การจราจรของ http://live.iticfoundation.org/ เพื่อการวางแผนการจราจร ในประเทศไทยยังไม่มีการเอาระบบตัดสินใจอัตโนมัติมาใช้ร่วมกับการจัดการปัญหาจราจร แต่ในบางประเทศได้เริ่มไปแล้ว มีการเชื่อมต่อกับ กล้อง CCTV จำนวน 251 ตัว
การใช้ข้อมูลเรื่องสภาพอากาศ ด้วยเรด้าของ กองพยากรอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา
ส่วนในโครงการอื่นที่มีการประกวดโมเดลที่จัดโดยกระทรวงพลังงาน โดยเว็บไซต์ thailandsmartcities.com มี 7 โครงการที่ผ่านเข้ารอบ
1. นิด้า มหาวิทยาลัยอัจฉริยะ รู้รักษ์หลังงาน สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
2. มข (เมือง) มหาวิทยาลัยอัจฉริยะพลังงานสะอาด
3. เมืองจุฬา อัจฉริยะ
4. ธรรมศาสตร์ ศูนย์นังสิต ต้นแบบเมืองมหาวิทยาลัยอัจฉริยะ
5. วิสซ์ดอม วันโอวัน
6. ของแก่น smart city ระยะที่ 1 ขนส่งสาธารณะเปลี่ยนเมือง
7. เมืองใหม่อัจฉริยะบ้านฉาง
ในขณะที่บ้านเรากำลังเริ่มต้น ในต่างประเทศเอง ก็ได้มีการแจ้งเตือนว่าผลิตภัณฑ์หรือสินค้าจากบางบริษัทมีนักวิจัยจาก IBM และ Threatare ค้นพบช่องโหว่ใหม่ 17 ช่องกับระบบสมาร์ทซิตี้ทั่วโลก เช่นสามารถเปลี่ยนสัญญาณไฟจราจรและคำเตือนจากภาวะน้ำท่วม ซึ่งผลการวิจัยที่ค้นพบพวกเขาได้เผยผลการวิจัยในที่ประชุม Black Hat cybersececurity ในลาสเวกัส เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ที่ผ่านมา และได้ทำการติดต่อบริษัทที่เกี่ยวข้องให้ทำการแก้ไข ช่องโหว่เหล่านี้เป็นตัวอย่างของความเสี่ยงและอาจจะมีที่นักวิจัยยังไม่พบ
นักวิจัยลอกว่าระบบ Libelium , Echelon และ Battelle ที่ถูกใช้ในการตรวจจับอุทกภัยในอาร์เจนตินา การควบคุมไฟในฝรั่งเศส และ การตรวจสอบการจราจรในรัฐแมสซาซูเซตส์ ตามกรณีศึกษา ทาง Echelon บอกว่าได้รับการยืนยันช่องโหว่และแจ้งให้ลูกค้าทราบและทำการปรับปรุง ส่วนโฆษกของ Battelle กล่าวว่า บริษัท ได้ออกแบบส่วนของ Interface ให้ปลอดภัย ส่วน Libelium ก็ได่ทำการปรับปรุงความปลอดภัยในส่วนนี้แล้ว
นักวิจัยบอกว่าการบุกรุกที่อาจจะะเกิดขึ้นทำให้เกิดความตระหนกในเมืองต่างๆ เช่น สัญญาณเตือนที่ผิดพลาด ด้วยการหลอกด้วยสัญญาณวิทยุหลอกลวงแล้วทำให้ไซเรนพายุทอร์นาโดทำงาน
การตรวจสอบจำนวนรถยนต์ที่อยู่บนท้องถนนเพื่อช่วยควบคุมสัญญาณจราจร ถ้า แฮกเกอร์เข้าไปป่วนก็จะสามารถทำให้การจราจรแย่ลงไปเลย
ระบบแจ้งเตือนน้ำท่วมจะแจ้งเตือนเมื่อพบน้ำแค่หยดเดียว นักวิจัยพบว่าอุปกรณ์ออนไลน์จำนวนมากยังคงใช้รหัสเริ่มต้นที่ติดมากับโรงงาน
ในประเทศไทยหากมีการช่วยกันค้นพบช่องโหว่แบบนี้นักวิจัยอาจจะเป็นผู้ร้ายไปเลยก็ได้เพราะเนื่องจากความคิดเรื่องนี้บ้านเราหลายคนที่เกี่ยวข้องยังรับความจริงไม่ได้ เพราะจริงๆแล้วระบบไม่มีอะไรที่ปลอดภัย100% แต่ก็ต้องเฝ้าระวังและรับมืออย่างรวดเร็ว มีทีมวิจัยของตัวเองที่คอยตรวจสอบช่องโหว่ของอุปกรณ์เหล่านี้ด้วย เพราะช่องโหว่ที่เกิดขึ้นอาจจะเป็นการลองซ้ำ ๆ ผมขอยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่นรหัสบัตร ATM 4 หลักลองเอาเลข 0000 ถึง 9999 มาลองใส่ก็ต้องเจอเข้าสักอัน การลองที่ละชุดเป็นเรื่องพื้นฐาน บางคนใช้วิธีแบ่งครึ่งแล้วเลือกก็อาจจะพบเร็วกว่า วิธีการหา เราเรียกว่า อัลกอริทึม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น