วันศุกร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2560

ยุทศาสตร์ชาติ 20 ปี รับมือได้แสดงว่ารู้อนาคต

ทุกๆ วันเราก็จะเห็นคำว่า 4.0 เต็มไปหมด เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่สามารถมองไปข้างหน้าได้ 20 ปี ว่าจะต้องเดินหน้าพัฒนาไปอย่างไร แต่ปัจจุบันเราแทบจะไม่สามารถคาดเดาได้ว่า อีกหกเดือนข้างหน้าโลกจะขับเคลื่อนเศรฐกิจไปในด้านใด ในปี 2540 เมื่อเราไม่รู้จะเข้าเว็บอะไรก็เข้าไปที่เว็บ yahoo.com ก่อน ต่อมาไม่ถึงสิบปี ผู้คนไม่รู้จะเข้าเว็บอะไรก็เข้าไปพิมพ์กันใน google แล้วเราจะมากำหนดได้อย่างไรว่า อีกหนึ่งปีข้างหน้าโลกจะเปลี่ยนไปในทิศทางไหน ถ้าวันนี้เราจะมาตีเส้นว่าทุกคนต้องทำเว็บให้ค้นเจอใน google อยากตั้งคำถาม "แน่ใจได้อย่างไร" ว่าต่อไปคนจะยังค้นหาอะไรๆ จาก google เพราะตอนนี้จะค้นหาอะไรมักจะเห็นเด็กๆ ค้นกันที่ Facebook Search...



การใช้งานเว็บในอดีต


ในช่วงปี 2540 คนจะเข้าเว็บก็จะพิมพ์ชื่อเว็บกันที่ Address ดังตัวอย่างในรูป
แต่ปัจจุบันหลายคนเข้าเว็บด้วยวิธีพิมพ์ชื่อเว็บที่ google
แล้วเราจะกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศ 20 ปีได้อย่างไร เพราะทุกอย่างเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว

การศึกษาในอนาคต

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าอนาคตผู้คนอาจจะให้ลูกเรียน Home School มากขึ้นก็ได้ เพราะหลายสิ่งหลายอย่างพ่อแม่ผู้ปกครองสามารถช่วยลูกๆ เรียนรู้นอกห้องเรียนได้มากมาย และมีวิธีการสอนที่แตกต่างไปจากโรงเรียนในปัจจุบัน และเราเริ่มเห็นวิถีทางแบบนี้มากขึ้น และในขณะที่ การเรียนนอกระบบที่ผู้ปกครองมีส่วนร่วมก็เริ่มมีให้เห็นกับค่ายปิดเทอม ยุคที่คนไม่เดินทางไปเรียนกับติวเตอร์แล้ว พ่อแม่อยากให้ลูกๆเรียนอะไรที่ในโรงเรียนให้พวกเขาไม่ได้...

ทางด้านพลังงาน

ในชีวิตจริงแผนระยะสั้นและระยะยาวมันจะต้องปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา เพราะมันมีตัวแปรภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้อยู่มาก เช่น ถ้าวันนี้มีคนคิดแบตเตอรี่ที่เก็บพลังงานแสงอาทิตย์แล้วใช้ในบ้านได้เป็นเวลาสามวันสามคืน โดยที่สามวันนั้นเกิดฝนตกไม่เจอแสงอาทิตย์เลย แต่เรายังคงที่เก็บสะสมเอาไว้ได้อยู่ และถ้าราคามันก็ถูกมาก พอๆ กับซื้อไอโฟนหนึ่งเครื่อง เราก็อาจจะไม่ซื้อไฟฟ้าจากการไฟฟ้าใช้อีกแล้วก็ได้ เพราะเราจะหาหนทางใช้พลังงานทางเลือกกันมากขึ้น...

ฝันลมๆ แร้งๆ

เมื่ออ่านถึงวิสัยทัศน์ ก็อดนึกไม่ได้ว่าทุกวันนี้เราซื้อซอฟต์แวร์ใช้กันเป็นว่าเล่น สอนให้ใช้ระบบปฏิบัติการที่ต้องซื้อหามาแล้วจะทำให้เกิดความพอเพียงได้อย่างไร ในเมื่อปัจจุบันเรามีซอฟต์แวร์ทางเลือกที่สามารถพึ่งพาตนเองกันได้ยั่งยืน และพอเพียงต่อฟังก์ชั่นการใช้งาน แต่ก็เลือกที่จะไม่ใช้งาน แล้วถ้าต้องซื้อลิขสิทธิ์เชิงพาณิชย์ทั้งหมดเราจะมั่งคั่งยั่งยืนได้อย่างไร และสังคมเราจะเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสารสนเทศอย่างเท่าเทียมได้หรือไม่ อย่าเพิ่งพูดถึง 20 ปีข้างหน้าเลย เอาปัจจุบันก่อนว่ามีแผนทางด้าน Digital Economy ไปในทิศทางไหน และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สไปอยู่ที่ใด มาตรฐานกลางที่เป็นมาตรฐานที่เอาไว้แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสถานประกอบการกับภาครัฐที่พวกเขาไม่ต้อองลงทุนอยู่ส่วนใด...

ในธุรกิจดิจิทัลขนาดใหญ่ พวกเขาขับเคลื่อนธุรกิจกันด้วย "โอเพนซอร์ส" เช่น TripAdvisor ใช้ Linux Server ใช้ Java ใช้ Python ขับเคลื่อนธุรกิจ Facebook ใช้ Linux ขับเคลื่อนธุรกิจ แต่รัฐบาลไทยซื้อทุกอย่างที่เขาเสนอให้ ถ้าไม่บรรจุแผนการขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีแบบเปิด "ซอฟต์แวร์ทางเลือก" เปิดรับเทคโนโลยีที่เป็นทิศทางการพัฒนาของโลก เราคงเป็นได้แค่ผู้ตามใช้เทคโนโลยี ไม่ต่อยอด ไม่ศึกษาเพิ่มเติม อีกนานจึงจะเป็นแชมป์โลกด้านเศรษฐกิจดิจิทัล ในเมื่อเทคโนโลยีดิจิทัลต้องลงทุนด้วยการศึกษาไม่ใช้ลงทุนด้วยการซื้อเทคโนโลยีซอฟต์แวร์....ครับ...


ไม่มีความคิดเห็น: