วันพุธที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2560

Petya ภัยคุกคามเรียกค่าไถ่

เมื่อกลางดึกที่ผ่านมา มีการแจ้งเตือนภัยจากไวรัสที่ชื่อว่า Petya ประเทศที่ถูกไวรัสตัวนี้คุกคามคือประเทศในแถบรัสเซีย ฮังการี แล้วก็เชื่อว่าน่าจะลุกลามไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ไวรัสตัวนี้อยู่ในกลุ่มไวรัสประเภท  ransomware ซึ่งเพิ่งจะเกิดขึ้นไปเมื่อเร็วๆนี้ แต่ความรุนแรงของเจ้าไวรัสตัวนี้จะรุนแรงกว่าตรงที่มันเข้าไปเข้ารหัส โดยใช้ช่องโหวที่เรียกว่า EternalBlue ในไมโครซอฟต์วินโดว์ซึ่งในส่วนนี้จะทำให้ คอมพิวเตอร์นั้น ไม่สามารถเข้าใช้งานในระบบปฏิบัติการที่อยู่บน ฮาร์ดดิส ได้ เนื่องจากมีการเข้ารหัสเอาไว้ หากต้องการจะปลดรหัสอนุมัตินั้น จะต้องจ่ายเงินเรียกค่าไถ่ เราจึงเรียกไวรัสประเภทนี้ว่า  ransomware นั่นเอง การเรียกค่าไถ่นั้นก็เพื่อที่จะต้องการนำ key มาถอดรหัส ผู้ที่ติดไวรัสจะต้องจ่ายเงิน 300 เหรียญ โดยจ่ายเป็นเงิยสกุล Bitcoin แต่การจ่ายเงินไป ปัจจุบันไม่สามารถจะปลดล็อคได้ เพราะว่าอีเมล์ของผู้ที่เรียกค่าไถ่ได้ถูกปิดไปแล้ว ผู้ที่จ่ายเงินไม่สามารถติดต่อกลับไปได้

โดยการเข้ารหัสจะต้องประกอบไปด้วยชุดข้อมูล และกุญแจ(key) ผู้รับจะเปิดข้อมูลนั้นได้ จะต้องใช้กุญแจที่เข้ารหัสมาเท่านั้นจึงจะสามารถทำได้

ไว้รัสตัวนี้เริ่มต้นมาจากการ อัพเดทของโปรแกรมบัญชี ที่ทำงานกับรัฐบาลยูเครน ในหน่วยงานด้าน ตำรวจไซเบอร์ แล้วรุกรามไปยังธนาคาร และ หน่วยงานต่าง ผู้ที่ยังไม่ได้ติดไวรัสต้องทำการปิดช่องโหว่ระบบปฏิบัติการ patch หรืออัพเดทด้านความปลิดภัย ให้เป็นเวอร์ชั่น ใหม่ล่าสุด โดยเฉพาะ windows xp ที่รอบที่แล้วรอดจาก wanacry แล้วยังไม่ได้ update
ภาพจากข่าว
ภัยคุกคามครั้งนี้มุ่งเน้นไปที่คอมพิวเตอร์ในหน่วยงานมากกว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล

วันพุธที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ธุรกิจดิจิทัลส่งผลต่ออการจัดเก็บรายได้

ทุกวันนี้หลายๆบริษัท SME ก็มีการซื้อโฆษณาผ่าน Google adword ผ่าน Facebook เพื่อให้ได้ยอดขายยอด Like บาง SME ซื้อ Line@ เพื่อให้เป็นช่องทางในการติดต่อของลูกค้า และบริษัทเอกชนไม่ว่าจะขนาดใหญ่หรือเล็กก็มีการออกไปจ่ายเงินให้กับบริษัทต่างชาติเหล่านี้ ปัจจุบันทำได้เป็นเพียงลงบัญชีเป็นรายจ่ายบริษัท มีการรายงานรายรับรายจ่ายผ่านระบบของ กรมธุรกิจการค้า สำหรับการรายงานผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในประเทศอยู่แล้ว

ปัจจุบันประเทศไทยเริ่มเคลือนไหวในเรื่องการจัดเก็บภาษีของผู้ประกอบการ อีคอมเมอร์ชในประเทศแต่คำถามที่ตามมาก็คือเมื่อเราจัดเก็บผู้ประกอบการในประเทศแล้วผู้ประกอบการต่างประเทศละจะทำอย่างไร

มีการค้นข้อมูลการจดทะเบียนบริษัทกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าว่า Google ประเทศไทย Facebook ประเทศไทย Line ว่าบริษัทเหล่านี้เสียภาษีกันเท่าไหร

อ้างจากเว็บไซตประชาชาติธุรกิจ http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1497802439

จากข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ งบการเงินปี 2559 ของบริษัท กูเกิล (ประเทศไทย) จำกัด มีรายได้รวม 535.34 ล้านบาท กำไรสุทธิ 19.87 ล้านบาท และมีการชำระภาษีเงินได้ 20.25 ล้านบาท, บริษัท ไลน์ คอมพานี (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ให้บริการแอปพลิเคชั่นไลน์ ไลน์ทีวี ไลน์มิวสิก และอื่น ๆ มีรายได้รวม 137.80 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 211.61 ล้านบาท โดยที่ยังไม่มีรายการเสียภาษีเนื่องจากผลประกอบการยังขาดทุน ขณะที่บริษัท เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่เป็นเจ้าของแอปวีแชท, Joox และเว็บไซต์สนุกดอทคอม รายได้รวม 412.30 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 156.27 ล้านบาท ไม่เสียภาษีเนื่องจากขาดทุน

ขณะที่บริษัท เฟซบุ๊ก (ประเทศไทย) จำกัด เป็นข้อมูลงบการเงินปี 2558 แจ้งรายได้ 7.13 ล้านบาท กำไรสุทธิ 3.82 แสนบาท และมีรายการภาษีเงินได้ 1.31 แสนบาทเท่านั้น 

ทั้งนี้ในปี 2559 ที่ผ่านมา เฟซบุ๊กมีรายได้ทั่วโลกรวมถึง 27,638 ล้านเหรียญสหรัฐ (940,975 ล้านบาท) และมีกำไรสุทธิ 10,217 ล้านเหรียญสหรัฐ (357,595 ล้านบาท) คิดเป็นอัตรากำไรสูงถึง 38% เพราะต้นทุนของเฟซบุ๊กต่ำมาก นอกจากมีการจ้างพนักงานทั่วโลกแค่ 17,048 คนแล้ว ในการขอการดำเนินธุรกิจในประเทศต่าง ๆ ก็แทบจะไม่มีการเสียภาษี 

แนวทางที่สรรพากรจะเอามาใช้สำหรับมาตรการ ให้เอกชนที่ซื้อบริการต่าง ๆ จากต่างประเทศให้หักภาษี ณ ที่จ่าย 5% ทางเมื่อได้ยินมาตรการดังกล่าวเอกชนอย่างเราๆ ก็สงสัยว่าจะทำอย่างนั้นได้อย่างไรในเมื่อ บริการต่าง ๆ ชำระผ่านบัตรเครดิต ซึ่งจ่ายตรงไปยังต่างประเทศและเก็บเต็มจำนวนตามที่ระบุและหากไม่เต็มตามจำนวนบริการต่าง ๆ ก็จะไม่สามารถเปิดใช้งานได้

วันพุธที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2560

NB-Iot ความพร้อมของอินเตอร์เน็ตสำหรับทุกสรรพสิ่ง


เนื่องจาก อุปกรณ์ประเภท ที่เกี่ยวข้องกับ Internet Of Things จำเป็นจะต้องเชื่อมต่อกับเครือข่าย Internet เพื่อทำการส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ ด้วยกันเอง หรือ อุปกรณ์กับ Server หรือเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายเพื่อนำไปประมวลผลหรือจะเก็บเป็น Logs ที่ได้มาจากเซ็นเซอร์ต่าง ๆ
ยกตัวอย่าง การเก็บอุณหภูมิและความชื้นในห้องควบคุมบางอย่าง ซึ่งต้องการจะเก็บข้อมูลทุกวินาทีเพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการควบคุม ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้กับหลายเหตุการ เช่น การควบคุมอุณภูมิสำหรับ ฟราม์แบบปิดเพื่อเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การเก็บข้อมูล อุณหภูมิความชื้นในพื้นที่แบบเปิด เพื่อนำข้อมูลรายวินาทีไป ทำนายว่าวันนี้ฝนน่าจะตก

สถานที่จอดรถในกรุงเทพ ที่นับวันจะหาได้ยาก ก็พบกับปัญหาที่ว่าถ้าเรานำรถเข้าไปในห้างสักแห่งแล้วไปวนหาที่จอด กว่าจะเจอบางทีก็ปาเข้าไปกว่าครึ่งชั่วโมง ถ้าหากเราสามารถรู้ได้ว่าตอนนี้ห้างที่เราจะไปมีจำนวนที่จอดรถเหลือเท่าไหร ปริมาณการเข้าออกของรถใช้ระยะเวลามากน้อยเท่าไหร่ โดยให้ระบบทำการตรวจจับและประเมินให้ เราจะได้รู้ว่าจะนำรถไปจอดดีหรือไม่

การใช้ส่งข้อมูลของเซ็นเซอร์เหล่านี้ต้องการเครือข่ายที่สื่อสารกันระยะไกลได้เช่น ลานจอดรถทุกชั้นอุปกรณ์เหล่านี้สามารถสื่อสารกันเองได้ ก็แล้วในเมื่อเรามี Wifi ละใช้ได้ไหมคำตอบก็คือได้

แต่ถ้าต้องการยิงข้อมูลไปประมวลผลบนอินเตอร์เน็ตหรือคราว์นละก็ต้องมีทางออกสู่คราว์นหรืออินเตอร์เน็ต แล้วถามว่าทำไมเราไม่ใช้ 3G 4G ก็เพราะอุปกรณ์ประเภท 3-4G ออกแบบมาให้ใช้งานส่งข้อมูลคราวละมากๆ เช่น ภาพ เสียง ตัวอักษร แต่ข้อมูล จำพวก Iot มัสส่งข้อมูลคราวละไม่มาก ไม่กี่ตัวอักษร เช่น วันที่ เวลา ข้อมูล อุณหภูมิ ความชื่น หรือ ข้อมูลจากเซ็นเซอร์อื่น ๆ บางทีมีแค่ 0 กับ 1 เท่านั้นหรือเลขไม่กี่หลัก

อุปกรณ์ประเภท 3-4G กินพลังงานสูงยกตัวอย่างโทรศัพท์มือถือที่ใช้งานกันถ้าเราปิด Internet ไว้เครื่องเราจะสามารถรอรับสายได้ทั้งวันหรือเกินหนึ่งวัน

ส่วน Iot จะต้องการพลังงานไม่มากเพราะข้อมูลมีแค่ตัวอักษรบรรทัดเดียวเราจึงสามารถใช้แบตไม่มากจึงทำให้สะดวกที่จะใช้เวลาเป็นเดือนเพื่อเปลี่ยนแบต หรือ หาพลังงานด้านอื่น ๆทดแทน อยู่ได้เป็น ปี

เหตุผลที่อธิบายมาทั้งหมดนี้ทางออกจึงเป็นมาตรฐานของเทคโนโลยีที่จะใช้ในเรื่องของ IoT หรือ Internet Of Things ของสัปดาห์นี้

NarrowBand IoT (NB-IoT) คือ NarrowBand IoT (NB-IoT) เป็นมาตรฐานเทคโนโลยีวิทยุแบบ Low Power Wide Area Network (LPWAN) ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อให้สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์และบริการต่างๆได้โดยใช้คลื่นความถี่เคลื่อนที่ ออกแบบโดย 3GPP (Third Generation Partnership Project)

เนื่องจากเป็นมาตรฐานที่ออกโดย 3GPP ซึ่งเป็นกลุมที่ทำ GSM หรือมาตรฐาน TLE ก็เดาได้เลยว่า บ้านเราต้องเป็นผู้ให้บริการดั้งเดิมซึ่งลงมาจับเรื่องนี้ก่อนอย่าง AIS และ true ก็เปิดตัวกันแล้ว ก็ลองติดตามกันว่าเมื่อเปิดตัวแล้วจะสามารถตอบสนองต่อความต้องการของนักพัฒนา ได้มากแค่ไหนซึ่งเท่าที่ดูตอนนี้ ตลาดที่ทำเครื่องมือสื่อสารที่จะนำมาใช้ยังมีไม่มากเพราะเพิ่งจะประกาศใช้เมื่อเดือน มิถุนายน 2559 เมื่อเทียบกับ มาตรฐาน LoRa ละ

LoRa หรือ LORAWAN เป็นอีกมาตรฐานหนึ่งที่ออกแบบมาในลักษณะเดียวกันเพื่อประโยชน์แบบเดียวกันก็เป็นที่น่าจับตามองเพราะในตลาดขายอุปกรณ์เชื่อมต่อค่อนข่างจะหาง่าย และที่สำคัญมันมีความอิสระกว่าไม่ต้องพึงพาผู้ให้บริการ เพราะออกแบบมาให้ทำการรับส่งทำงานได้ทันทีเหมือนเครื่องรับส่งวิทยุ แต่ก็ติดปัญหาตรงที่ว่าการใช้งานคลื่นความถี่ในย่านที่ LoRa ใช้งานจะต้องขอใบอนุญาตก่อนบ้านเรายอมให้แค่วิทยุ CB ที่ รปภ ใช้งานกันเท่านั้น ย่านความถี่ที่สูงกว่านี้ต้องมีใบอนุญาต

ส่วนตัวผมต้องการใช้งานทั้งสองประเภทเพราะงานบางอย่างตอบโจทย์ไม่เหมือนกันและงานบางอย่างไม่มีความจำเป็นต้องทำงานร่วมกับเครือข่ายอื่น ๆ ก็ต้องดูว่า กสทช จะมีทิศทางอย่างไรกับ LoRa ด้วยเช่นกันเพื่อการพัฒนา Thailan 4.0