วันอังคารที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2564

Alibaba ผูกขาดทางการค้า จนกระทั่งถูกรัฐบาลจีนปรับ

 Alibaba เคยเป็นลูกรักของรัฐบาลจีน ประคับประคองจนกระทั้งขึ้นมาเป็น บริษัทที่มีขนาดใหญ่ ที่บอกว่ารัฐบาลช่วยเหลือกันมาไม่ผิดหรอกครับ เพราะสมัยแรกๆ รัฐบาลส่งเสริมการขายด้วยค่าส่งสินค้าฟรี เลยทำให้มีผู้ค้าไปเปิดบัญชีขายสินค้า นอกจากจะมีขายปลีกยังมีขายส่งจากโรงงานอีกด้วยที่ได้รับความนิยม

ประเทศไทยเกี่ยวข้องกับ Alibaba ก็ตรงที่เข้ามาซื้อกิจการ LAZADA ก็ถือว่าส้มหล่น Lazada เพราะก่อนหน้านั้นก็ขาดทุนต่อเนื่อง เพราะน่าจะมาก่อนเวลาที่คนไทยจะลุกขึ้นมาซื้อสินค้าในรูปแบบออนไลน์

กลับไปที่จีน รัฐบาลของเขาไม่ยอมให้ บริษัท เทคโนโลยี จากอเมริกาเข้าไปทำมาหากินได้เลย เช่น Amazon Facebook Microsoft Google ถือได้ว่า Alibaba เองนั้นก็ได้รับประโยชน์ไปเต็มๆ

การที่อาลีบาบาถูกปรับในครั้งนี้ถือว่าเป็นความเคลื่อนไหวของหน่วยงานกำกับดูแลการตลาดของจีน ในการรณรงค์เพื่อที่จะควบคุมและดูแลบริษัทอินเทอร์เน็ตอย่างเข้มงวด บทลงโทษที่บังคับใช้กับอาลีบาบา ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทเอกชนที่มีมูลค่า มากลำดับต้นๆของจีน และเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรธุรกิจของแจ็คหม่า ( Jack Ma ) ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่มีชื่อเสียงและมีความเคลื่อนไหวนอกประเทศจีน การเคลื่อนไหวครั้งนี้ของรัฐบาลจีนก็ถือเป็นการรณรงค์ให้คุมเข้มและกำกับดูแลบริษัทบิ๊กเทคโนโลยีทั้งหลาย ในจีนด้วย พูดง่ายๆเชือดไก่ให้ลิงดู

หน่วยงานกำกับดูแลการตลาดของจีน เริ่มเคลื่อนไหวตั้งแต่เดือนธันวาคมที่ผ่านมาด้วยการเข้าตรวจสอบว่ามีการละเมิดกฎหมายต่อต้านการผูกขาดของประเทศหรือไม่ โดยการที่ ป้องกันไม่ให้พ่อค้านำสินค้าไปขายกับแพลตฟอร์มอื่น ดังนั้นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นการพิสูจน์ว่า อาลีบาบานั้นทำผิดในเงื่อนไขอันนี้จริง

รัฐบาลจีน กล่าวว่าสิ่งที่ สิ่งที่อาลีบาบา ทำเป็นการขัดขวางการแข่งขันในการค้าปลีกออนไลน์ส่งผลกระทบในทางเศรษฐกิจ จากช่องทางอินเทอร์เน็ตและส่งผลร้าย ต่อผลประโยชน์ของผู้บริโภค

ค่าปรับ ที่ Alibaba เสียในครั้งนี้ คิดเป็น 10 เปอร์เซ็นต์ของยอดขายในประเทศของ Alibaba ที่บริษัทรายงานผลกำไรในปี 2562 ที่มากกว่า 12 พันล้านดอลลาร์ หรือเป็นยอดขายในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปี 2563 แค่นั้นเอง

แต่เหตุการณ์ครั้งนี้อาลีบาบาก็แถลงการยอมรับ การปรับด้วยความจริงใจและจะเสริมสร้างระบบภายในเพื่อตอบสนองความรับผิดชอบต่อสังคมให้ดีขึ้น

จีนเริ่มสอบสวนข้อเท็จจริงเมื่อปีที่แล้ว กับเหตุการณ์ในครั้งนี้ คณะกรรมการควบคุม ตลาดของจีนได้เสนอให้ปรับปรุงกฎหมายต่อต้านการผูกขาด ด้วยบทบัญญัติใหม่สำหรับแพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ตขนาดใหญ่ ดังนั้นในเดือนพฤศจิกายนเจ้าหน้าที่จึงได้หยุด แผน ของแอลกรุ๊ปในการเข้าตลาดของ Alibaba ant Group คือบริษัทที่มุ่งเน้นในเรื่องของการเงิน

กลับมาดูในประเทศไทย ดูเหมือนว่าการควบรวมกิจการของตลาดค้าปลีกค้าส่งสมัยใหม่ ยักษ์ใหญ่ สอง แห่งนั้น ได้ทำการควบรวมไปแล้ว คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าของไทย ถึงได้เริ่มมีการเข้ามาควบคุมเนื่องจากกระแส สังคมกล่าวว่าเหตุการณ์ในครั้งนั้นอาจจะทำให้เกิดการผูกขาดในตลาด

เมื่อตามกลับไปเช็คข่าวก็พบว่าเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2556 4 เลขาธิการคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ก็ได้เปิดเผยว่า คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค) ได้กำหนดเงื่อนไขประกอบการอนุญาตรวมธุรกิจค้าปลีกของกลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่ ได้กำกับดูแลให้บริษัท ในตลาดค้าปลีกค้าส่งสมัยใหม่ ให้ปฏิบัติตามเงื่อนไข ที่กำหนดหลังจากควบรวมกิจการอย่างเคร่งครัดและได้กำหนดแนวทางการตรวจสอบและติดตามผลการปฏิบัติตามเงื่อนไขเพื่อกำกับดูแลให้มีการแข่งขันทางการค้าในตลาดค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคอย่างเสรีและเป็นธรรม โดยให้รายงานผลประกอบการธุรกิจตามเงื่อนไขที่กำหนดในวันที่ 1 เมษายน 2564 และรายงานผลเป็นประจำทุก 3 เดือนเพื่อให้กขสามารถติดตามและตรวจสอบการประกอบธุรกิจได้อย่างเข้มงวด

(ข้อความต่อไปนี้ดัดแปลงเอาชื่อบริษัทออกไป อ้างอิงมาจาก มติชน https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2620573)

1. ให้มีหนังสือ รับรองว่าจะไม่ร่วมธุรกิจกับผู้ประกอบการธุรกิจรายอื่นในตลาดค้าปลีกค้าส่งเป็นระยะเวลา 3 ปี และในกรณีที่มีการซื้อหุ้นหรือซื้อทรัพย์สินของผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกค้าส่งรายอื่นที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์หรือผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกค้าส่งทั่วไปแต่การซื้อหุ้นคือทรัพย์สินไม่เข้าหลักเกณฑ์การรวมธุรกิจจะต้องรายงานให้ กขค. ทราบภายใน 15 วัน

2. ให้แจ้งแผนการเพิ่มสัดส่วนของยอดขายสินค้าที่มาจากผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้แก่กลุ่มสินค้าเกษตรสินค้าเกษตรชุมชนสินค้าชุมชนสินค้าวิสาหกิจชุมชนหรือผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นและกลุ่มสินค้าอื่นๆโดยให้เพิ่มยอดขายจากปี 2563 ในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ต่อปี เป็นระยะเวลา 5 ปีและให้รายงานผลการดำเนินการภายในไตรมาสแรกของทุกปี

3. ให้กลุ่มบริษัทต่างๆ มีหนังสือรอรับรองว่าจะไม่ใช้ข้อมูลร่วมกันหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการตลาดที่เกี่ยวข้องกับผู้ผลิตและผู้จำหน่ายสินค้าหรือวัตถุดิบโดยให้ถือว่าเป็นความลับทางการค้า

4. ให้บริษัทผู้ขายกิจการ ดำเนินการโครงไว้ตามเงื่อนไขของสัญญาและข้อตกลงกับผู้จัดจำหน่ายสินค้าหรือวัตถุดิบรายเดิมที่ได้มีการทำสัญญาหรือข้อตกลงไว้แล้วก่อนการรวมธุรกิจเป็นระยะเวลา 2 ปีเว้นแต่การเปลี่ยนแปลงที่เป็นคุณหรือประโยชน์ต่อผู้ผลิตและผู้จำหน่ายสินค้าหรือวัตถุดิบและจะต้องได้รับการยินยอมจากผู้ผลิตและผู้จำหน่ายสินค้าหรือวัตถุดิบนั้นๆและรายงานผลการดำเนินการทุก 3 เดือน

5. ให้ทั้ง 2 บริษัทที่ทำการควบรวมกำหนดระยะเวลาการให้สินเชื่อทางการค้า แก่ผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมโดยกลุ่มสินค้าเกษตรสินค้าชุมชนสินค้า OTOP ไม่เกิน 30 วันและกลุ่มสินค้าอื่นๆไม่เกิน 45 วันเป็นระยะเวลา 3 ปีกรณีข้อกำหนดระยะเวลาการให้สินเชื่อเดิมน้อยกว่าให้ใช้ข้อกำหนดระยะเวลาการให้สินเชื่อเดิมโดยให้รายงานผลการให้สินเชื่อทางการค้าของ SME ทุกรายในวันที่ 1 เมษายน 2564 และให้รายงานผลการดำเนินการเป็นประจำทุก 3 เดือน

6. ให้ทั้ง 2 บริษัทที่ควบรวมกิจการรายงานผลการประกอบธุรกิจใด้แก่ข้อมูลสาขาและการขยายสาขาหรือยกเลิกสาขาทุกจังหวัด ทั่วประเทศในวันที่ 1 เมษายน 2564 และรายงานผลการขยายสาขาหรือยกเลิกสาขารวมทั้งรายงานยอดขายสินค้าจำแนกตามหมวดสินค้าเป็นประจำทุก 6 เดือน

7. ให้กลุ่มบริษัทต่างๆ กำหนดมาตรฐานในการปฏิบัติทางการค้าที่ดีและเผยแพร่ต่อสาธารณชนในวันที่ 1 เมษายน 2564 และให้ถือปฏิบัติตามมาตรฐานดังกล่าวรวมทั้งต้องปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าเรื่องแนวทางการพิจารณาทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมระหว่างผู้ประกอบการธุรกิจค้าส่งค้าปลีกกับผู้ผลิตหรือผู้จำหน่าย 2562

ความเห็นส่วนตัว ตั้งข้อสังเกตว่าการที่ (กขค) ออกมาเคลื่อนไหวหลังจากที่การควบรวมกิจการนั้นเกิดขึ้นไปแล้ว จะสามารถกำกับดูแลได้ ขนาดไหน เจ็ดข้อที่ออกมา มียะเวลาเงื่อนไข น้อยไป เช่นจะไม่มีการควบรวมกันอีกเป็นเวลา 3 ปี แต่ก็ยังสามารถทยอยซื้อหุ้นได้ เป็นต้น

ปัจจุบันการขายสินค้าออนไลน์ในประเทศไทยยังไม่พบเงื่อนไข การผูกขาด แต่ในโลกของการขายสิ่งพิมพ์แบบนิตยสาร มีการห้ามจัดจำหน่ายกับบริษัทกระจายสินค้ารายอื่นถ้าทำสัญญากับรายใดรายหนึ่ง สาเหตุน่าจะเกิดจากการเก็บคืนหนังสือหลังจากหมดเวลา หากเล่มเดียวกันมีผู้จัดจำหลายแห่งร้านค้าก็จะส่งคืนไม่ถูก เช่นเดียวกัน เมื่อสิบกว่าปีก่อน การฝากขาย e-book ของผู้ให้บริการบางรายก็มีการผูกขาด ว่าขายกับแอปนี้แล้ว ห้ามไปขายกับแอปอื่น แต่ปัจจุบันเรื่องดังกล่าวได้หมดไปแล้ว

อ้างอิง
https://otcc.or.th/trade-competition-act-b-e-2560/

ไม่มีความคิดเห็น: