วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

เทคโนโลยีที่เข้ามาใช้ในโรงเรียนอาจมีผลกระทบเรื่องความเป็นส่วนตัวของนักเรียน

วันนี้จะขอพูดถึงเรื่อง เทคโนโลยีที่กำลังเข้ามามีบทบาทในโรงเรียน เพื่อใช้ในการเรียนการสอน ใช้ติดตามการ ทำแบบฝึกหัด ทำกิจกรรมในชั้นเรียน ตั้งแต่นักเรียนในระดับมัธยมศึกษา จนถึง มหาวิทยาลัย ปัจจุบันถึงแม้ว่า บ้านเราจะยังมีการใช้งานน้อยมาก เมื่อเทียบกับ โรงเรียนในสหรัฐอเมริกา แอปพลิเคชั่นอย่างเช่น Google classroom และ ClassDojo ถูกนำมาใช้ในโรงเรียน รายงานของ (washingtonpost, 2019) อ้างว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ของโรงเรียน K-8 ในสหรัฐอมเนริกา ใช้แอปพลิเคชั่นเหล่านี้ในการให้คะแนน ในการมีส่วนร่วมของเด็ก ๆ ที่อยู่ในแอปพลิเคชั้น

แอปแบบนี้ครูจะสร้างชั้นเรียนออนไลน์ขึ้นมาจากนั้นก็จะใช้ e-mail ในการสมัครใช้งาน นักเรียนทุกคนจะมี e-mail เป็นของตัวเองและจะเข้าชั้นเรียนผ่านการเชิญของครูประจำวิชา การเรียนการสอนในชั้นเรียนจริง แต่ก็มีกิจกรรมในกลุ่มออนไลน์ เช่น ครูใส่วีดีโอ เนื้อหาลงไปและติดตามว่ามีนักเรียนคนไหนคลิกเข้าไปดูบ้างแบบนี้เป็นต้น
ภาพตัวอย่างห้องเรียนออนไลน์ของ ClassDojo.com

ประเทศไทย มีการใช้ Google for Education กันมากขึ้นแต่สำหรับ Google Class room นั้นพบจากแวดวงคนใกล้ชิดว่า ใช้กันน้อยมากจนถึงไม่ได้ใช้งานเลย
ตัวอย่าง Google classroom


เมื่อเรามามองต่างมุมกันว่าใช้โซเชียลมีเดีย เราก็จะพบว่า เราถูกจับตาจากปัญญาประดิษฐ์ เพื่อวิเคราะห์ว่า เราชอบอะไร ชอบทำอะไร ชอบทานอะไร มันก็จะเอาเนื้อหาที่เกี่ยวข้องมาให้เขาเห็น เราก็จะคิดว่าความเป็นส่วนตัวเราไม่มีแล้ว โซเชียลมีเดีย รู้หมด

แล้วแอปพลิเคชั่นเพื่อการศึกษาเหล่านี้จะเอาข้อมูลส่วนบุคคลของเด็ก ๆ ตั้งแต่เริ่มเข้าเรียนไปใช้ในเชิงพาณิชย์ เช่นส่งโฆษณามาให้ ข้อมูลความเป็นส่วนตัวที่ดูเหมือนจะเล็กลงไปเพราะ บริษัทอย่าง Google เองก็ออกมาให้ความเห็นว่า นโยบายความเป็นส่วนตัวของนักเรียนจะไม่ถูกแบ่งปันกับบริษัทเพื่อประโยชน์ทางการตลาดหรือการโฆษณาและผู้ปกครองสามารถขอลบได้

มันสะท้อนถึงความไม่ไว้วางใจในเทคโนโลยีที่มีมากขึ้น จากการสำรวจของ (pew Research center) เมื่อปี 2018 มีเพียง 1 ใน 4 ของชาว อเมริกันที่คิดว่า บริษัทจะปกป้องการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล

มามองในมุมมองถึงประโยชน์ในการใช้ เครื่องมือออนไลน์ในการเรียนการสอน หรือ บางคนเรียก e-learning ว่าโดยความเป็นจริงแล้ว เราสามารถที่จะใช้ประโยชน์จากเรื่องนี้ได้เช่น

ในภาวะที่การเดินทางมีปัญหาการจราจร ภาวะมลพิษทางอากาศ เราอาจจะใช้ e-learning ในการเรียนการสอนผสมผสานกับการเรียนในห้องเรียน ลดเวลาการเดินทาง

การใช้ e-learning เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้และครูมีสื่อการสอนอย่างเท่าเทียม มีวิธีการถ่ายทอดที่ ครูสามารถแลกเปลี่ยนกัน ด้วยการเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วย

การใช้ Google classroom หรือ ClassDoJo จะช่วยประหยัดงบประมาณในการดูแลระบบ เพราะเจ้าของระบบเป็นผู้ดูแล ครูมีหน้าที่สร้างสื่อการเรียนการสอน นำกระบวนการสอนเหล่านี้ไปใช้เป็นกิจกรรมในชั้นเรียน เช่นให้เด็กๆ ทำแบบฝึกหัดออนไลน์มากจากบ้าน หรือ ดูวีดีโอการบรรยายมาก่อนจากนั้น ใช้เวลาในห้องเรียนในการถามตอบ สรุปออกมาเป็นความรู้

การใช้ e-learning เพื่อลดปัญหาการแบกหนังสือเรียน ของเด็กๆไปโรงเรียนทุกวัน จนหลังเสียปัญหาเรื่องราคาหนังสือเรียน หรือ การขาดแคลนหนังสือ

การขาดครูอาจจะใช้ร่วมกับการเรียนทางไกลผ่านดาวเทียมแล้วให้นักเรียนและครูประจำชั้น ทำกิจกรรมผ่านระบบออนไลน์

โดยส่วนตัวผมแล้วคิดว่าประโยชน์ยังมีมากกว่าความหวาดระแวงเรื่องข้อมูลส่วนบุคคลที่จะไปมีประโยชน์ ต่อ บริษัทโฆษณา หากเป็นโฆษณาที่ให้ ทางเลือกในการศึกษา ต่อ หรือ ทุนการศึกษาในต่างประเทศ หรือ ในประเทศ ก็น่าสนับสนุน




อ้างอิง :
Heather Kelly, 2019, School apps track students from classroom to bathroom, and parents are struggling to keep up,washington post ,https://www.washingtonpost.com/technology/2019/10/29/school-apps-track-students-classroom-bathroom-parents-are-struggling-keep-up/?arc404=true
AARON SMIT, 2018, Public Attitudes Toward Technology Companies ,pew research,
https://www.pewresearch.org/internet/2018/06/28/public-attitudes-toward-technology-companies/

ไม่มีความคิดเห็น: