วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ไมโครซอฟต์กำลังจะทำ defender สำหรับ android , ios และ Linux

สถานการณ์ ไวรัสคอมพิวเตอร์ รุนแรงไม่แพ้กับไวรัสในมนุษย์เหมือนกัน ก็คือ ไวรัสคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันไวรัส ที่เราเคยพูดกันว่า mac หรือ Apple ไม่ติดไวรัส Linux ไม่ติดไวรัส แต่ในปัจจุบัน ไวรัสสามารถติดต่อผ่าน เว็บไซต์ผ่านการโฆษณาหลอกลวงต่าง ๆ ติดต่อกันผ่าน link ที่ส่งต่อๆกันผ่าน line เพื่อลักลอบขโมยข้อมูล บัญชีธนาคาร หรือ ทำให้การทำงาน ผิดพลาด หาก ติดไปถึงเครื่อง ของผู้ใช้งาน

ในปีที่ผ่านมาไมโครซอฟต์ได้เปิดตัว EDR สำหรับ  macOS และได้รับการตอบรับอย่างดี และได้พยายามที่จะทำให้สามารถใช้งานเพิ่มเติมผ่านระบบปฏิบัติการอื่นด้วย

ไมโครซอฟต์เปิดเผย ที่งาน RSA conference 2020 เขากำลังจะสร้าง Defender ระบบปฏิบัติการ Linux ออกมาแล้ว และภายในปีนี้ จะตามมาด้วย android และ  ios

หลังจากที่ไมโครซอฟต์ ถูกกล่าวหามานานว่าระบบปฏิบัติการ windows เป็นต้นเหตุของการเผยแพร่ไวรัสเพราะเนื่องจากผู้ใช้ทั่วไปไม่ได้ ติดตั้งซอฟต์แวร์ antivirus หากจะติดตั้งต้องซื้อเพิ่มเติมจากค่ายซอฟต์แวร์อื่นมาทำการติดตั้ง สำหรับระบบปฏิบัติการ  linux ถึงจะมี  firewall ให้ติดตั้งแต่น้อยคนที่จะทำการติดตั้งเพิ่มเติม อีกทั้ง ClamAV ของ Linux จะใช้ได้กับ desktop แต่ก็ยังไม่สามารถครอบคลุมไวรัสใหม่ๆได้ทันสมัย

การปล่อย Defender สำหรับ Linux เป็นความร่วมมือกันของ ubuntu linux และ ไมโครซอฟต์ที่ co-technical กันเรื่อง subsystem ของ windows สำหรับ Defender  บน linux สามารถใช้ได้กับ Linux หลายค่ายเหมือนกัน เช่น redhat Enterprise, debian, CentOS, SUSE ,Oracle Enterprise Linux

ผู้ใช้งานทั่วไปติดไวรัสได้อย่างไร
โดยมากก็จะติดมาจากการ copy ไฟล์ต่าง ๆ ผ่าน USB-drive ผ่านช่องทาง e-mail , การคลิก link ที่เชิญชวนต่าง ๆ ผ่านทุกช่องทางการสื่อสาร หลีกเลี่ยงการ crack software เพราะก่อน crack จะต้องปิดการทำงานของ antivirus ความรุนแรงของ ไวรัส ก็จะมีตั้งแต่ ก่อกวน ไปจนถึง เข้ารหัสเครื่องและเรียกค่าไถ่ บางตัวก็สามารถใช้ซอฟต์แวร์ antivirus ถอดรหัสได้บางตัวก็ไม่สามารถทำได้ 

เมื่อพูดถึง RSA conference แล้วก็ต้องเล่าว่างานนี้เป็นงานอะไร RSA conference 2020 เป็นงานประชุมวิชาการที่เกียวกับความปลอดภัยทาง cyber โดย RSA เป็นชื่อ ขั้นตอนวิธีสำหรับเข้ารหัสด้วยกุญแจดิจิตอลแบบอสมมาตร หรือ  Public Key encryption ปัจจุบันถูกนำมาใช้ในโครงสร้างพื้นฐานการเข้ารหัสและลายมือชื่อดิจิทัล โดยนักคณิตศาสตร์ สามคน  รอน ริเวสต์ (Ron Rivest) อาดี ชามีร์ (Adi Shamir) และเล็น แอเดิลแมน (Len Adleman) ที่ MIT โดยที่ RSA มาจากนามสกุลของทั้ง 3 คน สมัยที่พวกเขาเรียน ปริญญาเอกที่ MIT เมื่อปี เมื่อ พ.ศ. 2520 และทาง MIT จดสิทธิบัตรไว้เมื่อปี 2526 และสิทธิบัตรหมดอายุไปเมื่อปี 2543


อ้างอิง
https://techcommunity.microsoft.com/t5/microsoft-defender-atp/microsoft-defender-atp-for-linux-is-coming-and-a-sneak-peek-into/ba-p/1192251#

https://www.zdnet.com/article/microsoft-previews-microsoft-defender-atp-for-linux/

ไม่มีความคิดเห็น: