วันอังคารที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2564

ผลกระทบที่จะตามมา กับ การเก็บภาษี e-services

สัปดาห์นี้มีข่าวเรื่องของ การเก็บภาษี e-Service ซึ่งจะมีผลบังคับใช้เดือนกันยายน 2564 ซึ่งกฏหมายฉบับนี้มีการแก้ไขเพิ่มเติมไปแล้วเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2564   ภาษี e-Service คือ วิธีการจัดเก็บ VAT จากผู้ให้บริการต่างประเทศ และแพลตฟอร์มต่างประเทศที่ให้บริการทาง Online แก่ผู้ใช้บริการในประเทศไทย ที่มีรายได้จากการให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี โดยให้อำนาจกรมสรรพากรเป็นผู้จัดเก็บ ในอัตรา 7% ต่อปี ซึ่งให้เสียภาษีจาก “ภาษีขาย” โดยไม่ให้นำภาษีซื้อมาหัก

โดยการแก้ไขเพิ่มเติม ได้นิยาม ศัพท์ คำว่าสินค้าเป็นดังนี้

สินค้าคือ "ทรัพย์สินที่มีรูปร่างและไม่มีรูปร่างที่อาจมีราคาและถือเอาได้ ไม่ว่าจะมีไว้เพื่อขาย เพื่อใช้ หรือเพื่อการใดๆ และให้หมายความรวมถึงสิ่งของทุกชนิดที่นำเข้า แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงทรัพย์สินที่ไม่มีรูปร่างที่ส่งมอบโดยผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือเครือข่ายทางอิเล็กทรอนิกส์อื่นใด"

และได้แยกออกเป็น “บริการทางอิเล็กทรอนิกส์” และ “อิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์ม” 

“บริการทางอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า บริการซึ่งรวมถึงทรัพย์สินที่ไม่มีรูปร่างที่ส่งมอบโดยผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือเครือข่ายทางอิเล็กทรอนิกส์อื่นใด ซึ่งลักษณะของบริการ เป็นไปโดยอัตโนมัติในสาระสำคัญ โดยบริการดังกล่าวไม่สามารถกระทำได้หากปราศจากเทคโนโลยีสารสนเทศ

“อิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์ม” หมายความว่า ตลาด ช่องทาง หรือกระบวนการอื่นใด ที่ผู้ให้บริการหลายรายใช้ในการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์แก่ผู้รับบริการ” 

ดังนั้นถ้าตีความออกมาแล้วบริการของ Google และ บริการ ของ Facebook ก็จะเข้าข่าย อิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์ม แต่ปัจจุบันบริการต่างๆ มีเยอะมาก เช่น Netflix, App Store ของ Apple, Microsoft Office365 Adobe Creative Clound,  Amazon Web Services

ปัจจุบันบริษัทเอกชนที่ใช้บริการ แพลตฟอร์มต่างๆ เหล่านี้จ่ายค่าบริการออกไปก็นำไปหักเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทได้ เพื่อนำไปบันทึกบัญชีปลายปีได้แค่นั้น แต่ไม่สามารถนำไปหักเป็นภาษีซื้อได้

คำถามตามมา กรณีบริการเหล่านั้นไม่ได้จดทะเบียนกับกรมธุรกิจการค้าไทย กรมสรรพากร จะตามเก็บภาษีได้อย่างไร ?

ข่าวจาก(กรุงเทพธุรกิจ) การบังคับใช้กฎหมาย ทำได้หรือไม่ อย่างไร​ 

1. สามารถใช้กลไกการตรวจสอบโดยการเชิญพบ หรือออกหมายไปยังผู้ประกอบการเพื่อตรวจสอบและประเมินเรียกเก็บภาษี 

2. การออกหมายเรียกพยานผู้เกี่ยวข้อง เช่น สถาบันการเงินต่าง ๆ เพื่อขอข้อมูลการทำธุรกรรมผ่านสถาบันการเงิน มาใช้ประกอบการตรวจสอบและประเมินเรียกเก็บภาษี 

3. การแสดงรายชื่อของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ทำให้ผู้ใช้บริการหรือผู้ประกอบการต่างประเทศตรวจสอบรายชื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ ซึ่งเป็นวิธีที่นานาประเทศใช้ ซึ่งจะก่อให้เกิดมาตรการลงโทษทางสังคม (Social Sanction) แก่ผู้ประกอบการที่ไม่ยอมจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

สุดท้ายภาระภาษีก็ตกอยู่กับผู้ใช้บริการ เราก็มาดูกันหลังจากนี้ว่าจะมีบริการใดผลักภาระภาษีมาให้ผู้ใช้บริการบ้าง

มาดูรายได้ย้อนหลังของ Facebook และ Google กันครับว่าเป็นอย่างไร

และรายได้ของ Facebook ในประเทศไทย

จะสังเกตว่า Facebook รายได้ลดลงทุกปี แต่ในขณะที่ Google นั้นเพิ่มขึ้นทุกปี และบางปี Google ก็มาจัดงานให้ความรู้ ทั้งฝั่งนักพัฒนาแอปฯ และฝั่ง SMEs ที่ซื้อโฆษณา

สำหรับการซื้อสิ้นค้าจากต่างประเทศนั้นเป็นที่รู้กันว่า กรมศุลกากร จะเป็นผู้เก็บภาษีจากผู้ซื้อ ไม่ว่าจะซื้อมาขายหรือซื้อมาใช้งานเองก็ตาม กรณีนี้ยังไม่ได้มี การเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด
แต่จาก ข่าว(ThaiPBS)เมื่อวันที่ 20 ที่ผ่านมา ผู้ใช้ทวิตเตอร์ทวีตข้อความวิพากษ์วิจารณ์การประเมินภาษีจากการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศและส่งผ่านไปรษณีย์จนทำให้เกิดแฮชแท็กติดเทรนด์ทวิตเตอร์ในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา โดยส่วนใหญ่ระบุว่า กรมศุลกากร ประเมินภาระภาษีและค่าปรับสูงเกินไป และบางส่วนพบปัญหาพัสดุถูกเปิด ทั้งยังมีสิ่งของสูญหาย 

(ข่าวจาก ThaiPBS)ล่าสุด รายงานจากกรมศุลกากร ระบุว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะมีเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรฉกฉวยสิ่งของจากกล่องพัสดุ เนื่องจากในกระบวนการเปิดตรวจพัสดุจากต่างประเทศ มีเพียงร้อยละ 1 ของจำนวนพัสดุทั้งหมด และหากจำเป็นต้องเปิดกล่องจะมีเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ร่วมเป็นพยาน และบริเวณเปิดกล่องพัสดุ ยังติดตั้งกล้องซีซีทีวีทำงานตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้

เรื่องนี้ก็เคยเป็นปัญหากับผมเองเช่นกันเจอประเมินภาษีเกินกว่าราคาที่สั่งซื้อมา ทั้งๆ ที่เป็นสินค้าที่ต้อง นำมาประกอบเอง ผมเคยซื้อ meccanoid robot เป็นสินค้าที่จะมาใช้ประกอบการเรียนการสอน STEM สอนเขียนโปรแกรมควบคุม กับเจอภาษีไป มากกว่าราคาสินค้า หากต้องการที่จะให้ทบทวนก็จะยังไม่ให้นำของออกมา จนกว่าเรื่องทบทวนจะแล้วเสร็จซึ่งก็ต้องใช้เวลาอีกหลายสัปดาห์

อ้างอิง 
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/922292
https://news.thaipbs.or.th/content/302609

ไม่มีความคิดเห็น: