วันพุธที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

มื่อสิ่งพิมพต้องขายทิ้งจริงหรือ

ผมได้อ่านข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์และฝังข่าวจากสื่อวิทยุ100.5สองสามวันมาแล้วเนื้อหาข่าวมีว่า นาย Marc Andreessen:คำแนะนำล่าสุด...ขายสื่อเก่าทิ้งให้หมด ผมเลยอยากวิเคราะห์ข่าวนี้สักหน่อยครับว่า สัมนาที่เกิดขึ้น
อยู่ในอเมริกาซึ่ง จากการที่หลายๆคนตั้งข้อสังเกตุว่าสื่อสิ่งพิพม์ ไม่ค่อยจำเป็นเท่าไหร่เพราะ ออนไลน์เข้ามาแทนที่ในขณะที่ประชาชนที่อเมริกา สามารถเข้าถือ ICT คิดเป็นสัดส่วนแล้วใน New York นั้น 100% แต่ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ในปี 2007 ไตรมาส4 กับยังทำกำไรได้ถึงแม้ว่า New York Times มีรายได้ลดลง 1.7% ไปอยู่ที่ 865.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ใน กราฟทีนำมาเสนอเป็นรายได้ที่ลดลงก็จริง แต่ด้วยเหตุที่สถานการณ์โดยรวมของเศรษฐกิจ อเมริกาที่กำลังมีปัญหา ตั้งแต่ต้นปีจนถึงในตอนนี้ ก็กลับมีปัญหามากขึ้นไปอีกจากปัญหาหนี้เสียของอสังหาริมทรัพย์ที่เปิดโอกาศให้กู้ซ้ำซากได้ถึงแม้อสังหาริมทรัพย์จะยังผ่อนกับอีกไฟแนนซอยู่ก็ตาม ปัญหานี้คล้าย ๆ ต้มยำกุ้งบ้านเราก็แน่นอนละครับทุกอย่างตกลงแน่ นาย Marc Andreessen ออกมาพูดในงานนี้ก็ไม่ได้มีจุดประสงค์อะไรมากนอกจากจะเรียกความเชื่อมั่นให้ Agency ทั้งหลายว่าสื่อออน์ไลน์จะมีการเติบโตหากพวกคุณไม่ลงโฆษณากับสื่อออน์ไลน์ที่เขาทำพวกคุณอาจจะพลาดโอกาศได้พวกคุณควรลดสัดส่วน การลงโฆษณากับสื่อสิ่งพิมพ์เถอะ เพราะคนจะอ่านข่าวจากโลกออนไลน์กันหมดแล้ว นี้คือการตั้งข้อสังเกตุของผม ที่อยู่ในวงการสื่อสิ่งพิมพ์หน้าใหม่อย่างนิตยสารโอเพ่นซอร์ทูเดย์ ผมกลับมองว่า ข่าวที่ออกมานั้นเป็นการสร้างความเชื่อมั่นของ สื่อออนไลน์เท่านั้นเองไม่ได้มีอะไรมากกว่านี้ ผมเชื่อว่าทุกคนยังอยากอ่านข้อมูลจากกระดาษมากกว่า อ่านจากหน้าจอ มีงานวิจัยใน งาน ICALT ที่เป็นงานประชุมวิชาการด้าน e-learning Tecnology บอกว่าความเร็วของสายตามนุษย์อ่านข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ จะช้ากว่าการอ่านจากสิ่งพิมพ์ 25% หลายๆคนคงตั้งข้อสังเกตุได้ว่าอ่าน ไปนานๆ จะปวดตาและ การรับรู้ข้อมูลจะช้ากว่าการอ่านจากสิ่งพิมพ์
ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์บ้านเรายังเติบโตอีกเรื่อยๆ เพราะเป็นสื่อที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่ายทุกที่ทุกเวลาเมื่อได้เป็นเจ้าของ
นิตสารสักเล่มเราสามารถพกพาไปอ่านได้ทุกที่ทุกเวลาทุกสถานการณ์ ไม่ต้องออนไลน์ ในทางกลับกันผมก็ไม่ได้ต่อต้านเทคโนโลยีออน์ไลน์ แต่กลับชอบอีกด้วยซ้ำผมจะพัฒนาสื่อทั้งสองแบบนี้ควบคู่ไปพร้อมๆกัน
เมื่อมองกลับมาในบ้านเรา