วันพุธที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2560

NB-Iot ความพร้อมของอินเตอร์เน็ตสำหรับทุกสรรพสิ่ง


เนื่องจาก อุปกรณ์ประเภท ที่เกี่ยวข้องกับ Internet Of Things จำเป็นจะต้องเชื่อมต่อกับเครือข่าย Internet เพื่อทำการส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ ด้วยกันเอง หรือ อุปกรณ์กับ Server หรือเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายเพื่อนำไปประมวลผลหรือจะเก็บเป็น Logs ที่ได้มาจากเซ็นเซอร์ต่าง ๆ
ยกตัวอย่าง การเก็บอุณหภูมิและความชื้นในห้องควบคุมบางอย่าง ซึ่งต้องการจะเก็บข้อมูลทุกวินาทีเพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการควบคุม ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้กับหลายเหตุการ เช่น การควบคุมอุณภูมิสำหรับ ฟราม์แบบปิดเพื่อเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การเก็บข้อมูล อุณหภูมิความชื้นในพื้นที่แบบเปิด เพื่อนำข้อมูลรายวินาทีไป ทำนายว่าวันนี้ฝนน่าจะตก

สถานที่จอดรถในกรุงเทพ ที่นับวันจะหาได้ยาก ก็พบกับปัญหาที่ว่าถ้าเรานำรถเข้าไปในห้างสักแห่งแล้วไปวนหาที่จอด กว่าจะเจอบางทีก็ปาเข้าไปกว่าครึ่งชั่วโมง ถ้าหากเราสามารถรู้ได้ว่าตอนนี้ห้างที่เราจะไปมีจำนวนที่จอดรถเหลือเท่าไหร ปริมาณการเข้าออกของรถใช้ระยะเวลามากน้อยเท่าไหร่ โดยให้ระบบทำการตรวจจับและประเมินให้ เราจะได้รู้ว่าจะนำรถไปจอดดีหรือไม่

การใช้ส่งข้อมูลของเซ็นเซอร์เหล่านี้ต้องการเครือข่ายที่สื่อสารกันระยะไกลได้เช่น ลานจอดรถทุกชั้นอุปกรณ์เหล่านี้สามารถสื่อสารกันเองได้ ก็แล้วในเมื่อเรามี Wifi ละใช้ได้ไหมคำตอบก็คือได้

แต่ถ้าต้องการยิงข้อมูลไปประมวลผลบนอินเตอร์เน็ตหรือคราว์นละก็ต้องมีทางออกสู่คราว์นหรืออินเตอร์เน็ต แล้วถามว่าทำไมเราไม่ใช้ 3G 4G ก็เพราะอุปกรณ์ประเภท 3-4G ออกแบบมาให้ใช้งานส่งข้อมูลคราวละมากๆ เช่น ภาพ เสียง ตัวอักษร แต่ข้อมูล จำพวก Iot มัสส่งข้อมูลคราวละไม่มาก ไม่กี่ตัวอักษร เช่น วันที่ เวลา ข้อมูล อุณหภูมิ ความชื่น หรือ ข้อมูลจากเซ็นเซอร์อื่น ๆ บางทีมีแค่ 0 กับ 1 เท่านั้นหรือเลขไม่กี่หลัก

อุปกรณ์ประเภท 3-4G กินพลังงานสูงยกตัวอย่างโทรศัพท์มือถือที่ใช้งานกันถ้าเราปิด Internet ไว้เครื่องเราจะสามารถรอรับสายได้ทั้งวันหรือเกินหนึ่งวัน

ส่วน Iot จะต้องการพลังงานไม่มากเพราะข้อมูลมีแค่ตัวอักษรบรรทัดเดียวเราจึงสามารถใช้แบตไม่มากจึงทำให้สะดวกที่จะใช้เวลาเป็นเดือนเพื่อเปลี่ยนแบต หรือ หาพลังงานด้านอื่น ๆทดแทน อยู่ได้เป็น ปี

เหตุผลที่อธิบายมาทั้งหมดนี้ทางออกจึงเป็นมาตรฐานของเทคโนโลยีที่จะใช้ในเรื่องของ IoT หรือ Internet Of Things ของสัปดาห์นี้

NarrowBand IoT (NB-IoT) คือ NarrowBand IoT (NB-IoT) เป็นมาตรฐานเทคโนโลยีวิทยุแบบ Low Power Wide Area Network (LPWAN) ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อให้สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์และบริการต่างๆได้โดยใช้คลื่นความถี่เคลื่อนที่ ออกแบบโดย 3GPP (Third Generation Partnership Project)

เนื่องจากเป็นมาตรฐานที่ออกโดย 3GPP ซึ่งเป็นกลุมที่ทำ GSM หรือมาตรฐาน TLE ก็เดาได้เลยว่า บ้านเราต้องเป็นผู้ให้บริการดั้งเดิมซึ่งลงมาจับเรื่องนี้ก่อนอย่าง AIS และ true ก็เปิดตัวกันแล้ว ก็ลองติดตามกันว่าเมื่อเปิดตัวแล้วจะสามารถตอบสนองต่อความต้องการของนักพัฒนา ได้มากแค่ไหนซึ่งเท่าที่ดูตอนนี้ ตลาดที่ทำเครื่องมือสื่อสารที่จะนำมาใช้ยังมีไม่มากเพราะเพิ่งจะประกาศใช้เมื่อเดือน มิถุนายน 2559 เมื่อเทียบกับ มาตรฐาน LoRa ละ

LoRa หรือ LORAWAN เป็นอีกมาตรฐานหนึ่งที่ออกแบบมาในลักษณะเดียวกันเพื่อประโยชน์แบบเดียวกันก็เป็นที่น่าจับตามองเพราะในตลาดขายอุปกรณ์เชื่อมต่อค่อนข่างจะหาง่าย และที่สำคัญมันมีความอิสระกว่าไม่ต้องพึงพาผู้ให้บริการ เพราะออกแบบมาให้ทำการรับส่งทำงานได้ทันทีเหมือนเครื่องรับส่งวิทยุ แต่ก็ติดปัญหาตรงที่ว่าการใช้งานคลื่นความถี่ในย่านที่ LoRa ใช้งานจะต้องขอใบอนุญาตก่อนบ้านเรายอมให้แค่วิทยุ CB ที่ รปภ ใช้งานกันเท่านั้น ย่านความถี่ที่สูงกว่านี้ต้องมีใบอนุญาต

ส่วนตัวผมต้องการใช้งานทั้งสองประเภทเพราะงานบางอย่างตอบโจทย์ไม่เหมือนกันและงานบางอย่างไม่มีความจำเป็นต้องทำงานร่วมกับเครือข่ายอื่น ๆ ก็ต้องดูว่า กสทช จะมีทิศทางอย่างไรกับ LoRa ด้วยเช่นกันเพื่อการพัฒนา Thailan 4.0

ไม่มีความคิดเห็น: