วันพุธที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560

โดรน ของเล่น หรือของจริงกับงานด้านความมั่นคงจึงต้องมีกฏหมาย

ประเด็นที่จะเขียนว้นนี่จะเป็นเรื่องของเครื่องบินไร้คนขับ ปัจจุบันเครื่องบินไร้คนขับ หรือที่เรียกว่า  drone กำลังเป็น เป็นที่แพร่หลาย ในมือของกลุ่มคนเล่น rc หรือที่เรียกว่า radio control หรืออีกกลุ่มหนึ่งที่เราเรียกว่านักเล่นรถบังคับหรือเครื่องบินบังคับนั้นเอง
ปัจจุบันโดรนมีราคาตั้งแต่ 1,000 บาทจนกระทั่งถึงหลักหมื่นบาทขึ้นไปซึ่งก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพในการบินคุณภาพในการควบคุมความสูง และ ระยะทางเป็นต้น จะขอยกคุณสมบัติคราวๆดังนี้


โดรนในราคา 1,000 บาทถึง 3,000 บาท 

จะมีลักษณะของการใช้งานบินได้ระยะหนึ่งถึง 300 เมตร บินได้ 10 นาทีและไม่มีกล้องถ่ายภาพส่วนใหญ่ใช้เป็นของเล่น

โดรนในราคา 10,000 ถึง 20,000 บาท

จะมีความสามารถควบคุมได้ในระยะไกล เช่น 1 กิโลเมตรมีระบบส่งการทรงตัวที่ดี ควบคุมระยะความสูงได้แม่นยำ บางรุ่นสามารถกดปุ่มเดียวและให้บินกลับมาบ้านหรือ home

โดรนราคาตั้วแต่ 30,000 

ขึ้นไปกล้องจะมีความละเอียดสูงถึง 4K
สามารถถ่ายวีดีโอสตรีมมิ่งกลับมาที่โทรศัพท์ได้
บินได้ไกลถึง 5 กิโลเมตร
หลบหลีกสิ่งกีดขวาง
บินตามวัตถุที่มีสีได้

โครนราคาตั้งแต่ 100,000 บาท

จะมีความสามารถบินได้สูงมากและสามารถแบกน้ำหนักได้มาก ปัจจุบันใช้ถ่ายภาพมุมสูงและในงานข่าวโดยใช้ร่วมกับกล้องขนาดใหญ่และ มักจะนำไปใช้ในทางการเกษตรเช่นเครื่องพ่นยา

ประโยชน์ของโดรน

งานมัลติมีเดีย

ใช้ถ่ายภาพมุมสูงในงาน ทีวี บันทึกภาพวีดีโอ
ใช้สำรวจพื้นที่ ที่ไม่เคยบินสำรวจมาก่อน

งานด้านเกษตร

ใช้พ่นยาฆ่าแมลง ใส่ปุ๋ย หรือ บินสำรวจสำหรับเกษตรพื้นที่ กว้าง เช่นบ่อปลา บ่อกุ้ง

งานด้านความมั่นคง

ใช้แทนกำลังพลหรือทหารใช้ในการสอดแนม ซึ่งประเด็นนี้ประเทศที่ส่งโดรนออกไปสู้รบก็จะมีข้อได้เปรียบหลายด้าน มีตัวอย่างการใช้งานของกองทัพอากาศอังกฤษซึ่ง ในปัจจุบันก็มีอีกหลายประเทศ
แหล่งอ้างอิง Facebook BBC Thai 

งานด้านโลจิสติกส์

ใช้ในการส่งสินค้าซึ่งอาจจะพบเห็นในอนาคตซึ่ง ตอนนี้ Amazon ก็ได้ทำการทดลองใช้งานโดยการส่งของด้วยโดรนจะต้องได้รับอนุญาติก่อน

ความสามารถของผู้ควบคุมหรือบังคับโดรน

คนที่มีความชำนาญในการใช้รีโมทควบคุมการบินต้องใช้คนที่มีทักษะ บางครั้งเราจะเห็นว่ามันควบคุมได้ไม่ยากแต่เอาเข้าจริงๆแล้ว การลงจอด การขับไปด้านหน้าหรือไปซ้ายไปขวาจะมีความลำบากมากสำหรับคนที่ไม่เคยทำการบินมาก่อนจะเกิดอาการหลงทิศทางในการควบคุม กำหนดเวลาของแบตเตอรี่ไม่ถูกบินไปแล้วอาจจะเกิดอุบัติเหตุได้ และระยะการบินปัจจุบันสามารถบินได้ไกลมาก คนที่ควบคุมได้ดีจะสามารถบินหลบหลีกได้รวดเร็วและบินในที่แคบๆได้ โดยใช้ร่วมกับแว่น VR ซึ่งให้ความเสมือนกับได้ไปอยู่บนเครื่องบิน

กฏหมายโดรนในประเทศไทย

กฏหมายเกี่ยวกับโดรนในบ้านเรา ก็มีการกำหนดโดยสำนักงานการบินพลเรือน

ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตและเงื่อนไขในการบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก พ.ศ. 2558 
ซึ่งลงประกาศตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
ตามประกาศดังกล่าวได้นิยามความหมายไว้ดังนี้
  • “อากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก” หมายความว่า อากาศยานที่ควบคุมการบินโดยผู้ควบคุมการบินอยู่ภายนอกอากาศยานและใช้ระบบควบคุมอากาศยาน ทั้งนี้ ไม่รวมถึงเครื่องบินเล็ก ซึ่งใช้เป็นเครื่องเล่นตามกฎกระทรวงกําหนดวัตถุซึ่งไม่เป็นอากาศยาน พ.ศ. 2548
  • “ระบบควบคุมอากาศยาน” หมายความว่า ชุดอุปกรณ์อันประกอบด้วยเครื่องเชื่อมโยงคําสั่งควบคุมหรือการบังคับอากาศยาน รวมทั้งสถานีหรือสถานที่ติดตั้งชุดอุปกรณ์เหล่านี้หรือเครื่องมือที่ใช้ควบคุมการบินจากภายนอกและตัวอากาศยานด้วย
อากาศยานในประกาศนี้แบ่งเป็นสองประเภทตามวัตถุประสงค์คือ
  • ประเภท 1 ใช้เพื่อการเล่นเป็นงานอดิเรก เพื่อความบันเทิง หรือเพื่อการกีฬา
  • ประเภท 2 ใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกจากตามประเภท 1 คือรายงานข่าว รายการโทรทัศน์หรือภาพยนตร์ วิจัยและพัฒนาอากาศยาน หรือเพื่อการอื่น ๆ
         ประเภทที่ 2 นั้นกำหนดขนาดไม่เกิน 25 กิโลกรัม ขณะที่ประเภทที่ 1 มีแบ่งย่อยตามขนาด ดังนี้
ประเภท 1.ก มีน้ำหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัม กำหนดให้ผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานต้องมีอายุมากกว่า 18 ปี หรือมีผู้แทนโดยชอบธรรมควบคุมดูแล ซึ่งอากาศยานในข้อนี้ กระทรวงคมนาคมอนุญาตให้ทำการบินได้ โดยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้
         เงื่อนไข
        (1) ก่อนทําการบิน
            (ก) ตรวจสอบว่าอากาศยานอยู่ในสภาพที่สามารถทําการบินได้อย่างปลอดภัย ซึ่งรวมถึงตัวอากาศยานและระบบควบคุมอากาศยาน
            (ข) ได้รับอนุญาตจากเจ้าของพื้นที่ที่จะทําการบิน
            (ค) ทําการศึกษาพื้นที่และชั้นของห้วงอากาศที่จะทําการบิน
            (ง) มีแผนฉุกเฉิน รวมถึงแผนสําหรับกรณีเกิดอุบัติเหตุ การรักษาพยาบาล และการแก้ปัญหากรณีไม่สามารถบังคับอากาศยานได้
       (2) ระหว่างทําการบิน
           (ก) ห้ามทําการบินในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน และรบกวนความสงบสุขของบุคคลอื่น
           (ข) ห้ามทําการบินเข้าไปในบริเวณเขตห้าม เขตจํากัด และเขตอันตรายตามที่ประกาศใน เอกสารแถลงข่าวการบินของประเทศไทย (Aeronautical Information Publication – Thailand หรือ AIP – Thailand) รวมทั้ง สถานที่ราชการ หน่วยงานของรัฐ โรงพยาบาล เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากหน่วยงานเจ้าของพื้นที่
           (ค) แนวการบินขึ้นลงของอากาศยานจะต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง
           (ง) ผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานต้องสามารถมองเห็นอากาศยานได้ตลอดเวลาที่ทําการบินและห้ามทําการบังคับอากาศยานโดยอาศัยชุดกล้องบนอากาศยานหรืออุปกรณ์อื่นที่มีลักษณะใกล้เคียง
           (จ) ต้องทําการบินในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก ซึ่งสามารถมองเห็นอากาศยานได้อย่างชัดเจน
           (ฉ) ห้ามทําการบินเข้าใกล้หรือเข้าไปในเมฆ
           (ช) ห้ามทําการบินภายในระยะเก้ากิโลเมตร (ห้าไมล์ทะเล) จากสนามบินหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยาน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของหรือผู้ดําเนินการสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาต
           (ซ) ห้ามทําการบินโดยใช้ความสูงเกินเก้าสิบเมตร (สามร้อยฟุต) เหนือพื้นดิน
           (ฌ) ห้ามทําการบินเหนือเมือง หมู่บ้าน ชุมชน หรือพื้นที่ที่มีคนมาชุมนุมอยู่
           (ญ) ห้ามบังคับอากาศยานเข้าใกล้อากาศยานซึ่งมีนักบิน
           (ฎ) ห้ามทําการบินละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น
           (ฏ) ห้ามทําการบินโดยก่อให้เกิดความเดือดร้อน ความรําคาญ แก่ผู้อื่น
           (ฐ) ห้ามส่งหรือพาวัตถุอันตรายตามที่กําหนดในกฎกระทรวงหรืออุปกรณ์ปล่อยแสงเลเซอร์ติดไปกับอากาศยาน
           (ฑ) ห้ามทําการบินโดยมีระยะห่างในแนวราบกับบุคคล ยานพาหนะ สิ่งก่อสร้าง หรืออาคาร น้อยกว่าสามสิบเมตร (หนึ่งร้อยฟุต)

ประเภท 1.ข มีน้ำหนักเกิน 2 กิโลกรัมแต่ไม่เกิน 25 กิโลกรัม กำหนดให้ผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี ไม่เป็นผู้มีพฤติการณ์เป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ ไม่เคยโดนโทษจำคุกในความผิดตามกฎหมายยาเสพติดหรือศุลกากร และต้องขึ้นทะเบียนต่ออธิบดีกรมการขนส่งทางอากาศ โดยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้เหมือนประเภท 1.ก และเพิ่มเติมอย่างการบำรุงรักษาอากาศยาน ความชำนาญในการบังคับอากาศยาน ความเข้าใจในกฎจราจรทางอากาศ ต้องมีอุปกรณ์ดับเพลิงที่ใช้งานได้ติดตัว มีประกันภัยต่อบุคคลที่สาม วงเงินไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาทต่อครั้ง เพิ่มระยะห่างในข้อ (ฑ) เป็นไม่น้อยกว่าห้าสิบเมตร (หนึ่งร้อยห้าสิบฟุต) เมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยไม่ชักช้า
    สำหรับอากาศยานประเภท 2 ก็ต้องขึ้นทะเบียนและปฏิบัติเงื่อนไขเช่นเดียวกับประเภท 1.ข กรณีที่ใช้เพื่อรายงานเหตุการณ์หรือรายงานจราจร (สื่อมวลชน) หรือวิจัยและพัฒนาอากาศยาน การขึ้นทะเบียนต้องเป็นนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ตามนั้น ส่วนเพื่อใช้ถ่ายภาพหรือการอื่นจะขึ้นทะเบียนเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลได้ โดยการขึ้นทะเบียนเป็นนิติบุคคลต้องระบุรายชื่อผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานหรือบุคคลที่จำเป็นในการปฏิบัติการบินของอากาศยานด้วย
ทั้งนี้ หนังสือการขึ้นทะเบียนมีอายุ 2 ปีตั้งแต่วันที่ออกหนังสือ

ไม่มีความคิดเห็น: