วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2562

e-book ในปี 2019

e-book ถือได้ว่าเป็นความสะดวกสบายอีกรูปแบบหนึ่งของคนรักการอ่าน ความสะดวกของนักวิชาการที่จะสามารถหาหนังสือมาอ่านได้มากมายและรวดเร็ว ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น สาเหตุหลักๆ ก็มาจากการที่ e-book มีการปรับธุรกิจด้านนี้

e-book เป็นการขายในรูปแบบเดียวกับหนังสือ คือ ซื้อเป็นเล่ม ในรูปแบบ e-book คนอ่านก็มีความรู้สึกว่า ราคาไม่ได้ถูกลงมาก คนส่วนใหญ่ก็จะยังอยากซื้อเป็นเล่มกระดาษ เพราะสำนักพิมพ์ ต้องมีคนตรวจคำผิด จัดรูปเล่ม และแปลงเอกสาร ดิจิทัล ให้อยู่ในรูปแบบ epub เพื่อให้สะดวกต่อการอ่านบนหน้าจออุปกรณ์ที่มี ขนาดหลากหลาย โดย epub จะปรับจำนวนหน้าและขนาดตัวอักษรให้น่าอ่าน มากขึ้น

e-book ในรูปแบบ บอกรับสมาชิก เช่น amazon unlimited รูปแบบนี้สมาชิกสามารถอ่านหนังสือเล่มไหนก็ได้ที่ร่วมรายการ สำหรับเล่มที่ไม่ได้ร่วมรายการ ก็จะผลักไปให้ ซื้อเป็นเรื่องๆไป

การขายหนังสือแบบบอกรับสมาชิกทำให้การค้นคว้าหนังสือตำราวิชาการทำได้ง่ายสะดวก โดย เช่น ของค่า safarionline สมาชิกสามารถ อ่านหนังสือได้หลายสำนักพิมพ์ บนหน้าจอ แทปเล็ต และ คอมพิวเตอร์ หรือ มือถือ โดยการบอกรับสมาชิก สมาชิกจะอ่านเล่มไหนด็ได้หมด รวมถึง วีดีโอการสอน ที่สามารถเข้าถึงได้ทันทีซึ่งเป็นกลยุทธที่ ถูกใจสมาชิกให้ต้องต่ออายุกันทุกปี

ในไทยเองการบอกรับสมาชิก ถ็ถูกนำมาใช้เหมือนกันกับค่ายหนังสือออนไลน์เช่น ookbee (https://www.ookbee.com/) ยังมีบริการพิมพ์เป็นกระดาษ  ส่วน meb (https://www.mebmarket.com) และมี ebook ฟรีให้ดึงดูดผู้อ่านอีกด้วย

สำหรับตลาด e-book ไทยที่สดใสจะเป็นพวกหนังสือแนวนิยายที่ขายได้ดี สะดวก เพราะนิยายหากนำมาพิมพ์เป็นเล่มบางเรื่องก็ประเมินความต้องการตลาดยากแต่พิมาเป็น e-book ก็จะ

ล่าสุดสำนักพิมพ์ เพียร์สัน ประกาศจะ ค่อย ๆ หยุดพิมพ์ ตำราเรียนและหันมาให้นักเรียนได้เช่าหนังสือจาก ดิจิทัล แทนซึ่งจะสามารถปรับปรุงเนื้อหาได้

(voice online )ระบุว่า 'เพียร์สัน' บริษัทสัญชาติอังกฤษผู้จัดพิมพ์ตำราเรียนรายใหญ่ในสหรัฐฯ ซึ่งมีสำนักพิมพ์ลองแมนและเพนกวินบุ๊กส์อยู่ในเครือ จะพิมพ์ตำราเรียนที่เป็นกระดาษน้อยลง และหันไปให้ความสำคัญกับอีบุ๊กส์มากขึ้น

(BBC) พียร์สันได้ผ่านพ้นช่วงเวลาอันเจ็บปวดมาหลายปีหลังจากยอดขายและกำไรที่ลดลง แต่ดูเหมือนว่าจะมีมุมหนึ่งในปี 2561 ยอดขายพื้นฐานของ บริษัท เพิ่มขึ้น 2% ในไตรมาสแรกของปี 2562 แม้ว่า บริษัท จะยอมรับรายได้ในธุรกิจของสหรัฐอาจลดลง 5% ในปีนี้นายฟอลลอนกล่าวว่าแผนการสำหรับตำราเรียนจะเริ่มขึ้นในสหรัฐอเมริกา แต่ในเวลาต่อมาจะขยายไปสู่ตลาดอื่น ๆ รวมถึงสหราชอาณาจักร

กลับมาที่ตลาดไทยบ้างครับ อย่างไรก็ดีตำราเรียนในเมืองไทยก็ ยัง พิมพ์เป็นเล่มกระดาษอยู่ และ ตำราเรียนของไทยยังไม่ได้เป็น e-book และถ้ามีเป็น e-book ส่วนใหญ่ก็จะไม่มีเป็นกระดาษ

ส่วนตัวผม อ่านทั้งเป็นกระดาษ และ เป็น e-book และกระดาษยังจับต้องได้ผมสามารถ ให้เพื่อน ยืมอ่านได้ หรือ ซื้อเป็นของฝากของขวัญได้ ส่วน ebook ก็ทำได้ในส่วนของการซื้อเป็น ของขวัญก็ทำให้เพิ่มจำนวนผู้อ่านได้อีกด้วย

อ้างอิงจาก voice online และ BBC

วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2562

การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศ

ในการทำสื่อออนไลน์ ขายสินค้า หรือการสร้างเนื้อหาใน youtube  เว็บไซต์ธรรมนิติเปิดเผยว่า ผู้ประกอบการไทย(ธรรมนิติ, ) ละเมิดลิขสิทธิ์ เพลง ภาพ ซอฟต์แวร์ ในโลกออนไลน์ เพื่อเผยแพร่ จะเป็นเรื่องของการใช้มีเดีย ภาพ เสียง รูปแบบฟ้อนต์ เครื่องมือที่ใช้หรือซอฟต์แวร์

ปัจจุบันยังพบว่าการละเมิดลิขสิทธ์โดยฉพาะผู้ประกอบการ อิสระ SME ไปจนถึง สถานประกอบการณ์ จะหนักไปทางซอฟต์แวร์ ปี 2560 ระบุว่าประเทศไทยละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ สูง ถึง 66% เป็นอันดับที่ 3 ของเอเซียแปซิฟิก  (thaipublica) ในปี 2560 อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ฯ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก อยู่ที่ 57% คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 16,439 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจาก 61% ในปี 2558

สำหรับในประเทศไทย อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ อยู่ที่ 66% ในปี 2560 คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 714 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจาก 69% ในปี 2558 ตัวเลขในประเทศไทยแสดงให้เห็นว่า ในจำนวนคอมพิวเตอร์ 100 เครื่อง มีการติดตั้งซอฟต์แวร์เถื่อน 66 เครื่อง

ข่าวจากหนังสือพิมพ์(ประชาชาติ)สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐอเมริกา (USTR) ประกาศการประเมินสถานะการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศไทยในฐานะคู่ค้าตามกฎหมายการค้าสหรัฐ มาตรา 301 พิเศษ ให้อยู่ในกลุ่มบัญชีจับตาธรรมดา (Watch List : WL) จากก่อนนี้ที่อยู่ในกลุ่มประเทศที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ (Priority Watch List-PWL) เนื่องจากปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ที่ลดลง

ผลกระทบจากการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์

1. การจ้างงานจากต่างประเทศ จะมองว่า เป็นการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม เพราะผู้ประกอบการไทย ใช้ซอฟต์แวร์ Crack ไม่มีค่าใช้จ่าย เช่นซอฟต์แวร์ออกแบบเขียนแบบ ซอฟต์แวร์ 3D
2. เมื่อใช้ ซอฟต์แวร์ crack เพื่อปลดล๊อก วันหมดอายุ หรือ เพื่อใส่ ไลเซนต์คีย์ ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการ crack จะนำพาไวรัส หรือ มัลแวร์ เข้ามาสร้างความเสียหายกับข้อมูล เช่น มีการ เข้ารหัสเรียกค่าไถ่ ข้อมูลที่ไม่สามารถเข้าไปใช้งานได้
3. ต้นทุนจะสูงขึ้น เมื่อถูกจับ และปรับ
4. เมื่อเป็นประเทศจับตามอง

ประเมินว่าจากนี้ปัญหาจะลดลงเรื่อย ๆ จากเทรนด์เทคโนโลยีที่เน้นการใช้ซอฟต์แวร์ผ่านระบบคลาวด์ ซึ่งทำให้เจ้าของสิทธิ์ตรวจสอบง่าย ขณะที่ซอฟต์แวร์ในรูปแบบเดิมค่อย ๆ ทยอยหยุดการอัพเกรด

ข่าวจากหนังสือพิมพ์(ประชาชาติ)“ประเทศจีนการละเมิดลิขสิทธิ์เกือบ 100% แต่พอมาใช้โมบายและคลาวด์ อัตราการละเมิดสิทธิ์ลดลงเร็วกว่าไทยมาก โดยคาดว่าไทยอาจใช้เวลาประมาณ 20 ปี เพราะประเมินว่ากว่าครึ่งของบริษัทในไทยยังมีการละเมิดสิทธิ์ซอฟต์แวร์ และหลายองค์กรยังไม่เปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีคลาวด์ บั่นทอนศักยภาพการแข่งขัน ทั้งที่มีผลวิจัยระบุว่า ถ้า 10% ขององค์กรใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย จะดัน GDP ประเทศเพิ่มได้ 1%”

ปัญหานี้จะลดลงถ้า

  1.  ทุกคนหันมาใช้โอเพนซอร์สซอฟต์แวร์ ที่หมายถึง ซอฟต์แวร์เปิดเผย code สามารถนำไปต่อยอดใช้งานได้ เช่น LibreOffice, OpenOffice ด้านกราฟฟิกเช่น GIMP, Inkscap, งาน 3D เช่น Blender ระบบปฏิบัติการเช่น Linux Desktop
  2. ใช้ฟ้อนต์ที่สามารถนำไปใช้งานได้เสรี จาก https://fonts.google.com/ 
  3. เพลงประกอบการใช้งานต่าง ๆ ใชเพลงจาก https://www.youtube.com/audiolibrary/music?nv=1
  4. ภาพประกอบต่าง ๆ ที่อยู่ภายให้ CC หรือ ครีเอทีฟคอมมอน เช่น open clip art http://clipart-library.com/openclipart.html
  5. คลังภาพไืทยจาก โครงการคลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด https://oer.learn.in.th/




วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2562

Software Freedom Day 2019


ซอฟต์แวร์ฟรีด้อมเดย์ เป็นวันที่ทั่วโลก เฉลิมฉลอง ให้กับ โลกของซอฟต์แวร์เสรีและโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์ เป้าหมายก็คือการให้ความรู้แก่สาธารณชนทั่วโลกเกี่ยวกับประโยชน์ของการใช้ ซอฟต์แวร์เสรีและโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์ โดยปีนี้จะจัดพร้อมกัน วันเสาร์ที่ 21 กันยายน หรือเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของทุกปี

วัตถุประสงค์ที่เกิดวันนี้ขึ้น


  • เพื่อนึกถึงคนที่อยู่เบื้องหลังซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส
  • เพื่อส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับซอฟต์แวร์เสรีและสนับสนุนให้มีการใช้มาตรฐานเปิด
  • เพื่อสร้างการเข้าถึงโอกาสที่เท่าเทียมกันจาการใช้เทคโนโลยีแบบมีส่วนร่วม

ซอฟต์แวร์เสรีคืออะไร?

ซอฟต์แวร์เสรีเป็นซอฟต์แวร์ที่ให้อิสระแก่ผู้ใช้ในการแบ่งปันศึกษาและแก้ไข เราเรียกว่าซอฟต์แวร์เสรี ซอฟต์แวร์เสรีเป็นทางเลือกใรการเข้าถึงสารสนเทศอย่างเท่าเทียม เพื่อ การเรียนรู้ และแบ่งปันกับคนอื่น 

องค์กรที่อยู่เบื้องหลัง SFD


มูลนิธิ Digital freedom ได้ก่อตั้งในปี 2547 เพื่อทำกิจกรรมส่งเสริมซอฟต์แวร์เสรีที่ชื่อว่างานซอฟต์แวร์ฟรีด้อมเดย์ ปัจจุบัน ได้ดำเนินการส่งเสริมกิจกรรม Document Freedom Day 

เรื่องราวของซอฟต์แวร์ฟรีด้อมเดย์

ในปัจจุบันชีวิตของเราพึงพาเทคโนโลยีมากขึ้น ทำให้เราต้องพิจารณาถึงผลกระทบของเทคโนโลยีที่มีต่อชีวิตของมนุษย์ และเพื่อให้มั่นใจว่าเทคโนโลยีไม่ได้ถูกนำมาใช้เพื่อ สร้างข้อจำกัดในด้านโอกาสในการสร้างนวัตกรรม และเสรีภาพ

เทคโนโลยีที่โปรงใสซึ่งหมายถึงซอฟต์แวร์บางตัวที่สามารถเข้าถึงซอร์สโค้ดเช่นซอฟต์แวร์เสรีและโอเพนซอร์ส (FOSS) ทำให้เรามั่นใจได้ว่าสามารถรู้ หรือ ตรวจสอบสิ่งที่ซอฟต์แวร์ทำ เช่น การที่ซอฟต์แวร์ฝังสปายแวร์เอาไว้ แต่ จะไม่สามารถทำได้กับซอฟต์แวร์ระบบเปิด หรือ ที่เรียกว่า โอเพนซอร์ส เพราะจะต้องเปิดเผยซอร์สโค้ดสู่สาธารณะ การที่ซอฟต์แวร์ระบบปิดที่ถือกรรมสิทธิ์จากผู้ผลิตจะทำให้เราไม่สามารถตรวจสอบซอร์สโค๊ดได้เลย

เมื่อประเทศยากจนกำลังพัฒนาต้องการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร หรือใช้เทคโนโลยี พวกเขาจะต้องมีต้นทุนที่ไม่ต้องละเมิดลิขสิทธิ์ ทางเลือกที่ทำได้อย่างน่าภูมิใจเมื่อชุมชนชาวโอเพนซอร์สจากหลายแห่งทั่วโลก กำลังลงมือสร้างสรรค์ผลงานและแจกจ่ายให้ ชุมชนช่วยกันแก้ไข ดัดแปลง แปลงชุดคำสั่งให้รองรับภาษาท้องถิ่น ตั้งแต่ระบบปฏิบัติการ จน ถึงซอฟต์แวร์แอปพลิเคชั่น สำนักงาน ตลอดจน มาจรฐานเปิดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เช่น mp4 pdf .ODT ODP openAI รวมถึงระบบปฏิบัติการ android , ios  Cryptocurrency ที่มีพื้นฐานมาจาก ซอฟต์แวร์ฟรีด้อม และ open Source ทั้งนั้น

ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ที่เป็นโอเพนซอร์สย่อมที่จะต้อง โอเพนซอร์สต่อไปตามเงื่อนไขระเบียบวิธีที่ตกลงกัน