตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป สำหรับผู้แจ้งเบาะแสเกี่ยวกับองค์กรที่ใช้งานซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย หรือไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ โดยเน้นซอฟต์แวร์มูลค่าสูงที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ ซอฟต์แวร์ของ Altium, Autodesk, Aveva, Dassault Systémes, CNC MasterCAM, Siemens PLM และ Trimble (ซึ่งเป็นเจ้าของซอฟต์แวร์ Tekla) รวมถึงซอฟต์แวร์อื่นๆ
ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปแจ้งเบาะแสได้ทางเว็บไซต์ www.bsa.org โดยข้อมูลของผู้แจ้งเบาะแสจะถูกเก็บไว้เป็นความลับอย่างเคร่งครัด พร้อมรับสิทธิ์ได้รับเงินรางวัลสูงสุดถึง 1 ล้านบาท ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 1 มิถุนายน 2562 เท่านั้น
บีเอสเอได้ปรับกลยุทธ์โดยมุ่งเน้นไปยังกลุ่มซอฟต์แวร์มูลค่าสูงที่ใช้งานอุตสาหกรรม เนื่องจากพบว่ามีบริษัทเป็นจำนวนมากที่ใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย หรือไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ โดยส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมประเภทวิศวกรรม ออกแบบ การผลิต ยานยนต์ และอุตสาหกรรมการก่อสร้าง รวมถึงกลุ่มอื่นๆ
“ในขณะที่บางบริษัทปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดและลงทุนในซอฟต์แวร์ที่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิถูกต้องครบถ้วนและมีความปลอดภัย แต่หลายบริษัทกลับยังคงใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย หรือไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ” ดรุณ ซอว์เน่ย์ ผู้อำนวยการอาวุโส ภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก บีเอสเอ I พันธมิตรซอฟต์แวร์ กล่าว “สำหรับประเทศไทยและทั่วภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก เรามุ่งเน้นรณรงค์เพื่อการแข่งขันทางการค้าอย่างเสรีและเป็นธรรม เพื่อทำให้แน่ใจว่าบริษัทใช้ซอฟต์แวร์ที่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิถูกต้องครบถ้วน เงินรางวัลใหม่ที่เพิ่มมากขึ้นนี้ถือเป็นก้าวแรกสำหรับทิศทางนี้”
ท่านสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแคมเปญของบีเอสเอ พันธมิตรซอฟต์แวร์ ประเทศไทย ได้ที่หมวดการแจ้งเบาะแสซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ บนเว็บไซต์ www.bsa.org และเฟซบุ๊คเพจ “รู้ทันภัยไซเบอร์” รวมถึงทวิตเตอร์และอินสตาแกรม
โอเพนซอร์สทูเดย์จัดงาน Document Freedom Day
เราจะเห็นว่าหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้องตื่นตัวอันมากขึ้น และ ในฐานะของคนทำสื่อ ก็ขอร่วมส่งเสริมด้วยการจัดสัมมนากึ่งปฏิบัติการ ซึ่งงานนี้จัดขึ้นก่อนประเทศอื่น ห้าวันตามความสะดวกของสถานที่ งานจัดวันที่ 22 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2562 ตั้งแต่ 9.00-16.00 น. ณ ศูนย์จัดประชุมและสัมมนา เดอะ คอนเน็คชั่น
สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ลาดพร้าว ทางออก 4
วัตถุประสงค์การจัดงาน
- เพื่อส่งเสริมการใช้ซอฟต์แวร์มาตรฐานเปิดหรือ Open Document
- เพื่อส่งเสริมการใช้งานเอกสารที่เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส เช่น LibreOffice
- เพื่อเพิ่มความตระหนักในการไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
จัดโดย
โอเพนซอร์สทูเดย์
ลงทะเบียนฟรี หรือ สนับสนุนการจัดงานได้ที่
วิทยากร
อ.ภาณุภณ พสุชัยสกุล บรรณาธิการบริหารโอเพนซิอร์สทูเดย์ และ นักจัดรายการวิทยุทาง FM101
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น