วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2563

ประเทศไทยจะไปดวงจันทร์ได้มั๊ย

 เป็นเรื่องที่พูดคุยกันทั้งโซเชียล ทันทีที่ “เอนก เหล่าธรรมทัศน์” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประกาศว่า เร็ว ๆ นี้ ประเทศไทยจะเป็นชาติที่ 5 ของเอเชีย ที่สามารถผลิตยานอวกาศและส่งไปโคจรรอบดวงจันทร์ได้ คาดว่าจะใช้ระยะเวลาดำเนินการไม่เกิน 7 ปี ระหว่างการเปิดโครงการ “วัคซีนเพื่อคนไทย” ที่หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วานนี้ (14 ธ.ค.63)

ปรากฏว่าโลกออนไลน์มีผู้ออกมาแสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างเผ็ดร้อน เช่น ประเทศไทยยังมีความ จำเป็นอีกมากมาย เช่นวัคซีน โควิด ถนนพระราม 2 ที่ยังสร้างไม่เสร็จสักที 

ความเห็นในเรื่องนี้คนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย เพราะการสำรวจดวงจันทร์ให้งบประมาณสูงมากเป็นสิ่งที่หลายคนกังวล แต่สรุป ออกมา ได้ว่าคนส่วนใหญ่เป็นกังวลเรื่อง คอร์รัปชั่น กับเงินงบประมาณที่ใส่ลงไป

NASA เฉพาะโครงการอพอลโลทั้งหมด ใช้เงินไปรวมกันทั้งสิ้น 25,800 ล้านเหรียญสหรัฐ ในยุคนั้นก่อนที่จะหยุดโครงการไป 48 ปี

มาดูเรื่องความพร้อมของหน่วยงานและกำลังคนของประเทศไทยที่มีความสามารถในเรื่องนี้กันครับ 

ไทยมี สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) มีบทบาทหน้าที่สำคัญในการวิจัยและค้นคว้าด้านดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ และด้านบรรยากาศวิทยาของประเทศ ซึ่งเป็นการวิจัยค้นคว้าทางด้านฟิสิกส์และองค์ประกอบของเทหวัตถุต่างๆ เช่น ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ กาแล๊กซี่ เอกภพ รวมถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับบรรยากาศของโลกเรา ซึ่งถือว่าเป็นการวิจัยขั้นพื้นฐานหรือเรียกว่าวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์

ประเทศไทยมี สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) มีดาวเทียมสำรวจภูมิศาสตร์โดยกำลังเตรียมการยิงดาวเทียม THEOS-2 ดาวเทียมสำรวจ จะแลดูเรื่องของระบบแผนที่ ที่ใช้ในระบบราชการ อาทิ การพัฒนาระบบการผลิต การบริการภาพถ่าย และภูมิสารสนเทศจากดาวเทียมที่อยู่ในเครือข่ายกว่า 30 ดวง, การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการใช้งานภูมิสารสนเทศจากดาวเทียม, การพัฒนาระบบประยุกต์ใช้แผนที่และภูมิสารสนเทศจากภาพถ่ายดาวเทียมตามภารกิจของหน่วยปฏิบัติต่างๆ รวมถึงการพัฒนาขีดความสามารถของประเทศในการสร้างดาวเทียมและอุตสาหกรรมอวกาศของประเทศอีกด้วย

หน่วยงานนี้มีนักวิจัยมากมายและมีการฝึกอบรม Space Science School ให้นักวิจัยเริ่มมาตั้งแต่ปี 2559 และร่วมมือกับนักวิจัยและวิศวกรรุ่นใหม่ในกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิคและจากทั่วโลก จะได้รับความรู้โดยตรงจากวิศวกรที่สังกัดองค์กรอวกาศจากทั่วโลก ในการกำหนดพันธกิจด้านอวกาศในเชิงลึก ทั้งในเชิงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เพื่อกระตุ้นให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศของนักวิจัยรุ่นใหม่ที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนากิจการด้านอวกาศของแต่ละประเทศในอนาคต

ปี 2557 เรามีนักวิจัยหญิงไทยคนแรกชื่อว่า “แน็ต” พีรวรรณ วิวัฒนานนท์ ได้ไปทำงานที่ NASA ท่ามกลางกระแสที่  NASA ปลดพนักงานออก และ ที่ผ่านมาเรามีนักวิจัยไทย เคยไปทำงานกับ NASA ที่คุ้นชื่อ

ปี 2557 เช่นกันเราก็มี วิศวกรดาวเทียม ซึ่งนับเป็นหญิงไทยคนแรก พิรดา เตชะวิจิตร์  ที่สร้างประวัติศาสตร์การเดินทางไปสู่อวกาศกับ “แอ็กซ์ อพอลโล” โดยมีผู้ผ่านเข้ารอบไปเข้าร่วมอบรมทั้งหมด 107 คน จาก 62 ประเทศทั่วโลก มาจากเอเชีย ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน เวียดนาม อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ นอกนั้นเป็นยุโรปกับอเมริกัน แต่คัดให้เหลือแค่ 23 คน แบ่งเป็นหญิง 2 คน ได้แก่ ไทยกับนอร์เวย์ ชาย 21 คน ไปทดสอบทั้งหมด 5 วัน

เมื่อเดือนสิงหาคม 2563 เด็กไทยเจ๋งไม่แพ้ใครในโลก เมื่อเหล่าน้องๆ นักเรียนมัธยมศึกษาโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย (ก.ท) ได้สร้างดาวเทียมภายใต้ชื่อ “BCCSAT-1” ซึ่งถือเป็นดาวเทียมดวงแรกที่เป็นผลงานของเยาวชนไทย เป็นดาวเทียมขนาดเล็ก และกำลังส่งเข้าสู่อวกาศในเดือน มีนาคม.2564 นี้ โดยใช้ฐานส่งจรวดที่คาซัคสถาน รัฐเซีย โครงการนี้ โรงเรียนทำ MOU กับ มหาวิทยาลัยโตเกียว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และ บริษัท astroberry

ทำไมดวงจันทร์จึงเนื้อหอมมีหลายประเทศขึ้นไปสำรวจ เนื่องจากมีรายงานทางวิทยาศาสตร์ ว่าบนดวงจันทร์มีแร่ "ไอโซโทปฮีเลียม-3" หรือเรียกสั่นๆ ว่า ฮีเลียม-3 ที่สามารถนำมาใช้เป็นพลังงานสะอาด ไม่เกิดกัมมันตรังสี ใช้ผลิตไฟฟ้าได้เหมือน พลังงานนิวเคลีย [https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/1503165] อีกแหล่งอ้างอิง http://www.nst.or.th/article/article492/article49203.html ที่กล่าวถึงเรื่องนี้เช่นกัน

ผมคิดว่าเรื่อง การสำรวจอวกาศ หรือส่งจรวดไปดวงจันทร์กับรัฐบาลไทย รัฐไม่ควรลงทุนในเรื่องนี้ รัฐควรลงทุนเรื่องการศึกษา ให้โอกาศเด็กไทยเข้าถึงเทคโนโลยีอวกาศ ตามความเห็นของต่างๆในโซเชียล แต่รัฐควรสนับสนุนให้เอกชนลงทุน จะลงทุนกันเองหรือร่วมมือกับนักลงทุนต่างประเทศ และ ก็สร้างเองไม่ใช่ซื้ออย่าเดียว  เปิดโอกาศให้นักวิจัยเอกชนให้ได้รับความสะดวก ซึ่งปัจจุบัน การสร้าง เครื่องพิมพ์สามมิติด้วยตัวเองยังต้องเอาไปขึ้นทะเบียน หรือ การจะถือครองโดรนที่สร้างเองยังต้องรวบรวมใบเสร็จต่างๆมาขึ้นทะเบียน 

ปัจจุบันเทคโนโลยี อวกาศถือได้ว่าเป็นที่สนใจของ นักลงทุนต่างชาติ เช่น SpaceX ที่กำลังทำ ยานอวกาศที่สามารถกลับมาลงจอดได้ การสร้าง Internet ดาวเทียม วงโครจตำที่ต้องใช้ดาวเทียม  12,000 ซึ่งใช้งบลงทุน เกือบ 1900 ล้านเหรียญสหรัฐ และได้ขึ้นวงโครจรไปแล้ว กว่า 100 ดวง น่าจะสั่นสะเทือนวงการอินเตอร์เน็ต 5G ไม่น้อย SpaceX บริษัทเทคโนโลยีด้านอวกาศของ Elon Musk เตรียมที่จะระดมทุนก้อนใหม่ คาดว่าจะปิดดีลได้ในเดือนมกราคม 2564 ที่จะถึงนี้ และอาจทำให้มูลค่าบริษัทพุ่งสูงไปถึง 92,000 ล้านเหรียญสหรัฐ 

อีกโครงการ Blue Origin ของมหาเศรษฐี Jeff Bezos ที่เป็นผู้สนับสนุนเงินทุนในการพัฒนาโครงการด้วยตัวเองใช้เวลาแค่ สี่ปี ก็สามารถทดลองการยิงจรวจได้แล้ว เป็นอีกโครงการที่เป็นคู่แข่งกับ SpaceX

ข้อมูลอ้างอิง

https://www.thairath.co.th/scoop/1938120

http://www.nst.or.th/article/article492/article49203.html

https://www.posttoday.com/ent/celeb/276628

https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/1503165

การแข่งขันทาง อวกาศ

https://brandinside.asia/space-flight-for-spacex-is-not-blue-origin-it-is-china/

https://brandinside.asia/spacex-prepared-to-raise-new-funding-maybe-valuation-up-to-92-billion-usd-15-dec-2020/

 


ไม่มีความคิดเห็น: