Application เรียกรถ จากประเทศจีนชื่อว่า DiDi ที่มีลูกค้ามากที่สุด DiDi เคยซื้อกิจการมาจากUber และให้บริการเรียกรถแท็กซี่ผ่านแอพพลิเคชั่นในประเทศจีน เมื่อวันพุธ30มิถุนายน ที่ผ่านมาก็ได้ทำการซื้อขายหุ้น IPO ในตลาด Wall Street DiDi มีผู้ใช้งาน 377 ล้านคนต่อปีในประเทศจีนและบริการใน 16 ประเทศ บริษัท
จากนั้นเมื้อวันเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (5 กรกฏาคม) สิ่งที่นักลงทุนกลัวกันก็เกิดขึ้นเพราะว่า DiDi ถูกรัฐบาลจีนสั่งห้าม รับสมัครสมาชิกใหม่ ชั่วคราว จากนั้น ถูกสั่งให้ถอด Application ออกจาก App Store
ทางการจีนขอเข้าตรวจสอบ ความปลอดภัยทางไซเบอร์ รวมถึงความกังวลเกี่ยวกับการปกป้องข้อมูล ส่วนบุคคล ทางการจีนกังวลว่าเมื่อบริษัททำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศอาจทำให้ ข้อมูลส่วนบุคคล ของชาวจีนถูกส่งไปยัง สหรัฐ ผู้บริหารกล่าวว่า Didi จัดเก็บข้อมูลภาษาจีนทั้งหมดของตนบนเซิร์ฟเวอร์ในประเทศจีน
อีกมุมมองหนึ่ง สามารถวิเคราะห์ได้ว่า รัฐบาลจีนต้องการให้ประเทศในแถบยุโรปและสหรัฐนั้นมีความเชื่อมั่น ในบริษัท ของจีน ที่เข้าไปทำธุรกิจในต่างประเทศว่า ทางการจีนนั้นไม่ได้นำเอาข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศอื่นๆหรือความลับในต่างประเทศ มาใช้ในทางการทหาร เหมือนดั่งที่ สหรัฐเคยกลัวมาตลอด ว่า Application รวมถึงฮาร์ดแวร์ต่างๆนั้นจะขโมยข้อมูลส่งกลับไปจีนแต่คราวนี้ตรงกันข้าม จีนกับกลัวว่า สหรัฐจะขอดูข้อมูลส่วนบุคคล เพราะว่าแอพพลิเคชั่นเรียกรถแท็กซี่ จะลงรายละเอียด ตำแหน่งต่างๆของการเดินทาง
ไม่ว่าจะมองมุมไหนแต่ประโยชน์เกิดกับประชาชนชาวจีน ทางการจีนได้ห่วงใยข้อมูลส่วนุคคลของประชาชน ปกป้อง ข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนจากบริษัทเทคโนโลยี ที่จะนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ นอกเหนือจากกิจกรรมทางธุรกิจในแบบปกติ เพราะเรื่องนี้หากภาครัฐไม่เข้ามาควบคุมปกป้องให้ประชาชน
เหตุการณ์ครั้งนี้เราจะเห็นมุมมองของทั้งสองฝั่งสิ่งที่จีนกลัว ว่าจะถูกตรวจสอบ จากทางตะวันตก จีนก็เลยลงมือ ที่จะตรวจสอบตัวเองก่อน นี่คือมุมมองการเมืองระหว่างประเทศ
แต่ถ้าหากว่ามองถึง จีนนั้นกลัวว่าบริษัทยักษ์ใหญ่ทางเทคโนโลยี รัฐบาลจะไม่สามารถควบคุมได้ถ้าหากว่าบริษัทเหล่านี้มีการเติบโต ทางเศรษฐกิจมากขึ้นเรื่อยๆ อาจจะมีการผูกขาดเหมือนกับที่ Alibaba เคยเจอมาก่อน ดีดีเองก็เป็นบริษัท ที่อยู่ใน List ของทางการจีนที่ต้อง ถูกตรวจสอบ เช่นเดียวกับเซ็นเซอร์ Alibaba และอีกหลายๆบริษัท รวมถึง byte dance บริษัทแม่ของ TikTok
DiDi ยื่นเอกสารเสนอขายหุ้นเบื้องต้นกับสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน กระบวนการเข้าจดทะเบียนเสร็จสิ้นด้วยความเร็ว และเข้าซื้อขายในตลาดหุ้นเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ที่ผ่านมา
เราจะเห็นว่าจีนเอาจริงเอาจังกับเรื่องการควบคุมบริษัทเทคโนโลยี และ เรื่องข้อมูลส่วนบุคคล ถึงขนาดมีหน่วยงานเข้าตรวจสอบ มีอำนาจควบคุม
เมื่อมองกลับมาที่ไทย เราก็มี พรบ คุ้มครองข้อมูล ส่วนบุคคล 2563 และเลื่อนบังคับใช้มาแล้ว 1 ปีและประกาศก็เลื่อนออกไปอีกหนึ่งปี เมื่อเดือนพฤษภาคม หาก พรบ ฉบับนี้มีผลบังคับใช้ เราจะมี สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูล ส่วนบุคค ซึ่งสำนักงานนี้ก็จะมีคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทำงาน โดยประกอบไปด้วย
และสำนักงานนี้มีหน้าที่
เมื่ออ่าน พรบ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล อำนาจหน้าที่ของ คณะกรรมการ ไม่ได้มีหน้าที่เข้าตรวจ กำกับดูแลข้อมูลส่วนบุคคล ของ บริษัทเอกชน ที่อาจจะนำข้อมูลส่วนบุคคล ไปใช้ในนอกเหนือจากข้อกำหนดที่เก็บข้อมูล
สิ่งที่อยากเห็นไทยน่าจะต้องมี คณะกรรมการกำกับดูแลคุ้มครอง ข้อมูลส่วนบุคคล มีอำนาจในการกำกับดูแลกิขกรรมต่างๆที่อาจจะนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง แต่ พรบ ฉบับนี้ได้ให้บุคคลธรรมดาสามารถ ร้องเรียนได้ยกเลิกการเก็บข้อมูลได้ ในฐานะ เจ้าของข้อมูลต้องดำเนินการเอง ซึ่งก็เหมือนกันราชสีห์ กับ หนู ที่ร้องเรียนไป เรื่องก็อาจจะเงียบไปไม่เกิดอะไรขึ้น