วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2561

การพิจารณาวิเคราะห์ ICO สินทรัพย์ดิจิทัล

ช่วงนี้เรามักจะเห็นการ ออก ICO ออก Coin ออก Token กันมากขึ้น ซึ่งเป็นโอกาศของผู้ที่ต้องการทุนและลงมือทำ แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่า ทรัพย์สินดิจิทัล ที่ออกกันมาใหม่นั้น มีคุณภาพหรือไม่อย่างไร ความกังวนว่าเรื่องนี้อาจจะทำให้นักลงทุนเสียหายหากการลงทุนนั้นไม่พิจารณาให้ดี นาย Bruce Fenton เป็น CEO ของ Chainstone Labs และ Atlantic Financial เคยทำงานในอุตวาหกรรมการจัดการการลงทุนมากว่า 25 ปี และยังเป็นบอร์ดบริหาร Bitcoin Foundation เขาได้ให้ความเห็นว่าการลงทุนใน ICO ควรจะมีวิธีวิเคราะห์อย่างไร ด้วยการให้คะแนนพิจารณา รวม 100 คะแนน และแบ่งเป็น 10 หมวด หรือจะเรียกว่า X Factor ก็ได้
1 ความปลอดภัย ในเรื่องนี่ เช่นการรักษาความปลอดภัยซึ่งเป็นรากฐานของ crypto ทีมงานมีการควบคุมวิเคราะห์เรื่องของการถูกโจมตีอย่าวไร

2. การมีส่วนร่วม  สำหรับผู้ถือครอง ICO จะมีส่วนร่วมอะไรบ้าง จะได้อะไรจากการถือครองเหรียญ หรือส่วนแบ่งรายได้ในอนาคตหรือไม่ กระบวนการออกหลักทรัพย์มีความโปร่งใสและเป็นธรรใ

3. บัญชีและกฏหมาย.   ทีมงานมีการถือเหรียญอยู่เท่าไหร่ ตรวจสอบได้ไหม แล้ว ทีมงาน จะล๊อกไว้เช่นสองปีสำหรับทีมห้ามขาย จะต้องมี address จองทีมไว้ตรวจสอบ ว่าทีมยังไม่เทขาย  โปรเจค มีความเสี่ยงด้านกฏหมายสำหรับประเทศ นั้นๆหรือเปล่า หรือขิบเขตอำนาจศาล อันนี้ต้องระวัง หรือ โปรเจคมีใบอนุญาติหรือไม่  โปรเจคเป็นโอเพนซอร์ส หรือไม่ เพราะถ้า โอเพนซอร์สจะตรวจสอบและนักพัฒนาช่วยให้คำแนะนำได้

4. ทีมงานบริหาร ใครทำงานในโครงการนี้บ้าง มีชุมขน หรือไม่ บุคลากรมีความรู้ความสามารถ หรือไม่ รู้เรื่อง blockchain กี่คน ระดมทุนไปแล้วมีการเพิ่มจำนวนทีมงานหรือไม่ ถ้าโครงการไม่โอเพนซอร์ส ใครคือทีม มีประวัติอย่างไร ใครบริหาร พวกเขาทำอะไรมาก่อน

5. รายได้  เรื่องนี้สำคัญว่าโปรเจคจะมีรายได้มาจากไหน อะไรคือรายได้ที่คาดการของโครงการนี้ มีโอกาศเติบโตหรือไม่ เหรียญมีส่วนร่วมในการเติบโตของบริษัทหรือไม่ หรือ โทเค็นของเราผูกิยู่กับรายได้เหล่านี้อย่างไร


6. อุปสงค์อุปทาน  หมายความว่าเหรียญมีจำนวนเท่าไหร่ อย่างไรใครสามารถเปรียนแปลงได้บ้าง ใครเป็นผู้ควบคุมเหรัยญจำนวนมาก ไม่ใช่เพิ่มตามอำเภอใจ  มีสภาพคล่องในการเปลี่ยนมือง่าย มีตลาดรองให้ซื้อขาย

7. การใช้งาน  เหรียญที่ถือไว้ใช้งานอะไรได้บ้าง  ใช้เพื่ออะไรได้บ้าง หรือเราจะได้นำไปใช้อะไร แล้ว ตั้งคำถามว่าถ้าถือแล้วทำไมคนส่วนใหญ่จึงต้องการถือ โปรเจคสำเร็จไปบ้างแล้วหรือยัง มีแอปมั๊ย

8. การสนับสนุนจากภาคอุตสาหกรรม/สถาบัน บริษัทหรือนายทุนมีส่วนร่วมหรือไม่ บริษัทสร้างธุรกิจเกียวกับเรื่องนี้หรือไม่ มีพันธมิตรหรือคู่ค้าหลักที่ดีหรือไม่ โปรเจคมีคู่แข่งที่ทีมมีความสามารถในการแข่งขัน แต่ขาดเม็ดเงินลงทุน ทิซทางจลาดโดยรวมคืออะไร

9. วิชาการ รายละเอียดทางเทคนิคคืออะไร? ถ้าใช้Bolckchain จำเป็นต้องใช้หรือไม่ ความเร็ว.ผลการทดสอบ โครงการนี้คุ้มค่าหรือไม่ อ่าน ข้อมูล

10 . สร้างตัวแปรอื่น ที่เราคิดขึ้นมาเอง ที่ทั้ง เก้าข้อไม่มี หาปัจจัยอิ่นมาร่วมวิเคราะห์ เช่น มีวิทยานิพนธ์ที่เกียวข้องไหม มีปัจจัยความเสี่ยงอะไรบ้าง

จากนั้นเอาคะแนนทั้ง 10 ข้อ มาให้คะแนน 0 -100 โดยนาย Bruce Fenton ให้ชื่อเรียกว่า Spacesuit X หัวข้อนี้อาจจะไม่ตรงตามนี้ก็ได้ สามารถเปลี่ยนได้ขึ้นอยู่กับแต่ละคน
คะแนนทั้งหมด
ความปลอดภัย คะแนน 0 -10
การมีส่วนร่วม คะแนน 0 - 10
การบัญชีและกฏหมาย 0 -10
ชุมชนการจีดการและทีม 0 -10
รายได้ คะแนน 0.- 10
อุปสงค์ อุปทาน คะแนน 0 -.10
การใช้งาน คะแนน 0.-10
อุตสาหกรรม/สถาบัน คะแนน 0 -10
เทคนิค คะแนน 0 -.10
ปัจจัย X คะแนน 0 -.10_____
คะแนนทั้งหมด 0 -.100.______
แหล่งที่มา

วันพุธที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2561

โรงเรียนฝึกอาชีพ กรุงเทพมหานคร

ปัจจุบันคนรุ่นใหม่มีแนวโน้มที่จะประกอบอาชีพส่วนตัวกันมากขึ้น หรือบางคนเข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัยแล้วยังไม่รู้ว่าตัวเองนั้นถนัดอะไร เมื่อเรียนจบมาแล้วก็ทำงานในสายที่ตัวเองเรียนมานั้นได้ไม่เต็มที่ หรือไม่ชอบแต่อดทนเรียนจนกระทั่งจบ หรือบางคนมีปัจจัยที่อยากจะลองในสิ่งที่ไม่เคยลองมาก่อน เช่น อยากเป็นช่างไฟฟ้า อยากเป็นช่างเสริมสวย อยากเป็นนวดแผนไทย หรืออาจสนใจเครื่องประดับ เป็นต้น

ผมได้มีโอกาสได้เข้าร่วมงาน ออกบูธกับโครงการเรียนรู้อาชีพกับโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 12-13 มีนาคม 2561 ที่ผ่านมา โดยในงานมีการจัดแสดงบูธของครูผู้สอนของแต่ละศูนย์ฝึกในโรงเรียนฝึกอาชีพของกรุงเทพมหานคร ซึ่งประกอบไปด้วย 10 ศูนย์การเรียนรู้ มีสอนกันตั้งแต่ การนวดแผนไทย การทำเครื่องประดับ การตัดเย็บเสื้อผ้า การแต่งหน้า ทำผม ทำเล็บ การจัดดอกไม้สด ดอกไม้ประดิษฐ์ การแกะสลัก การเพนท์ผ้า วาดลาย การปักบนวัสดุของใช้ รวมไปถึงการสอนด้านภาษา ทั้งภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาเกาหลี

ซึ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ไอที นั้น มีการสอนให้ซ่อมคอมพิวเตอร์ การวางเครือข่ายเน็ตเวิร์ค การเดินสายไฟในอาคาร การติดตั้งไฟฟ้าในบ้าน การติดตั้งโซล่าเซลล์ ด้านการซ่อมไฟฟ้า ก็จะเป็นมีการซ่อมเครื่องทำความเย็น เครื่องปรับอากาศ โทรทัศน์ วิทยุ สำหรับในส่วนของผมและทีมงานนั้น กำลังแพลนไปจัดหลักสูตรด้านอาชีพไอที เช่น การสร้างร้านค้าออนไลน์ด้วยเฟสบุ๊คเพจ ไลน์@ เครือข่ายออนไลน์ การทำระบบสมาร์ทโฮม การเขียนแอปพลิเคชั่นบนมือถือ การทำระบบเซ็นเซอร์แจ้งเตือนต่างๆ เป็นต้น

โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่เปิดโอกาสสำหรับผู้สนใจทั่วไป ที่ต้องกาค้นหาตัวเอง ต้องการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ นอกเหนือจากงานที่ตัวเองถนัด อยากมีประสบการณ์เพิ่มเติม หรืออยากหารายได้เสริมจากงานหลัก ก็สามารถทำได้ ท่านใดสนใจ สามารถเข้าไปดูได้ที่
http://www.bmatraining.ac.th

วันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2561

ICO การเข้าถึงแหล่งทุนที่เปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล

ในหลายปีที่ผ่านมาการระดมทุนในระบบธุรกิจ ที่ดำเนินกิจการมาแล้วและมีผลกำไรมาตลอดและมีความประสงค์จะระดมทุนเพื่อขยายกิจการ หรือ ที่มีผู้ถือหุ้นจำนวนมาก ก่อนเข้าตลาดเราก็จะเปิดให้ทำการจองสิทธิ์ ว่าใครจะได้กี่หุ้น ที่เราเรียกกันว่า IPO (Initial Public Offering) เมื่อถึงวันที่บริษัทมีการซื้อข่ายในตลาดหลักทรัพย์ ก็สามารถเปลี่ยนมือได้ ส่วนใหญ่ก็อาศัยโบรกเกอร์เป็นตัวกลาง

เมื่อสองปีที่ผ่านมาการเข้าถึงแหล่งทุนหรือแหล่งสนับสนุนทางการเงิน เพื่อประกอบกิจการเริ่มต้น ทีเรียกว่า "คราวด์ฟันดิง (Crowdfunding)" ปัจจุบัน ปี  พ.ศ.2561 เริ่มมีคำว่า ICO หรือ Initial Coin Offering ซึ่งเป็นแนวทางที่คล้ายแต่ไม่เหมือนกัน

Crowdfunding 

จะมีลักษณะของการให้ข้อมูลถึงตัวโปรดักแะเป้าหมายว่าใครสนับสนุนเท่าไหร่จะได้เป็นอะไรกลับไปบ้าง เช่น ที่ผ่านมา MIT มีเว็บไซต์ชื่อ https://crowdfund.mit.edu/ 


เอกชนก็มี การระดมทุนอีกทีคือเว็บ 
ผู้ร่วมสนับสนุน จะได้รับเป็นของเป็นการตอบแทน

ICO หรือ Initial Coin Offering

เป็นการระดมทุนผ่านการจองเหรียญ หรือ token แลกเปลี่ยนกันในรูปแบบสกุลเงินดิจิทัล Token สามารถนำไปซื้อหรือแลกเปลี่ยนเป็นสินค้าหรือ บริการ ของผู้ออกเหรียญได้ อาจจะได้สิทธ หรือ ส่วนแบ่งจาก ราได้หรือบริการก็ได้ หรือ ขายแลกเปลี่ยนกันใน ตลาด ซื้อขายเงินดิจิทัล เช่น

bx.in.th
tdax.com
localIBX.io

ซึ่งในวันนี้ การระดมทุนในรูปแบบนี้หลายประเทศยังปรับตัวไม่ทัน เพราะไม่มีกฏหมายห้าม หมายความว่ายังไม่ผิดกฏหมาย แต่ที่น่าเป็นห่วงก็คือ ว่า อาจจะมีผลตามมาหากผู้ระดมทุนไม่สามารถสร้างธุรกิจหรือทำตามที่ให้ความหวังเอาไว้

ผู้ลงทุนต้องศึกษาความเป็นไปได้ของธุรกิจนั้น ๆ โดยมากจะเป็น Startup ที่ปัจจุบันประสบความสำเร็จน้อยมากเนื่องจากยังมองธุรกิจไม่ขาด หรือ ขาดประสบการณ์ในการ ดำเนินธุรกิจ หรือยังไม่ออกแรงทำมากพอเพราะได้ทุนมาอย่างง่าย

ICO ไม่ใช่หุ้นตลาดซื้อขายจึงยังไม่มีภาครัฐเข้ามากำกับดูแล กฏระเบียบ ยังไม่ออกมาแต่ก็มีแนวโน้มว่า กลต. กำลังจะออกกฏระเบียบ หรือ ขึ้นทะเบียน เว็บพอทอล ที่ทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินดิจิทัล วันนี้ก็จะเห็นว่าหลายคนที่เตรียมออก ICO ก็ยังรอทิศทางที่ชัดเจนอยู่

แต่ ICO ก็เป็นโอกาศจำหรับธุรกิจที่เดินกิจการมาแล้วหลายปีและยังขาดแหล่งทุน หาเวนเจอร์แคปปิตอล มาร่วมลงทุนก็หลายปียังไม่ไปไหน แนวทาง ICO ก็เป็นวิธีที่ดี หากสามารถเปิดเผยผลประกอบการที่ผ่านมาแล้วมีความตั้งใจว่า จะเอาทุนที่ได้ไปทำอย่างไรให้เกิดประโยชน์กับคนที่ถือ Token ICO อยู่เพื่อทำให้ Token เกิดมูลค่าสมาชิกที่ถืออยู่มีการเปลี่ยนมือได้