วันพุธที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ธุรกิจดิจิทัลส่งผลต่ออการจัดเก็บรายได้

ทุกวันนี้หลายๆบริษัท SME ก็มีการซื้อโฆษณาผ่าน Google adword ผ่าน Facebook เพื่อให้ได้ยอดขายยอด Like บาง SME ซื้อ Line@ เพื่อให้เป็นช่องทางในการติดต่อของลูกค้า และบริษัทเอกชนไม่ว่าจะขนาดใหญ่หรือเล็กก็มีการออกไปจ่ายเงินให้กับบริษัทต่างชาติเหล่านี้ ปัจจุบันทำได้เป็นเพียงลงบัญชีเป็นรายจ่ายบริษัท มีการรายงานรายรับรายจ่ายผ่านระบบของ กรมธุรกิจการค้า สำหรับการรายงานผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในประเทศอยู่แล้ว

ปัจจุบันประเทศไทยเริ่มเคลือนไหวในเรื่องการจัดเก็บภาษีของผู้ประกอบการ อีคอมเมอร์ชในประเทศแต่คำถามที่ตามมาก็คือเมื่อเราจัดเก็บผู้ประกอบการในประเทศแล้วผู้ประกอบการต่างประเทศละจะทำอย่างไร

มีการค้นข้อมูลการจดทะเบียนบริษัทกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าว่า Google ประเทศไทย Facebook ประเทศไทย Line ว่าบริษัทเหล่านี้เสียภาษีกันเท่าไหร

อ้างจากเว็บไซตประชาชาติธุรกิจ http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1497802439

จากข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ งบการเงินปี 2559 ของบริษัท กูเกิล (ประเทศไทย) จำกัด มีรายได้รวม 535.34 ล้านบาท กำไรสุทธิ 19.87 ล้านบาท และมีการชำระภาษีเงินได้ 20.25 ล้านบาท, บริษัท ไลน์ คอมพานี (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ให้บริการแอปพลิเคชั่นไลน์ ไลน์ทีวี ไลน์มิวสิก และอื่น ๆ มีรายได้รวม 137.80 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 211.61 ล้านบาท โดยที่ยังไม่มีรายการเสียภาษีเนื่องจากผลประกอบการยังขาดทุน ขณะที่บริษัท เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่เป็นเจ้าของแอปวีแชท, Joox และเว็บไซต์สนุกดอทคอม รายได้รวม 412.30 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 156.27 ล้านบาท ไม่เสียภาษีเนื่องจากขาดทุน

ขณะที่บริษัท เฟซบุ๊ก (ประเทศไทย) จำกัด เป็นข้อมูลงบการเงินปี 2558 แจ้งรายได้ 7.13 ล้านบาท กำไรสุทธิ 3.82 แสนบาท และมีรายการภาษีเงินได้ 1.31 แสนบาทเท่านั้น 

ทั้งนี้ในปี 2559 ที่ผ่านมา เฟซบุ๊กมีรายได้ทั่วโลกรวมถึง 27,638 ล้านเหรียญสหรัฐ (940,975 ล้านบาท) และมีกำไรสุทธิ 10,217 ล้านเหรียญสหรัฐ (357,595 ล้านบาท) คิดเป็นอัตรากำไรสูงถึง 38% เพราะต้นทุนของเฟซบุ๊กต่ำมาก นอกจากมีการจ้างพนักงานทั่วโลกแค่ 17,048 คนแล้ว ในการขอการดำเนินธุรกิจในประเทศต่าง ๆ ก็แทบจะไม่มีการเสียภาษี 

แนวทางที่สรรพากรจะเอามาใช้สำหรับมาตรการ ให้เอกชนที่ซื้อบริการต่าง ๆ จากต่างประเทศให้หักภาษี ณ ที่จ่าย 5% ทางเมื่อได้ยินมาตรการดังกล่าวเอกชนอย่างเราๆ ก็สงสัยว่าจะทำอย่างนั้นได้อย่างไรในเมื่อ บริการต่าง ๆ ชำระผ่านบัตรเครดิต ซึ่งจ่ายตรงไปยังต่างประเทศและเก็บเต็มจำนวนตามที่ระบุและหากไม่เต็มตามจำนวนบริการต่าง ๆ ก็จะไม่สามารถเปิดใช้งานได้

ไม่มีความคิดเห็น: