วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2564

มาตรฐานเปิด(Open Standard ) เพื่อเศรษฐกิจและสังคม

  บ่อยครั้งเรามักจะพบว่า การเปิดไฟล์เอกสาร ของผู้อื่นอาจจะมีการผิดเพี้ยนไปจากต้นฉบับ และหลายครั้งเมื่อเราเข้าเว็บไซต์ ภาษาไทยมักจะพบว่า ภาษาไทยแสดงผลไม่เหมือนกัน และอ่านไม่ออก เป็นตัวอักษรที่ อ่านไม่ได้ ซึ่งเราก็จะพบว่า ปัจจุบันปัญหาแบบนี้ลดน้อยลงไปมาก แต่ก็ยังคงมีให้เห็น ถ้าเราสังเกตให้ดีเราจะพบว่าเว็บไซต์ที่เป็นบริการของภาครัฐหรือบริการของเอกชนบางหน่วยงาน เขาก็จะระบุไว้ที่ด้านล่างว่าบริการนี้ใช้ได้ดีกับ internet explorer Version ต่างๆแบบนี้เป็นต้น


หลายปีที่ผ่านมาการยื่นภาษี ส่วนบุคคลก็มักจะพบปัญหาว่า ผู้ที่ใช้ระบบปฏิบัติการอื่นๆที่ไม่ใช่ Windows จะไม่สามารถยื่นภาษีออนไลน์ได้แต่ ปีนี้ กลับพบว่าเราสามารถที่จะทำการยื่นภาษีออนไลน์ ผ่านระบบปฏิบัติการ OS x ได้เรียบร้อยแล้ว


 อย่างไรก็ดีก็ยังมีบริการของรัฐ ที่ยังไม่รองรับกับความเป็นมาตรฐาน จำเป็นต้องใช้ ระบบปฏิบัติการ หรือมาตรฐานเดียวกันกับหน่วยงานของรัฐถึงจะสามารถใช้งานได้ปกติ  เช่นการสมัครสมาชิก ขอดูประกาศการประมูลงานภาครัฐของกรมบัญชีกลาง พบว่าจะไม่สามารถสมัครได้ถ้าไม่ใช้ ถ้าไม่ได้ใช้ IE(Internet Explorer) ตามที่กำหนดไว้ ก็จะไม่สามารถลงทะเบียนได้


ที่พูดมาทั้งหมดนี้ ก็หมายความว่า หลายปีที่ผ่านมา ภาครัฐพยายามรณรงค์ให้ทุกคนหันมาใช้มาตรฐานที่เป็นกลางไม่เอนเอียงไปทางใดทางหนึ่ง เพื่อตอบสนองการใช้งานให้ครอบคลุมมากที่สุด ดังนั้นคำว่ามาตรฐานเปิดจึงเกิดขึ้น 


ปัญหาแบบนี้ไม่ใช่เกิดกับประเทศไทยเท่านั้น ยังเกิดกับอีกหลายๆประเทศเช่นประเทศในแถบยุโรป ก็มีการรณรงค์กันเพื่อให้ใช้มาตรฐานเปิด หรือที่เรียกว่า Open Standard ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือการเข้าถึงข้อมูล 


ความคืบหน้าในเรื่องนี้ ปัจจุบัน มาตรฐานของ รหัสภาษา ต่างๆทั่วโลกกำลังอยู่ในมาตรฐานเดียวกันหมดแล้ว ไม่ได้แยกว่าเป็นมาตรฐานอุตสาหกรรมของประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่เป็นมาตรฐานเปิดที่ทุกประเทศ นำไปใช้ ได้ เราจึงพบว่าภาษาไทยที่อยู่ตามเว็บไซต์ กับภาษาที่อยู่ในระบบฐานข้อมูลจึงมักจะ มีปัญหาน้อยลง หากใครยังใช้มาตรฐานเก่า การปรับปรุง ข้อมูลแลกเปลี่ยนข้อมูลกับ ผู้อื่น ก็จะสร้างปัญหาทันที ยกตัวอย่างเช่น การฟีดข่าวของ กรมบัญชีกลางยังคงใช้ภาษาไทยในมาตรฐานเดิมจึงทำให้ดึงข่าว ไปแสดงผล ตามเว็บไซต์ มีปัญหากับภาษาไทย ต้องมีการ เปลี่ยนแปลงรหัสข้อมูล เสียก่อนถึงจะนำมาใช้ได้ 


ปัจจุบันการรณรงค์ให้ภาครัฐนั้นทำเว็บไซต์ เพื่อให้รองรับกับการใช้งานของผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เริ่มมีมากขึ้นและ แต่ก็ยังพบว่า การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เข้าถึงข้อมูลตามเว็บไซต์ยังคงมีปัญหาอยู่มากเนื่องจากความไม่เข้าใจของผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่ควบคุมงานหรือหัวหน้าส่วนราชการ ยังคงมีความไม่เข้าใจ ต่อเรื่องนี้


ความคืบหน้าในเรื่องของการแลกเปลี่ยนเอกสาร รวมกัน ปัจจุบันถือว่า ทั่วโลกนั้นทำได้ดีมาก เราสามารถแลกเปลี่ยนเอกสารระหว่างผู้ที่ใช้ Microsoft Office กับผู้ที่ใช้ชุดออฟฟิศอื่นๆที่แตกต่าง สามารถแลกเปลี่ยนเอกสารกันไปมาได้โดยไม่ต้อง ยึดติดว่าแต่ละคนนั้นใช้ โปรแกรมใดสร้างเอกสารขึ้นมา ซึ่งเราเรียกมาตรฐานนี้ว่า Open Document format 

แต่ด้วยการที่ใช้มาตรฐานแบบเปิดก็จะทำให้ผู้ใช้งานไม่ต้องเรียนรู้วิธีการใหม่ทั้งหมด ยกตัวอย่างการเขียนสุตรคำนวณในตารางผู้ใช้งานสามารถย้ายไปใช้งานกับแอปพลิเคชั่นอื่นได้โดยไม่ต้องเรียนรู้วิธีการใหม่

ดังนั้นจึงเป็นที่มาของวันนี้ ที่กำลังพูดถึงเรื่องของ Document Freedom Day

ซึ่งเป็นวันที่เราสร้างความตระหนัก ในการหันมาใช้มาตรฐานเปิด ซึ่งจะมีการเฉลิมฉลองในวันพุธสุดท้ายของเดือนมีนาคมของทุกปี โดยผู้ที่ กำหนดวันนี้ขึ้นมาก็คือ ดิจิตอล Freedom Foundation ซึ่งเริ่มรณรงค์เรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 2016 

ถึงแม้ว่าจะมีการรณรงค์เรื่องนี้กันมาหลายปี แต่กลับพบว่าปัจจุบัน การผูกขาด ของมาตรฐาน เอกสารออนไลน์ก็เริ่มปรากฏเห็นได้ชัดขึ้นยกตัวอย่างเช่น หากวันนี้เราสร้างเอกสารในรูปแบบออนไลน์ ผู้ที่จะเปิดเอกสารบนออนไลน์ของเราและทำงานร่วมกันได้นั้นก็จะต้องใช้ บัญชีหรือ Account ในรูปแบบเดียวกัน เช่นเราอยากจะใช้ Office 365 ผู้ที่ทำงานร่วมกับเราก็ต้องใช้ Office 365 ด้วย หรือบางคนใช้เอกสารออนไลน์ของ Google คนที่จะเข้ามาร่วมแก้ไขเอกสาร กับเราได้นั้นก็ต้องใช้ Google ด้วยเช่นเดียวกัน แต่สิ่งหนึ่งที่จะต้องแก้ปัญหาเรื่องนี้ก็คือทั้ง 2 platform นั้นจะต้องดาวน์โหลดเอกสารลงมาและเปิดได้โดยไม่ผิดเพี้ยน

เราจึงพบว่าปัจจุบัน ภาครัฐเองมีการ เช่าใช้ ระบบเอกสารออนไลน์ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงต้องมีการสำรองงบประมาณเพื่อการเช่าใช้ไว้ทุกปี เราสามารถสืบค้นการใช่งบประมาณในส่วนนี้ ได้ที่เว็บไซต์ภาษีไปไหน หากใครสนใจก็ลองไปสืบค้นดูได้ว่างบประมาณในการเช่าใช้เอกสารออนไลน์นั้น แต่ละปีมีจำนวนเท่าไร


อ้างอิง

https://en.wikipedia.org/wiki/Open_standard




วันอังคารที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2564

ผลกระทบที่จะตามมา กับ การเก็บภาษี e-services

สัปดาห์นี้มีข่าวเรื่องของ การเก็บภาษี e-Service ซึ่งจะมีผลบังคับใช้เดือนกันยายน 2564 ซึ่งกฏหมายฉบับนี้มีการแก้ไขเพิ่มเติมไปแล้วเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2564   ภาษี e-Service คือ วิธีการจัดเก็บ VAT จากผู้ให้บริการต่างประเทศ และแพลตฟอร์มต่างประเทศที่ให้บริการทาง Online แก่ผู้ใช้บริการในประเทศไทย ที่มีรายได้จากการให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี โดยให้อำนาจกรมสรรพากรเป็นผู้จัดเก็บ ในอัตรา 7% ต่อปี ซึ่งให้เสียภาษีจาก “ภาษีขาย” โดยไม่ให้นำภาษีซื้อมาหัก

โดยการแก้ไขเพิ่มเติม ได้นิยาม ศัพท์ คำว่าสินค้าเป็นดังนี้

สินค้าคือ "ทรัพย์สินที่มีรูปร่างและไม่มีรูปร่างที่อาจมีราคาและถือเอาได้ ไม่ว่าจะมีไว้เพื่อขาย เพื่อใช้ หรือเพื่อการใดๆ และให้หมายความรวมถึงสิ่งของทุกชนิดที่นำเข้า แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงทรัพย์สินที่ไม่มีรูปร่างที่ส่งมอบโดยผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือเครือข่ายทางอิเล็กทรอนิกส์อื่นใด"

และได้แยกออกเป็น “บริการทางอิเล็กทรอนิกส์” และ “อิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์ม” 

“บริการทางอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า บริการซึ่งรวมถึงทรัพย์สินที่ไม่มีรูปร่างที่ส่งมอบโดยผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือเครือข่ายทางอิเล็กทรอนิกส์อื่นใด ซึ่งลักษณะของบริการ เป็นไปโดยอัตโนมัติในสาระสำคัญ โดยบริการดังกล่าวไม่สามารถกระทำได้หากปราศจากเทคโนโลยีสารสนเทศ

“อิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์ม” หมายความว่า ตลาด ช่องทาง หรือกระบวนการอื่นใด ที่ผู้ให้บริการหลายรายใช้ในการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์แก่ผู้รับบริการ” 

ดังนั้นถ้าตีความออกมาแล้วบริการของ Google และ บริการ ของ Facebook ก็จะเข้าข่าย อิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์ม แต่ปัจจุบันบริการต่างๆ มีเยอะมาก เช่น Netflix, App Store ของ Apple, Microsoft Office365 Adobe Creative Clound,  Amazon Web Services

ปัจจุบันบริษัทเอกชนที่ใช้บริการ แพลตฟอร์มต่างๆ เหล่านี้จ่ายค่าบริการออกไปก็นำไปหักเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทได้ เพื่อนำไปบันทึกบัญชีปลายปีได้แค่นั้น แต่ไม่สามารถนำไปหักเป็นภาษีซื้อได้

คำถามตามมา กรณีบริการเหล่านั้นไม่ได้จดทะเบียนกับกรมธุรกิจการค้าไทย กรมสรรพากร จะตามเก็บภาษีได้อย่างไร ?

ข่าวจาก(กรุงเทพธุรกิจ) การบังคับใช้กฎหมาย ทำได้หรือไม่ อย่างไร​ 

1. สามารถใช้กลไกการตรวจสอบโดยการเชิญพบ หรือออกหมายไปยังผู้ประกอบการเพื่อตรวจสอบและประเมินเรียกเก็บภาษี 

2. การออกหมายเรียกพยานผู้เกี่ยวข้อง เช่น สถาบันการเงินต่าง ๆ เพื่อขอข้อมูลการทำธุรกรรมผ่านสถาบันการเงิน มาใช้ประกอบการตรวจสอบและประเมินเรียกเก็บภาษี 

3. การแสดงรายชื่อของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ทำให้ผู้ใช้บริการหรือผู้ประกอบการต่างประเทศตรวจสอบรายชื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ ซึ่งเป็นวิธีที่นานาประเทศใช้ ซึ่งจะก่อให้เกิดมาตรการลงโทษทางสังคม (Social Sanction) แก่ผู้ประกอบการที่ไม่ยอมจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

สุดท้ายภาระภาษีก็ตกอยู่กับผู้ใช้บริการ เราก็มาดูกันหลังจากนี้ว่าจะมีบริการใดผลักภาระภาษีมาให้ผู้ใช้บริการบ้าง

มาดูรายได้ย้อนหลังของ Facebook และ Google กันครับว่าเป็นอย่างไร

และรายได้ของ Facebook ในประเทศไทย

จะสังเกตว่า Facebook รายได้ลดลงทุกปี แต่ในขณะที่ Google นั้นเพิ่มขึ้นทุกปี และบางปี Google ก็มาจัดงานให้ความรู้ ทั้งฝั่งนักพัฒนาแอปฯ และฝั่ง SMEs ที่ซื้อโฆษณา

สำหรับการซื้อสิ้นค้าจากต่างประเทศนั้นเป็นที่รู้กันว่า กรมศุลกากร จะเป็นผู้เก็บภาษีจากผู้ซื้อ ไม่ว่าจะซื้อมาขายหรือซื้อมาใช้งานเองก็ตาม กรณีนี้ยังไม่ได้มี การเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด
แต่จาก ข่าว(ThaiPBS)เมื่อวันที่ 20 ที่ผ่านมา ผู้ใช้ทวิตเตอร์ทวีตข้อความวิพากษ์วิจารณ์การประเมินภาษีจากการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศและส่งผ่านไปรษณีย์จนทำให้เกิดแฮชแท็กติดเทรนด์ทวิตเตอร์ในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา โดยส่วนใหญ่ระบุว่า กรมศุลกากร ประเมินภาระภาษีและค่าปรับสูงเกินไป และบางส่วนพบปัญหาพัสดุถูกเปิด ทั้งยังมีสิ่งของสูญหาย 

(ข่าวจาก ThaiPBS)ล่าสุด รายงานจากกรมศุลกากร ระบุว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะมีเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรฉกฉวยสิ่งของจากกล่องพัสดุ เนื่องจากในกระบวนการเปิดตรวจพัสดุจากต่างประเทศ มีเพียงร้อยละ 1 ของจำนวนพัสดุทั้งหมด และหากจำเป็นต้องเปิดกล่องจะมีเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ร่วมเป็นพยาน และบริเวณเปิดกล่องพัสดุ ยังติดตั้งกล้องซีซีทีวีทำงานตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้

เรื่องนี้ก็เคยเป็นปัญหากับผมเองเช่นกันเจอประเมินภาษีเกินกว่าราคาที่สั่งซื้อมา ทั้งๆ ที่เป็นสินค้าที่ต้อง นำมาประกอบเอง ผมเคยซื้อ meccanoid robot เป็นสินค้าที่จะมาใช้ประกอบการเรียนการสอน STEM สอนเขียนโปรแกรมควบคุม กับเจอภาษีไป มากกว่าราคาสินค้า หากต้องการที่จะให้ทบทวนก็จะยังไม่ให้นำของออกมา จนกว่าเรื่องทบทวนจะแล้วเสร็จซึ่งก็ต้องใช้เวลาอีกหลายสัปดาห์

อ้างอิง 
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/922292
https://news.thaipbs.or.th/content/302609

วันอังคารที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2564

จับกระแส คุณสมบัติของรัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

 หลังจากที่ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมว่างลง จึงเป็นที่จับตาว่าใครจะมาดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการ กระทรวง ก่อนอื่นเราก็มาดูก่อนว่า ภาระกิจของกระทรวงคืออะไร ถ้าอ่านจากชื่อแล้วก็คือ เพื่อที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมด้วยดิจิทัล


หากรัฐบาลยุคนี้จะต้องยึดโยงยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่ประกอบไปด้วย 6 ด้าน

ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านความมั่นคง

ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน

ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์

ยุทธศาสตร์ชาติ การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม

ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ

มาดูทีละด้านที่ผ่านมา 

ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านความมั่นคง ที่ผ่านมาผมให้สอบตกในเรื่องของ การรักษาความสงบภายในประเทศ เพราะปัจจุบันการใช้เทคโนโลยีสร้างความแตกแยกยังคงมีอยู่

การป้องกันและการแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง ที่ผ่านมานโยบายในด้านนี้จะเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ด้วยการปิดเว็บ แต่ในเรื่องของภัยคุกคามทางดิจิทัลที่เกิดใหม่ ที่ใกล้ตัวประชาชน อย่างเช่น แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ปราบปรามได้น้อยมาก

สอบผ่านผลงานที่ออกมาอย่างกฏหมาย คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การปิดเว็บ การปิดกลุ่ม และ การควบรวม บริษัท CAT กับ TOT มาเป็น NT 

ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ในด้านนี้เราจะเห็นการส่งเสริม Tech Startup เกิดขึ้นมากมายก็ถือว่าอยู่ในยุทธศาสตร์หัวข้อพัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานผู้ประกอบการยุคใหม่ แต่พอประสบกับปัญหา Corona Virus กลับไม่มีกลไกในการเยียวยาอาชีพโปรแกรมเมอร์ แต่กลับบอกว่าเป็นอาชีพที่ไม่มีความเสี่ยง การเข้าถึงแหล่งเงินกู้หรือ Soft loan ที่ภาครัฐออกมาปรากฏว่าทั้ง SME และ Startup ไม่ผ่านเกณฑ์หรือพบกับคำตอบที่ว่าวงเงินเต็ม

ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีความชัดเจนในเรื่องของ อุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับกระทรวงนี้โดยตรง เช่น บริการดิจิทัล ข้อมูล และปัญญาประดิษฐ์ เกษตรอัจฉริยะ อุปสรรคสำคัญของประเทศคือขาดบุคลากร ขาดการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งเรื่องนี้ภาครัฐจะช่วยได้ อุปสรรคทางกฏหมาย กฏหมายบางฉบับใช้มาแล้ว 40 ปี ระบบที่ยังยึดติดกับเอกสาร และ ระบบการประเมินภาษีจากการนำเข้าสินค้าที่สูงเกินกว่าราคาสินค้า หลายคนกล่าวว่า Startup ไทย ไม่สวยใส เหมือน ซีรีส์เกาหลี

ความสามารถในการแข่งขั้น ที่ผ่านมารัฐสอบตกเรื่องนี้ การส่งเสริมไม่รวดเร็วพอ กฏหมายชาวต่างชาติเข้ามาถือหุ้นไทยก็มีการจำกัดห้ามเกิน 49% คนไทยต้องถือหุ้น 51% เรื่องนี้ทำให้การเข้ามาลงทุนกับ Start up ไม่เป็นที่จูงใจ บางบริการภาครัฐก็แข่งขันกับภาคเอกชน การเข้าถึงการส่งเสริมภาครัฐก็กระจุกตัวอยู่กับกลุ่มคนไม่กี่กลุ่ม 

ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ เรื่องนี้ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงดิจิทัล เพราะบุคคลกรด้านดิจิทัล ของเราขาดแคลนแต่กลับพบว่านโยบายบางกระทรวงไม่ส่งเสริมให้ราชการฝึกอบรมกับเอกชน ถึงให้มาก็เบิกค่าอบรมได้น้อยมากและเขียนกฏระเบียบไว้ใน รพบ. เบิกจ่ายที่ใช้มาแล้วยี่สิบกว่าปี ไม่สอดคล้องกับสังคมและเศรษฐกิจ เช่นค่าฝึกอบรมกับเอกชนเบิกได้วันละ 600 บาท แล้วจะพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างไร

ยุทธศาสตร์ชาติ การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม เรื่องของการกระจายศูนย์กลางความเจริญ ทางเศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยี เรื่องนี้ยังเป็นความพยายามที่รัฐกำลังดำเนินการ อย่างเช่น โครงการ EEC ที่จังหวัดระยอง แต่ในด้านการศึกษา การเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนชนบทห่างไกลยังขาดแคลนคอมพิวเตอร์ ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ อยู่อีกมาก คอมพิวเตอร์ที่ได้รับการจัดสรรจากรัฐก็เก่าจนใช้การไม่ได้ก็ยังมีให้เห็น ทั่วไป อินเตอร์เน็ตประชารัฐก็เข้าถึงแต่ไปหยุดอยู่ที่ อบต. ไม่ได้กระจายต่อลงไปในชุมชน หรือพัฒนาต่อในโครงการศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนก็จะเกิดประโยชน์กับประชาชน

ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีเราแทบไม่เห็นว่า กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมจะสัมผัสด้านนี้เลย เช่นการแก้ปัญหา ค่าฝุ่นละออง จากโรงงานอุตสาหกรรม จากรถยนต์ จากการเผาไร่ ไฟป่า

ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ  ในด้านนี้เราพอจะเห็นเรื่องของการสร้างองค์กรรัฐให้มีความโปร่งใส ด้วยการรณรงค์ให้ภาครัฐเปิดเผยข้อมูล การบริหารองค์กร เปิดเผยการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งภายนอกองค์กรและภายในองค์กร และเราก็จะเห็นว่าภาครัฐเริ่มมีโครงการ https://data.go.th เพื่อเปิดเผยข้อมูล การบริหาร การใช่งบประมาณ การบริหารบุคลากร ข้อมูลต่างๆของภาครัฐ และเราจะเห็นเว็บ http://govspending.data.go.th

และโครงการเชื่อมโยงข้อมูลกันระหว่าภาครัฐกันเองเพื่ออำนวยความสะดวกต่อประชาชน เช่นข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่ภาคธุรกิจสามารถเชื่อมต่อข้อมูลออกใบเสร็จหักภาษี ณ ที่จ่าย ได้ถูกต้อง การชำระภาษีนิติบุคคลที่ทำธุรกรรมออนไลน์ได้


ดังนั้นคุณสมบัติของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง

ต้องเป็นคนที่จะมองภาพรวมของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีเพื่อดำเนินนโยบายให้ตอบโจทย์ในการพัฒนาประเทศ ควรที่จะมีความรู้ความสามารถไม่ใช่แค่วุฒิการศึกษาจบตรง เพราะเรามักจะพบว่านโยบาย มักจะชงมาจากข้าราชการที่ส่งโครงการ ส่งงบประมาณไปให้พิจารณา ดังนั้นเราก็จะเห็นว่า ทั้งหกด้านของยุทธศาสตร์ชาติ จะไม่เข้าประเด็นเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าไม่มีใครชงเรื่องหรือ โครงการให้รัฐมนตรีก็ไม่ได้เกิดโครงการ ดังนั้นรัฐมนตรีต้อง เป็นผู้กำหนดนโยบายเป็นด้วย และ เสริมโครงการจากภาครัฐให้ครอบคุม และส่งเสริมเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง

ต้องเป็นรัฐมนตรีที่มองเห็นความสามารถของคนในประเทศว่าเราก็มีศักยภาพทางการแข่งขั้นเพียงแต่ขาดโอกาส มองเห็นปัญหาจากโครงสร้างราชการ ปัญหาจากกฏหมายที่ล้าหลัง รับฟังปัญหาเพื่อนำไปแก้ไข ไม่ใช้รับฟังปัญหาเพื่อให้เป็นกิจกรรมหนึ่งในการ ทำงานเท่านั้น แล้วทุกอย่างก็เงียบไปหลังจากการประชุมกับผู้ประกอบการจบลง

อย่าให้คำว่าการแก้กฏหมายเป็นเรื่องยากเพราะจริง ๆ แล้วเป็นเรื่องของสภา หากทำไม่ได้แล้วหน้าที่นี้จะเป็นของใคร

วันอังคารที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2564

Facebook ลบ 185 บัญชีไทยเกี่ยวข้องกับปฏิบัติการ IO ของกองทัพ

เฟสบุคทำการปิดบัญชีที่เกี่ยวข้องกับปฏิบัติการ IO บริษัท เฟซบุ๊ก อิงค์ แถลงวานนี้ (3 มี.ค.) ว่าบริษัทได้ ลบบัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊ก จำนวน 185 บัญชีที่มีความเกี่ยวข้องกับ ปฏิบัติการข้อมูลข่าวสาร หรือ ไอโอ (Information Operation: IO) ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่เฟซบุ๊กได้ดำเนินการปิดบัญชีผู้ใช้ของไทยที่มีความเกี่ยวข้องกับรัฐบาลไทย 

เฟสบุคกล่าวว่า เครือข่ายที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยถูกลบออก "พฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องที่ประสานงาน" ครั้งล่าสุดบนแพลตฟอร์มรวม 77 บัญชี 72 เพจ 18 กลุ่มบน Facebook และ 18 บัญชีบน Instagram Facebook 

ในเดือนตุลาคม Twitter Inc ได้ลบบัญชี 926 บัญชีที่ระบุว่ามีการเชื่อมโยงกับกองทัพไทยที่ส่งเสริมเนื้อหาที่สนับสนุนกองทัพและรัฐบาล กองทัพปฏิเสธว่าไม่ได้อยู่เบื้องหลังบัญชี

เหตุการณืครั้งนี้เฟสบุ๊กระบุว่า กลุ่มต่างๆที่ความเชื่อมโยงกัน และ Facebook ดำเนินการกับเครือข่ายโดยมีพฤติกรรมหลอกลวงไม่ใช่เนื้อหาที่โพสต์ซึ่งรวมถึงการสนับสนุนกองทัพและข้อความ เรื่องความรุนแรงและการวิพากษ์วิจารณ์กลุ่มก่อความไม่สงบในภาคใต้ของประเทศไทย


กรณีดังกล่าวเป็นเรื่องของการที่เฟสบุค ต้องการจะลดข้อกล่าวหาว่าอยู่เบื้องหลังความขัดแย้งของในแต่ละประเทศ และ ไม่ให้ลงโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับการเมือง

มื่อวันพุธที่ 3 ที่ผ่านมาเฟสบุค กล่าวว่าได้ลบเครือข่ายอื่น ๆ อีกสี่เครือข่ายจากอิหร่านรัสเซียและโมร็อกโกมีส่วนร่วมในพฤติกรรมที่ไม่น่าเชื่อถือดังกล่าว

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เฟสบุคได้ลบเครือข่ายมากกว่า 100 เครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องทั่วโลก

ดิจิทัลบาทมาแน่นอน

 

แบงก์ชาติไทยเตรียมพัฒนาเหรียญไทยบาทดิจิทัลเพื่อประชาชนภายในปีหน้า

วันนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เผยผลการพัฒนาโครงการนำร่องชำระเงินในภาคธุรกิจโดยใช้ “สกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง” ซึ่งสรุปได้ว่าเทคโนโลยีดังกล่าวสามารถเพิ่มประสิทธิภาพ (Efficiency) การชำระเงินให้แก่ภาคธุรกิจได้เป็นอย่างดี พร้อมเผยว่าในปี 2564 – 2565 ธนาคารแห่งประเทศไทยจะมุ่งเน้นการศึกษาและพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลสำหรับภาคประชาชน (Retail CBDC) โดย ธปท. จะเผยแพร่รายละเอียดผลการศึกษาสำหรับการออก Retail CBDC ในระยะต่อไป

โดยในระหว่างการให้สัมภาษณ์ นางสาววชิรา อารมย์ดี ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เปิดเผยถึง ผลการพัฒนาระบบต้นแบบสำหรับการชำระเงินในภาคธุรกิจโดยใช้สกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง (Central Bank Digital Currency: CBDC) ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่าง ธปท. เอสซีจี และบริษัทดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด โดยมีบริษัท ConsenSys เป็นผู้สนับสนุนด้านเทคโนโลยี ซึ่งผลการพัฒนาและทดสอบสรุปได้ว่าเทคโนโลยีดังกล่าวสามารถเพิ่มประสิทธิภาพ (Efficiency) การชำระเงินให้แก่ภาคธุรกิจได้เป็นอย่างดี 

สำหรับโครงการ CBDC ที่ใช้ทดสอบกับภาคธุรกิจนั้น ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปี 2563 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นของการชำระเงินในการรองรับการสร้างนวัตกรรมทางการเงินใหม่ ๆ ให้กับภาคธุรกิจ ทั้งนี้ การพัฒนาระบบต้นแบบดังกล่าวได้ใช้เทคโนโลยีประมวลผลแบบกระจายศูนย์ (Distributed Ledger Technology: DLT) เชื่อมต่อกับระบบบริหารการจัดซื้อ การวางบิล และการชำระเงิน ระหว่างเอสซีจีกับคู่ธุรกิจ (Suppliers)

ผลการทดสอบพบว่าผู้ใช้สามารถกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ใน CBDC (Programmable Money) ให้สอดรับกับกิจกรรมทางธุรกิจได้เป็นอย่างดี เช่น การกำหนดเงื่อนไขให้มีการชำระเงินตามข้อมูลที่ระบุไว้ในใบแจ้งหนี้ (Invoices) ในธุรกิจ Supply Chain Financing และการกำหนดเงื่อนไขการชำระเงินให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการเท่านั้น เพื่อลดปัญหาการบริหารเงินสด เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ระบบต้นแบบที่พัฒนาโดยการใช้ DLT ยังมีข้อจำกัดบางประการ เช่น ความสามารถในการรองรับปริมาณธุรกรรมจำนวนมาก และการปกปิดความเป็นส่วนตัวของธุรกรรมทางการเงิน ที่ยังคงต้องหาแนวทางจัดการทั้งในเชิงเทคโนโลยีหรือการออกแบบระบบต่อไป (สำหรับใครที่ต้องการทราบรายละเอียดเกี่ยวกับผลการทดสอบของโครงการฯ สามารถดาวน์โหลดข้อมูลได้ที่นี่)

จีนกำลังทดลองใช้ ดิจิทัลหยวน กับ 3 มณฑล

เงินหยวนอิเล็กทรอนิกส์ของจีนกำลังได้รับการทดสอบในเมืองต่างๆเช่นเซินเจิ้นเซี่ยงไฮ้และปักกิ่ง โดยการทดลองผ่าน WeChat กับผู้โชคดีที่สุ่มขึ้นมาจากการสลาก และจะได้ 200 หยวนไปใช้จ่าย การผลักดันเรื่องนี้ของรัฐบาลจีนเพื่อที่จะใช้ในการป้องกันการทุจริต  รัฐบาลจีนไม่ได้กล่าวว่าจะเปิดตัว eCNY อย่างเป็นทางการทั่วประเทศหรือไม่และเมื่อใด แต่เจ้าหน้าที่หลายคนได้กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมสำหรับนักท่องเที่ยวที่จะเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปี 2022 ในปักกิ่ง (อ้างอิงจาก NYTime)

ความแตกต่างระหว่าง DLT และ Blockchain 

ระบบเหรียญดิจิทัลเป็นระบบที่มีความปลอดภัย ค่าทำเนียมในการโอนเงินต่ำมาก และในการโอนข้ามประเทศจะใช้เวลาน้อยมาก  ประเทศไทยใช้ เทคโนโลยี DLT  (Distributed Ledger Technology)
ความแตกต่างระหว่าง DLT กับ "Blockchain" ประการแรกโดยทั่วไป blockchains เป็นแบบสาธารณะซึ่งหมายความว่าทุกคนสามารถดูประวัติการทำธุรกรรมของตนและทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการดำเนินการของตนได้โดยการเป็นโหนด

ลักษณะสาธารณะของบล็อกเชนซึ่งเป็นแบบ Decentralized โดยทั่วไปหมายถึงสามสิ่งที่เกี่ยวข้องกัน: 1) ทุกคนสามารถใช้บล็อกเชน 2) ทุกคนสามารถทำหน้าที่เป็นโหนดตรวจสอบความถูกต้องของบล็อกเชนและ 3) ทุกคนที่กลายเป็นโหนดสามารถทำหน้าที่เป็น เป็นส่วนหนึ่งของกลไกการกำกับดูแลของบล็อกเชน ในทางทฤษฎีสิ่งนี้ทำให้โครงสร้างที่กระจายอำนาจและเป็นประชาธิปไตย

ในทางตรงกันข้ามDLT  (Distributed Ledger Technology) บัญชีแยกประเภทแบบกระจายโดยทั่วไปจะไม่เปิดใช้งานคุณลักษณะสาธารณะใด ๆ หรือเกือบทั้งหมดเหล่านี้ มัน จำกัด ผู้ที่สามารถใช้และเข้าถึงได้ (ด้วยเหตุนี้คำศัพท์ที่ "ได้รับอนุญาต") และยัง จำกัด ผู้ที่สามารถดำเนินการเป็นโหนดได้ และในหลาย ๆ กรณีการตัดสินใจด้านการกำกับดูแลจะถูกปล่อยให้อยู่ที่ บริษัท หรือหน่วยงานส่วนกลางเพียงแห่งเดียว เมื่อเทียบกับอุดมคติของบล็อกเชนจะเป็นแบบสาธารณะและกระจายอำนาจ
ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมามีมากกว่า 60 ประเทศที่ทดลองใช้สกุลเงินดิจิทัลของประเทศเพิ่มขึ้น ได้แก่ 


สวีเดนซึ่งกำลังดำเนินการทดลองใช้โครนาดิจิทัล และบาฮามาส ได้สร้างสกุลเงินดิจิทัลคือ Sand Dollar สำหรับใช้งานกับภาคประชาชน




วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2564

ก.ล.ต ร่างกฏควบคุมนักลงทุนคริปโทเคอร์เรนซี กลายเป็นเรื่องร้อนในคลับเฮ้าส์

 หลังจากที่ ก.ล.ต. เเปิดรับฟังความเห็นเกี่ยวกับการกำหนดคุณสมบัติของผู้ลงทุนในคริปโทเคอร์เรนซี และกำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องทดสอบความรู้ (knowledge test) ของผู้ลงทุนก่อนการให้บริการ นักลงทุนต้องปีรายได้ 1 ล้านบาทต่อปี โดยไม่ร่วมคู่สมรส หรือ มีสินทรัพย์ 10 ล้่านบาทขึ้นไปที่ไม่ใช่ที่อยู่อาศัยปัจจุบัน หรือ เคยลงทุนในคริปโทเคอร์เรนซี มาแล้วสองปี


เนื้อหาและเอกสารแสดงความเห็นอ่านได้จากลิงค์ต่อไปนี้ คลิกเลย ซึ่งกฏระเบียบนี้จะใช้ประมาณไตรมาส 3 ของปี 2564 ประเด็นนี้ทำให้ นักลงทุน และ บริษัทผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล มีปัญหาอย่างแน่นอน หลายคนไม่เห็นด้วยก็เกิดการพูดคุยกันใน คลับเฮ้าส์

โดยรวมแล้วไม่เห็นด้วยกับข้อแรก คุณสมบัติของนักลงทุน 

คุณสมบัติด้านฐานะการเงิน ได้แก่
ก. มีรายได้ต่อปี ไม่นับรวมกับคู่สมรส ตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป หรือ
ข. มีสินทรัพย์สุทธิ(net worth) ตั้งแต่ 10 ล้านบาท โดยไม่นับรวมมูลค่า อสังหาริมทรัพย์ซึ่งใช้เป็นที่พักอาศัยประจำ หรือ
ค. มีมูลค่าการลงทุนในหลักทรัพย์ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือสินทรัพย์ดิจิทัล (port size) ตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป

เนื่องจากประเด็นนี้หลายคนมองว่า เป็นการกีดกันนักลงทุนหน้าใหม่ที่ต้องการจะลงทุน จะศึกษา พูดง่ายๆอยากทดลองเพราะ จะมีสักกี่คนที่มีรายได้เกิน 1 ล้านบาทต่อปี ก็ยอมรับว่าส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มวัยรุ่น นักคอมพิวเตอร์ มุมมองของพวกเขามองว่าข้อนี้ไม่น่าจะเอามาเป็นกฏข้อบังคับ เพราะ น่าจะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่จะสามารถเปิดบัญชีได้ คนมีเงินน้อยก็ทำการซื้อขายได้อยู่แล้ว 

คุณสมบัติด้านความรู้ โดยจะต้องเป็นผู้ลงทุนที่มีประสบการณ์ลงทุนในคริปโทเคอร์เรนซี หรือ มีประสบการณ์ลงทุนในหลักทรัพย์ หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า 2 ปีหรือ เป็น professional ตามที่สำนักงานกำหนด 

ในหัวข้อนี้คนส่วนใหญ่ก็ ไม่เห็นด้วย ก็คงไม่มีนักลงทุนหน้าใหม่เข้ามาปัจจุบัน คนส่วนใหญ่ที่แสดงความเห็นกันก็ไม่เคยลงทุนในหลักทรัพย์อื่นมาก่อน

สำหรับการสอบวัดความรู้ว่าจะต้องสอบผ่านร้อยละ 80 เพื่อให้มั้นใจว่ามีความรู้ ความเข้าใจ ความเสี่ยงอย่างแท้จริง ซึ่งในประเด็นนี้ หลายคนให้การยอมรับว่าเห็นด้วย

ผลการทบกับบริษัทโบรคเกอร์ และ บริษัทที่จะเข้ามาลงทุนเปิดเป็นโบรคเกอร์ จะได้รับผลกระทบโดยตรงเพราะจะมีคนปิดบัญชี และ เปิดใหม่น้อยลงอย่างแน่นอน และหากกฏข้อบังคับออกมาใหม่มาเรือยๆ แบบนี้ จะสร้างความไม่มั่นใจได้ และ นักลงทุนราย้อยก็จะแห่กันไปเปิดบัญชีที่ต่างประเทศ ซึ่งการเปิดบัญชีในต่างประเทศยังสามารถทำได้ทั่วโลก ยังไม่มีกฏข้อบังคับเหมือน การเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นข้ามประเทศ 

หากเป็นแบบนี้คนย้ายไปซื้อขายกับต่างประเทศ ภาษี จากการซื้อขายก็จะเก็บไม่ได้ด้วย

และนี้คือประเด็นร้อนตลอดหลายวันมานี้คนจับกลุ่มคุยกันและร้อนแรงมากก็เมือวันหยุดที่ผ่านมา


การปฏิบัติงานเรื่อง Data privacy ส่วนของภาครัฐ

ประเด็นร้อนที่นักคอมพิวเตอร์เป็นห่วง และเปิดห้องคลับเฮ้าส คุยกันก็เป็นเรื่อง data privacy ที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐ ที่ยังปฏิบัติไม่ถูกต้อง เช่นประเด็นการปิดประกาศต่างๆ ที่ไม่ปกปิดหมายเลขบัตรประชาชน ถึงจะต้องมีการเปิดแต่ควรจะมีการปิดตัวเลขส่วนกลางไว้เป็นต้น บางหน่วยงานเปิดเผยลงเว็บไซต์กันเลย

ความกังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวของข้อมูลในทางปฏิบัติ ที่อาจจะมีผลกระทบ
ต่อหารนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้งาน ต่อ เช่นข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าที่เกรงว่าจะมีการเอาชื่อผู้ถือหุ้นมาเปิดเผยซึ่งปัจจุบันเปิดเผยแต่กรรมการผู้มีอำนาจ 

ข้อมูลที่มีถูกแบ่งปันกับบุคคลที่สามหรือไม่ วิธีรวบรวมหรือจัดเก็บข้อมูลอย่างถูกกฎหมาย
การเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลโดยอำนาจของรัฐ

ในประเด็นของการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลโดยการใช้อำนาจของผู้มีอำนาจระดับสูงเช่นการขอรายงานการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของ องค์การบริหารส่วนตำบลที่เป็นผู้ประมวลผลข้อมูลเองโดยจะมีข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับที่ดินและทรัพย์สินสิ่งปลูกสร้างของประชาชนในตำบลแต่ ต้องส่งรายงานไปจังหวัดซึ่งทางปฏิบัติ อาจจะมีผู้มีอำนาจระดับสูงขอรายงานข้อมูลทั้งหมดซึ่งแทนที่จะเป็นรายงานประมาณการจัดเก็บรายได้ว่าจัดเก็บได้เท่าไหร่ ซึ่งปัญหาต่างๆ ที่น่ากังวลต่อการเก็บรักษาข้อมูล

ดังนั้นก่อนถึงเดือนพฤษภาที่จะบังคับใช้กฏหมาย อาจจะต้องมีคู่มือแนวทางปฏิบัติ ให้มากขึ้นและ สำนักงานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลต้องเร่งทำคู่มือแนวทางปฏิบัติให้ถูกต้อง เพราะสุ่มเสียงต่อการกระทำผิดกฏหมาย

ประเด็นนี้ให้ข้อสรุปง่าย ๆ จากในกลุ่มว่า ก่อนจะประกาศข้อมูลอะไรออกมา ให้นึกถึงใจเขาใจเราว่า หากเราเป็นผู้ประกาศข้อมูลจะต้องระวังเรื่องอะไร ถ้าเป็นข้อมูลของเรา ข้อมูลอะไรที่ไม่ควรเปิดเผย