วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

เตือนภัย!! ในยุค สังคมไร้เงินสด

ภัยในยุคปัจจุบันที่มาจากยุคสังคมไร้เงินสด ที่พบใหม่ล่าสุด ก็คือภัยจากการโอนเงินผิดบัญชี เฟสบุ๊ค กองปราบ แจ้งเตือนประชาชนว่า หากมีคนโทรมาบอกว่า มีการโอนเงินเข้ามาผิดบัญชีให้เราทำการโอนคืน อย่าโอนคืนทันที ให้ประสานงานกับธนาคารของเรา ตรวจสอบการโอนเงิน แล้วธนาคารจะโอนคืนกลับไปเอง

สาเหตุที่ไม่ให้โอนคืนกลับด้วยตัวเอง เราอาจจะตกเป็นผู้ต้องหากระทำความผิดร่วมกันฝอกเงิน เพราะพฤติกรรมดังกล่าว คาดว่าอาจจะได้มาจากการกระทำความผิด เช่นจงใจขายของออนไลน์ แล้วไม่ส่งสินค้า แต่ใช้บัญชีผู้อื่นรับเงินแทน การโอนมาผิดอาจจะเกิดจากกระบวนการของกลุ่มผู้ค้าขายสินค้าผิดกฏหมาย

ทางที่ดีแนะนำให้ผู้ที่โทรมาบอกเราให้เขาไปแจ้งความว่าได้โอนเงินผิดและเอาใบแจ้งความนั้น ติดต่อกับทางธนาคารเพื่อให้ธนาคารตรวจสอบและประสานงาน หากเป็นการโอนผิดเลขบัญชีจริงๆ ทางธนาคารจะเป็นผู้โอนกลับคืนให้เอง


เรื่องต่อมาการโกงเงินโครงการเราชนะ

มีข่าวการโกงเงินจากการใช้เงินในโครงการเราชนะไปสมคบกับร้านค้า ที่ลงทะเบียนโดยไม่ได้ซื้อสินค้าจริงๆ แล้วรับเป็นเงินสดกลับมา ร้านค้าที่ทำแบบนี้โปรดฟัง

โครงการนี้รัฐบาล ได้อะไร แน่นอนเงินที่โอนไปด้วยวิธีการอิเล็กทรอนิกส์และประชาชนนำไปใช้ นอกจากจะเกิดการหมุนเวียนแล้ว ยังสามารถตรวจสอบที่มาที่ไปได้ว่าเงิน 7000 บาทถูกส่งไปบัญชีใคร และใช้ทำอะไรกันบ้าง นอกจากนั้นรัฐบาลยังได้ข้อมูลร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ สิ่งที่ไม่เคยทำได้มาก่อนตอนนี้สามารถทำได้แล้วคือ นำผู้ค้ารายเล็กรายน้อยเข้าสู่ระบบ 

เมื่อร้านค้าขนาดเล็กเข้าสู่ระบบที่สามารถตรวจสอบการซื้อขายได้ ประโยชน์ต่อมาของร้านขนาดเล็กคือการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ถูกกฏหมายของรัฐบาล ที่หลายคนเคยบ่นว่า พ่อค้าแม่ค้าร้านตลาดไม่มีโอกาศเข้าถึงแหล่งเงินกู้ เพราะสาเหตุจากการที่ร้านค้าขนาดเล็กเงินหมุนเวียนไม่เคยผ่านบัญชีหรือผ่านบัญชีอาจจะมาจากการแต่งบัญชีเพื่อขอกู้เงิน กู้ซื้อบ้าน กู้เพื่อลงทุนเพิ่ม ต่อไปก็จะสามารถที่จะพิจารณาได้ง่ายขึ้น

และแน่นอน เมื่อมีรายได้รัฐบาลก็สามารถที่จะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีเงินได้และประเมินภาษีได้อย่างง่ายดาย เพราะตรวจสอบจากการการซื้อขายสินค้าผ่านทางแอปเป๋าตุง

ดังนั้นหากเป็นการใช้แอปเป๋าตุงในการแปลงการซื้อขายเป็นแลกเปลี่ยนเงินสด และหากมีมากกว่าการซื้อขายจริงการตรวจสอบก็จะเกิดขึ้นได้ไม่ยาก ดังนั้นหากมีมิจฉาชีพ มาชวนร้านค้าในโครงการกระทำความผิดในรูปแบบสแกนแลกเงิน อย่าเข้าร่วมเด็จขาด ปัญหาจะตามมาอีกมาก รวมถึงการประเมินรายได้ การประเมินภาษี รวมถึง หากมีกิจกรรมส่งเสริมจากรัฐ ร้านค้ามี่มีรายได้เยอะกว่าที่กำหนดอนาคตอาจจะไม่ได้เข้าร่วมโครงการ

พ่อแม่พี่น้องครับ ส้งคมที่เราไม่ใช้เงินสดป้องกันการทุจริตได้ในระดับหนึ่ง สามารถตัดวงจรการกินหัวคิว ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต เมื่อปี 58 ชาวสุโขทัยร้องเรียนว่าโดนหักหัวคิวส่วนต่างประกันราคาข้าว 50% เป็นต้น 

อย่างไรก็ตามถึงแม้จะมีกลุ่มคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่มี สมาร์ทโฟน แล้วต้องมาต่อคิวลงทะเบียน ผมได้เดินทางลงไปจังหวัดสกลนคร พบว่า ธนาคารกรุงไทยก็ได้ขอความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นมาช่วยรับลงทะเบียน หากในตำบลนั้นต้องเดินทางไกลเพื่อไปลงทะเบียนที่ธนาคาร


 

ไม่มีความคิดเห็น: