วันอังคารที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2564

ดิจิทัลบาทมาแน่นอน

 

แบงก์ชาติไทยเตรียมพัฒนาเหรียญไทยบาทดิจิทัลเพื่อประชาชนภายในปีหน้า

วันนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เผยผลการพัฒนาโครงการนำร่องชำระเงินในภาคธุรกิจโดยใช้ “สกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง” ซึ่งสรุปได้ว่าเทคโนโลยีดังกล่าวสามารถเพิ่มประสิทธิภาพ (Efficiency) การชำระเงินให้แก่ภาคธุรกิจได้เป็นอย่างดี พร้อมเผยว่าในปี 2564 – 2565 ธนาคารแห่งประเทศไทยจะมุ่งเน้นการศึกษาและพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลสำหรับภาคประชาชน (Retail CBDC) โดย ธปท. จะเผยแพร่รายละเอียดผลการศึกษาสำหรับการออก Retail CBDC ในระยะต่อไป

โดยในระหว่างการให้สัมภาษณ์ นางสาววชิรา อารมย์ดี ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เปิดเผยถึง ผลการพัฒนาระบบต้นแบบสำหรับการชำระเงินในภาคธุรกิจโดยใช้สกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง (Central Bank Digital Currency: CBDC) ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่าง ธปท. เอสซีจี และบริษัทดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด โดยมีบริษัท ConsenSys เป็นผู้สนับสนุนด้านเทคโนโลยี ซึ่งผลการพัฒนาและทดสอบสรุปได้ว่าเทคโนโลยีดังกล่าวสามารถเพิ่มประสิทธิภาพ (Efficiency) การชำระเงินให้แก่ภาคธุรกิจได้เป็นอย่างดี 

สำหรับโครงการ CBDC ที่ใช้ทดสอบกับภาคธุรกิจนั้น ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปี 2563 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นของการชำระเงินในการรองรับการสร้างนวัตกรรมทางการเงินใหม่ ๆ ให้กับภาคธุรกิจ ทั้งนี้ การพัฒนาระบบต้นแบบดังกล่าวได้ใช้เทคโนโลยีประมวลผลแบบกระจายศูนย์ (Distributed Ledger Technology: DLT) เชื่อมต่อกับระบบบริหารการจัดซื้อ การวางบิล และการชำระเงิน ระหว่างเอสซีจีกับคู่ธุรกิจ (Suppliers)

ผลการทดสอบพบว่าผู้ใช้สามารถกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ใน CBDC (Programmable Money) ให้สอดรับกับกิจกรรมทางธุรกิจได้เป็นอย่างดี เช่น การกำหนดเงื่อนไขให้มีการชำระเงินตามข้อมูลที่ระบุไว้ในใบแจ้งหนี้ (Invoices) ในธุรกิจ Supply Chain Financing และการกำหนดเงื่อนไขการชำระเงินให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการเท่านั้น เพื่อลดปัญหาการบริหารเงินสด เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ระบบต้นแบบที่พัฒนาโดยการใช้ DLT ยังมีข้อจำกัดบางประการ เช่น ความสามารถในการรองรับปริมาณธุรกรรมจำนวนมาก และการปกปิดความเป็นส่วนตัวของธุรกรรมทางการเงิน ที่ยังคงต้องหาแนวทางจัดการทั้งในเชิงเทคโนโลยีหรือการออกแบบระบบต่อไป (สำหรับใครที่ต้องการทราบรายละเอียดเกี่ยวกับผลการทดสอบของโครงการฯ สามารถดาวน์โหลดข้อมูลได้ที่นี่)

จีนกำลังทดลองใช้ ดิจิทัลหยวน กับ 3 มณฑล

เงินหยวนอิเล็กทรอนิกส์ของจีนกำลังได้รับการทดสอบในเมืองต่างๆเช่นเซินเจิ้นเซี่ยงไฮ้และปักกิ่ง โดยการทดลองผ่าน WeChat กับผู้โชคดีที่สุ่มขึ้นมาจากการสลาก และจะได้ 200 หยวนไปใช้จ่าย การผลักดันเรื่องนี้ของรัฐบาลจีนเพื่อที่จะใช้ในการป้องกันการทุจริต  รัฐบาลจีนไม่ได้กล่าวว่าจะเปิดตัว eCNY อย่างเป็นทางการทั่วประเทศหรือไม่และเมื่อใด แต่เจ้าหน้าที่หลายคนได้กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมสำหรับนักท่องเที่ยวที่จะเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปี 2022 ในปักกิ่ง (อ้างอิงจาก NYTime)

ความแตกต่างระหว่าง DLT และ Blockchain 

ระบบเหรียญดิจิทัลเป็นระบบที่มีความปลอดภัย ค่าทำเนียมในการโอนเงินต่ำมาก และในการโอนข้ามประเทศจะใช้เวลาน้อยมาก  ประเทศไทยใช้ เทคโนโลยี DLT  (Distributed Ledger Technology)
ความแตกต่างระหว่าง DLT กับ "Blockchain" ประการแรกโดยทั่วไป blockchains เป็นแบบสาธารณะซึ่งหมายความว่าทุกคนสามารถดูประวัติการทำธุรกรรมของตนและทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการดำเนินการของตนได้โดยการเป็นโหนด

ลักษณะสาธารณะของบล็อกเชนซึ่งเป็นแบบ Decentralized โดยทั่วไปหมายถึงสามสิ่งที่เกี่ยวข้องกัน: 1) ทุกคนสามารถใช้บล็อกเชน 2) ทุกคนสามารถทำหน้าที่เป็นโหนดตรวจสอบความถูกต้องของบล็อกเชนและ 3) ทุกคนที่กลายเป็นโหนดสามารถทำหน้าที่เป็น เป็นส่วนหนึ่งของกลไกการกำกับดูแลของบล็อกเชน ในทางทฤษฎีสิ่งนี้ทำให้โครงสร้างที่กระจายอำนาจและเป็นประชาธิปไตย

ในทางตรงกันข้ามDLT  (Distributed Ledger Technology) บัญชีแยกประเภทแบบกระจายโดยทั่วไปจะไม่เปิดใช้งานคุณลักษณะสาธารณะใด ๆ หรือเกือบทั้งหมดเหล่านี้ มัน จำกัด ผู้ที่สามารถใช้และเข้าถึงได้ (ด้วยเหตุนี้คำศัพท์ที่ "ได้รับอนุญาต") และยัง จำกัด ผู้ที่สามารถดำเนินการเป็นโหนดได้ และในหลาย ๆ กรณีการตัดสินใจด้านการกำกับดูแลจะถูกปล่อยให้อยู่ที่ บริษัท หรือหน่วยงานส่วนกลางเพียงแห่งเดียว เมื่อเทียบกับอุดมคติของบล็อกเชนจะเป็นแบบสาธารณะและกระจายอำนาจ
ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมามีมากกว่า 60 ประเทศที่ทดลองใช้สกุลเงินดิจิทัลของประเทศเพิ่มขึ้น ได้แก่ 


สวีเดนซึ่งกำลังดำเนินการทดลองใช้โครนาดิจิทัล และบาฮามาส ได้สร้างสกุลเงินดิจิทัลคือ Sand Dollar สำหรับใช้งานกับภาคประชาชน




ไม่มีความคิดเห็น: