หลังจากที่รัฐบาลเปิดลงทะเบียน โครงการคนละครึ่ง รอบสองดูเหมือนว่ากระแสตอบรับดีมากทั้งร้านค้าและผู้่ใช้ กระแสตอบรับสูง ทำให้มีการพูดกันว่า การที่รัฐบาลลงทุนทำโครงการนี้ เป็นการสอนคนไทยให้เข้าใจคำว่าเศรฐกิจดิจิทัล
เหมือนกับช่วงที่รัฐบาลเปลี่ยนให้คนไทยมาใช้ บัญชีพร้อมเพย์ใหม่ๆ ทำให้คนไทยเข้าใจคำว่าสังคมไร้เงินสดว่าสะดวกรวดเร็ว ปลอดภัย และคนไทยก็รู้จักวิธีการชำระเงินด้วย QR-Code
ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ
จากการสอบถามร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่งต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่ายอดขายสูงขึ้นเกือบเท่าตัว ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะโอนเงินให้ร้านค้าช้ามีช่วงวันหยุด แต่ ภาครัฐก็บอกว่าจะพยายามไม่หยุดโอนเงินช่วงวันเสาร์-อาทิตย์
ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการเยอะมากขึ้น เพราะใช้ช่วงแรกของโครงการหลายคนบ่นว่าหาที่ใช้งานยากเพราะโครงการนี้ร้านค้ารายย่อยมีโอกาศเข้าร่วม สามารถค้นหาร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการใกล้บ้านผ่าน เว็บไซต์คนละครึ่ง
โอกาศดีสำหรับร้านค้า
ร้านค้าที่เข้าร่วมทำให้สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ที่เป็นกลุ่มคนที่ลงทะเบียนคนละครึ่งและสามารถค้นหาผ่าน
คนละครึ่ง.com
ตั้งขอสังเกต ร้านค้าที่เข้าร่วมเยอะ ๆ โดยมากจะเป็นร้าน ขนาดย่อมที่ขายสินค้าในตลาดนัดของภาคราชการ แต่ถ้าเป็นร้านค้าในตลาดชุมชน จะหายากส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะการรับสมัครร้านเข้าร่วมโครงการมีขั้นตอนทางอินเตอร์เน็ท ผู้ค้าสูงอายุจะไม่ค่อยถนัด ส่วนร้านค้าที่อายุไม่มากก็จะคุ้นเคยกับการลงทะเบียน
แต่บางร้านถามว่าทำไม่เข้าร่วมโครงการ บางร้านกลัวเรื่องของการเสียภาษีที่ภาครัฐจะเข้ามาตรวจสอบ ในช่วงโครงการอาจจะมีผู้มาซื้อของมาก แต่หลังจากโครงการจบลง จะมีคนมาซื้อเยอะเหมือเดิมหรือไม่
แต่อย่างไรก็ดีโครงการนี้มีส่วนดีอยู่มาก ร้านค้ายังสามารถยื่นลงทะเบียนเพื่อรับชำระเงินผ่านแอปถุงเงิน
จำนวนร้านค้า
ณ วันที่ 17 พฤษจิกายน
กรุงเทพ มีจำนวน 51,705 ร้านค้า
ปทุมธานี 9,863 ร้านค้า
สมุทรปราการ 11,052 ร้านค้า
สถิติการใช้งาน
มีรายงานข่าวจาก
เมเนเจอร์ออนไลน์ ว่า เฟซบุ๊กส่วนตัว “Chao Jiranuntarat” ของนายสมคิด จิรานันตรัตน์ ที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หนึ่งในทีมดูแลระบบการลงทะเบียนให้กับโครงการของรัฐบาลหลายโครงการ เช่น เราไม่ทิ้งกัน, วอลเล็ต สบม. รวมทั้งโครงการคนละครึ่ง ได้โพสต์ข้อความสถิติโครงการคนละครึ่งที่น่าสนใจ ระบุว่า “ไม่น่าเชื่อว่าโครงการคนละครึ่งช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายได้เยอะขนาดนี้ ณ วันที่ 8 พฤศจิกายน 2563 มีร้านค้าลงทะเบียนจำนวน 557,878 ร้านค้า มูลค่าการใช้จ่ายสะสม 9,933 ล้านบาท การใช้จ่ายต่อวันขึ้นสูงถึง 4.6 ล้านรายการ 937 ล้านบาท
จังหวัดที่มีการใช้จ่ายสูงสุด 10 อันดับแรก ได้แก่ 1. กรุงเทพมหานคร 2. สงขลา 3. นครศรีธรรมราช 4. สุราษฎร์ธานี 5. เชียงใหม่ 6. ชลบุรี 7. นนทบุรี 8. สมุทรปราการ 9. นครราชสีมา 10. ปทุมธานี
ประเทศไทยเข้ายุค เศรษฐกิจดิจิทัลแล้วหรือยัง
เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) คืออะไร มีผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านได้ให้ความหมายไว้หลายท่าน ดังนี้
1. Don Tapscott ให้ความหมายไว้ว่า
“เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy หรือ DE) คือเศรษฐกิจและสังคมที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
และการสื่อสาร(หรือเรียกว่าเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อให้ทันยุคสมัย) เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการปฏิรูป กระบวนการผลิตการดำเนินธุรกิจ การค้า การบริการ การศึกษา การสาธารณสุข การบริหารราชการแผ่นดินรวมทั้งกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคมและการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น”
2. ETDA หน่วยงานหลักในการสนับสนุนการวางกรอบนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ
และสังคม ได้ให้ความหมายว่า “เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) คือ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศโดยการนำเอาไอทีหรือเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้เพื่อเพิ่มผลผลิต เพิ่มผลงาน โดยใช้เวลาน้อยลงและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและบริการต่าง ๆ เพื่อให้เราแข่งขันกับชาติต่าง ๆ ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยุคปัจจุบันที่การใช้สมาร์ทดีไวซ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ติดต่อสื่อสารกันผ่านเครือข่ายไร้สายความเร็วสูง (Wireless Broadband)เช่น 3G, 4G ซึ่งใช้งานได้ง่ายกว่า PC มาก ทำให้เกิดการใช้งานในวงกว้าง แม้กระทั่งในคนที่ไม่เคยใช้คอมพิวเตอร์ หรืออินเทอร์เน็ตมาก่อน ซึ่งทำให้เกิดโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ มากมายในแทบทุกสาขาเศรษฐกิจ
หากเรามองว่าโครงการคนละครึ่งส่งผลให้ การดำเนินกิจกรรมทาง การค้า การบริการ เปลี่ยนมาให้บริการมากขึ้นก็ถือว่ามีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมาก ที่พ่อค้าแม่ค้ากล้าที่จะให้บริการรับชำระเงินผ่านเทคโนโลยี ซึ่งในสมัยก่อน การจพชำระเงินแบบนี้ทำได้ยาก
สำหรับในเรื่องการศึกษา ผมยกประโยชน์ให้ covid-19 ที่ทำให้ตื่นตัวกันในเรืองของการนำเอา e-learning มาใช้ในการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย ในโรงเรียน ในการอบรมพัฒนาฝีมือแรงงานของกระทรวงแรงงาน และการฝึกอบรมบุคลากรในสถาณประกอบการ
สำหรับเรื่องการบริหารราชการแผ่นดิน การติดต่อหน่วยงานราชการยังเป็นเรื่องที่ต้องใช้เอกสาร ต้องเดินทางเข้าไปถึงหน่วยงานเพื่อเข้าไปวางบิลรับเช็ค ทั้งๆที่เรามีกรมบัญชีกลางที่สามารถทำเรืองต่าง ๆ ได้แล้วแต่ภาคเอกชนที่จะขึ้นทะเบียนเป็นผู้ค้ากับภาครัฐก็ยังต้องยื่นเอกสาร แทนที่จะเชื่อมโยงข้อมูลกันระหว่างกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ และ กรมสรรพากร
ในด้านการแข่งขั้นของภาคเอกชนหลายธุรกิจเริ่มปรับตัวและนับจากนี้เป็นต้นไป ผมมองว่า การค้าการขายจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากความมั่นใจในการใช้จ่ายผ่านอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์
การเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลของไทยได้เริ่มมาสองก้าวแล้วนับตั้งแต่ การเปิดใช้ พร้อมเพย์ และมีการใช้งานจริงจังก็ช่วงที่รัฐบาลใช้โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ชิมช๊อบใช้ เที่ยวด้วยกัน และมาถึงคนละครึ่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น