กลุ่มนี้ตั้งในช่วงที่รัฐบาล สั่งให้ทุกกิจการหยุดอยู่บ้านในช่วง มีนาคม - พฤษภาคมที่ผ่านมา จึงทำให้ นักศึกษาหลายมหาวิทยาลัย เปิดกลุ่ม มาร์เก็ตเพลสกันขึ้นมา เพื่อซื้อขายสินค้าโดยใช้ชื่อ มหาวิทยาลัย เช่น ธรรมศาสตร์มาเก็ตเพลส จุฬามาเก็ตเพลส โดยมีรุ่นพี่ รุ่นน้อง ศิษย์เก่า มาโพสต์ซื้อ ขายสินค้ากัน
หลังจากเฟสบุคได้ทำการปิดกลุ่มนี้ไป ก็มีการให้สัมภาษณ์ของ โฆษกเฟสบุคผ่าน CNN และเว็บไซต์ Business Insider [อ้างอิง ข่าวจาก CNN]
Facebook กล่าวว่ารัฐบาลไทย "บังคับ" ไม่ให้ผู้ใช้ในประเทศไทยเข้าถึง Royalist Marketplace ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีสมาชิก 1 ล้านคนที่มีโพสต์เกี่ยวกับราชวงศ์ไทย เฟซบุ๊กระบุว่ารัฐบาลเห็นว่าเนื้อหา "ผิดกฎหมาย"
"คำขอเช่นนี้รุนแรงขัดต่อกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศและส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแสดงออกของผู้คน" โฆษกของ Facebook กล่าวในแถลงการณ์ของ CNN Business "เราทำงานเพื่อปกป้องและปกป้องสิทธิ์ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนและกำลังเตรียมที่จะท้าทายคำขอนี้ตามกฎหมาย"
ไม่กี่ชั่วโมงต่อมาหลังจากปิดไป ผู้ก่อตั้งกลุ่ม รอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลส” ก็ได้ตั้งกลุ่มขึ้นมาใหม่และก็มีผู้ติดตามกลับมากว่า 6 แสนคนภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง
จากประเด็นที่เกิดขึ้นนี้เฟสบุคเองก็คงออกมาแสดงจุดยื่นว่าเขาส่งเสริมเสรีภาพในการ แสดงความคิดเห็น ตามประเภทของธุรกิจของเฟสบุค การที่เฟสบุคจะฟ้องจริงหรือไม่นั้นคงต้องติดตามกันต่อไป
จากกระแสของเรื่องนี้ทำให้ข้อความ รอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลสติดอันดับเทรนของ Google ในวันนี้
ที่ผ่านมา Facebook มีนโยบายลบข้อความที่ก่อให้เปิดความรุ่นแรงของนักการเมืองมาแล้ว ดังนั้นไม่ใช่ครั้งแรกที่ Facebook จะมีปัญหากับ นักการเมือง เช่นในประเทศตัวเอง Facebook ก็เคยมีปัญหากับทรัมป์ เรื่องการลบ ข้อความหาเสียงที่ก่อให้เกิดความรุนแรง
ที่อินเดีย Facebook ก็มีปัญหากับ นาย T. raja Singh นักการเมือง [อ้างอิง ข่าวจาก WSJ] กับการพูดที่ถึง ชาวโรฮิงญา ไปในทางที่ทำให้เกิดความเกลียดชัง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น