วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

e-sport เป็นกีฬาหรือแค่เด็กติดเกมส์


เกมคอมพิวเตอร์ หรือ เมื่อก่อนเราเรียกว่า วิดีโอเกมส์ เพราะสมัยก่อนเครื่องเล่นเกมมีลักษณะคล้ายเครื่องเล่นวีดีโอและมีหน้าจอแสดงผลเป็นจอของทีวี ต่อมาเราเริ่มมีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่สามารถใช้งานตามบ้านได้ เราก็มีเกมส์คอมพิวเตอร์มาตั้งแต่ยุคแรกๆ วันนี้จะมาคุยกันว่าจะรับมือ e-sport ยังไงจะไม่ส่งเสริมก็จะเสียโอกาสจุดกึ่งกลางจะเป็นอย่างไร

ปัจจุบันเกมคอมพิวเตอร์พัฒนาการมาไกลมากพร้อมๆกับการมีอินเตอร์เน็ตทำให้เกิดเกมส์ออนไลน์ที่สามารถเล่นกับใครก็ได้ที่ออนไลน์อยู่ ทำให้เกิดปรากฏการหลายอย่าง คำว่า game ก็คือกีฬา ดังนั้นเมื่อมองว่า เป็นกีฬา ก็น่าจะเรียกว่า e-sport

เนื้อหาในวันนี้มีนักลงทุนเข้ามาลงทุนกับอุตสาหกรรมเกมส์คอมพิวเตอร์ ก็เนืองจากมีการนำเกมคอมพิวเตอร์ไป แข่งขั้นในระดับสากล ก็เหมือนกับเป็นนักกีฬาทีมชาติ แน่นอนมันก็จะมีเรื่องของทีมต้นสังกัดเหมือนสมาคมฟุตบอล หรือ ทีมฟตบอล ดังนั้น ก็จะมีการฝึกซ้อม การฝึกซ้อมไม่ได้ให้เล่นเกมอย่างเดียว แต่ต้องมีเวลาซ้อมและเวลาออกกำลังกายในส่วนอื่นๆด้วย

เล่มเกมแล้วได้เงิน เงินนั้นมาจากไหน ก็มาจากการซื้อขายเครื่องมือในเกมส์ เช่น ขายให้กับผู้เล่นด้วยกัน รายได้จากการชนะการแข่งขั้น

อุตสาหกรรมเกมส์ ที่มาแรงมากก็คือเกาหลีนั่นเอง อุสาหกรรมของเขาคือผลิตเกมส์ ให้ผู้คนได้เข้าไปเล่นและซื้อขายอาวุธในเกมส์ดังนั้นเมื่อเป็นแบบนี้ ก็จะเกิดเม็ดเงินเข้ามาในอุตสาหกรรมนี้ เพราะมันคือ creative economy ระบบเศรษฐกิจที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์

ถ้าเรามองให้รอบด้านเราจะพบว่าธุรกิจที่เกิดจาก e-sport นั้นมีอะไรบ้าง


  • การเป็นโปรโมเตอร์หรือผู้จัดงาน การแข่งขัน
  • การสร้างทีมนักกีฬา หรือ ค่าย
  • software เกมส์ที่จะผลิตออกมาให้ได้รับการยอมรับให้บรรจุว่าเป็นเกมส์ในรูปแบบ e-sport ได้ซึ่งก็จะมีเงื่อนไข
  • Hard ware ที่ใช้ในการเล่น ไม่ว่าจะเป็น keyboard , JoyStick , จอภาพ และอื่นๆ
ถ้ามองในภาพรวมเราจะเห็นว่าในแวดวงการศึกษาจึงต้องเข้ามามีบทบาท เพื่อเป็นช่องทางให้ผู้ที่สนใจในเรื่องนี้เดินไปในทิศทางที่ถูก ต้องสอนอะไร เช่นสอนการสร้างเกมส์ วิเคราห์ ออกแบบเกมส์ อย่างไรให้เป็น e-sport ซึ่งคนที่จะรู้ดีว่า e-sport เป็นอย่างไรคงต้องคลุกคลีในด้านนี้ด้วย จะฝึกฝนอย่างไร แบ่งเวลาฝึกอย่างไร รวมถึง การเข้าสู่การเป็นออการ์ไนส์ในการจัดการแข่งขั้นการวางกติกา การแข่งขั้น


การที่มหาวิทยาลัยหลายแห่งเปิดสาขานี้ก็เพราะอยากจะให้เกิดความเข้าใจรอบด้านว่า e-sport นั้นมันมีด้านดีก็มีส่วนด้านลบที่หลายคนพบเจอก็คือ การหมกมุ่นในเกมส์จน ไม่เป็นอันกินอันนอน การไม่รู้จักประมาณตน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมืออุปกรณ์ที่มีราคาสูงไม่เหมาะกับฐานะของผู้ปกครอง หรือ โอกาสที่จะเป็น StartUP ในสายนี้ก็จะต้องมีการส่งเสริมที่ชัดเจน

แบบไหนที่เรียกว่าติดเกมส์

คำตอบก็คือ
ไม่ประมาณตนเองให้เวลากับการเล่นมากกเกินไป 
ไม่รู้จักเวลาที่ควรเช่นนั่งเรียนแล้วเปิดเกมส์ขึ้นมาเล่นจะเล่นด้วย bot ก็ตาม 
ไม่ออกกำลังกาย หรือ มีการ Train ที่ถูกต้อง
การเอาชนะโดยไม่สนใจคุณธรรม ต้องรู้แพ้ รู้ชนะ 

WHO หรือ องค์อนามัยโลกที่จัดให้ภาวะติดเกมถือเป็นอาการป่วย
Park Yang-Woo รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวของประเทศเกาหลีใต้ได้ออกมาประกาศว่าจะยังคงสนับสนุนอุตสาหกรรมเกมสำหรับตลาดในประเทศ พร้อมทั้งเตรียมมาตรการเพื่อรับมือกับการวินิจฉัยของ WHO

แต่เกาหลีใต้ก็ยังเดิน หน้าผลักดันการพัฒนาวงการอุตสาหกรรมเกมต่อไป ซึ่งรวมถึง esports การลงทุนในบริษัทผลิตเกมและผลประโยชน์ทางภาษี

“แม้ว่าจะยังมีบางคนที่มองว่าเกมเป็นสิ่งอันตราย แต่เกมก็ได้กลายมาเป็นกิจกรรมทางวัฒนธรรมและการสันทนาการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว”

อีสปอร์ต (อังกฤษ: Esports) หรือ กีฬาอิเล็กทรอนิกส์ (อังกฤษ: electronic sports) คือกีฬาประเภทบุคคลหรือทีมชนิดหนึ่ง กรมกีฬาได้จัดEsportเป็นส่วนหนึ่งของกีฬาที่เกี่ยวกับกับการแข่งขันวิดีโอเกม โดยมีการแข่งตามประเภทของวิดิโอเกมเช่น เกมวางแผนการรบ, เกมต่อสู้, เกมยิงมุมมองบุคคลที่หนึ่ง, โมบา การแข่งขันนั้นแบ่งออกเป็นระดับสมัครเล่น กึ่งอาชีพ และระดับมืออาชีพ รวมถึงมีรายการแข่งขันและลีกต่าง ๆ เช่นเดียวกับกีฬาทั่วไป ในปี 2017 ผู้ชมอีสปอร์ตมีจำนวนรวมทั้งสิ้นประมาณ 385 ล้านคนทั่วโลก[1]

อีสปอร์ตได้รับการบรรจุให้เป็นการแข่งขันกีฬาชิงเหรียญอย่างเป็นทางการในเอเชียนเกมส์ 2022 โดยจะจัดขึ้นฐานะกีฬาสาธิตในเอเชียนเกมส์ 2018

ในประเทศไทยได้มีการคัดค้านการรับรองอีสปอร์ตเป็นกีฬา โดยเห็นว่าอีสปอร์ตยังไม่เหมาะสมกับสังคมไทยที่มีปัญหาการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะปัญหาเด็กและเยาวชนเสพติดเกม แต่ในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ที่ประชุมคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยได้เห็นชอบให้อีสปอร์ตเป็นชนิดกีฬา ที่สามารถจดทะเบียนจัดตั้งเป็นสมาคมกีฬาในประเทศไทยได้ และได้รับการลงนามอนุมัติอย่างเป็นทางการจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาในวันที่ 17 ตุลาคม 2560 ทำให้ไทยสามารถส่งผู้เข้าแข่งขันอีสปอร์ตในนามทีมชาติไทยอย่างเป็นทางการได้ ในรายการแข่งขันอีสปอร์ตระหว่างประเทศต่าง ๆโดยการเห็นชอบดังกล่าวได้มองในมุมของการแข่งขันหรือกีฬา ว่าเป็นคนละส่วนกันกับปัญหาการติดเกม คล้ายกับที่เคยรับรองสนุกเกอร์ว่าเป็นกีฬา โดยมองว่าเป็นคนละส่วนกับการที่โต๊ะสนุกเกอร์อาจเป็นแหล่งมั่วสุมของเยาวชน ก่อนหน้านี้ในเดือนมิถุนายน 2560 คณะกรรมการโอลิมปิกของประเทศลาวได้ให้การรับรองอีสปอร์ตในลักษณะเดียวกัน

ไม่มีความคิดเห็น: