วันอาทิตย์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2559

เมื่อโอเพนซอร์ส มาถึงยุค Maker

Maker น่าจะเป็นคำยอดฮิตติดหูในปี 2015 มันเป็นยุคของนักสร้างสรรค์ผลงาน เป็นปีของนักประดิษฐก็ว่าได้เหตุที่ยกเรื่องนี้มาเขียนตั้งแต่ต้นปีก็เพราะว่า โอเพนฮาร์ดแวร์ ในปี 2015 เติบโตอย่างมากเป็นที่น่าตกใจตั้งแต่ 3D printer เครื่อง CNC ที่ต่างก็ออกมาแจกต้นฉบับในการพัฒนา ทำให้เหล่านั้นพัฒนาได้หยิบจับเอื้มถึงและสามารถเป้นเจ้าของได้ ไมโครคอนโทรนเลอร์พากันออกมา open กันหลากหลายให้เลือกใช้งานตามความสามารถของงาน และ ในราคาที่ไม่แพงมากหยิบจับขึ้นมาทำโครงงานกันได้สบายใจ ช่วงกลางๆปี 2015 ที่ผ่านประเทศไทยมีงาน nimi Maker fair ยิ่งทำให้เกิดกระแส ของ Maker อีกครั้ง ประกอบกับ ก่อนหน้านั้นมี maker space เกิดกันเกือบทุกมุมเมือง และสุดท้ายปลาย ปีมีการจัดการแข่งขั้นหุ่นต่อสู้ real stre ไม่ใช่ซิ war fo strial ที่เหลาเจ้าของกิจการ อดีตเด็กช่างเกิดเวทีในการปล่อยของ ว่าเมืองไทยก็ไมได้แพ้ชาติใดในโลก โดยมี ห้างใหญซีคอน และ สำนักงานการอาชีวะศึกษามาร่วมกันจัดโดยมีสปอนด์เซอร์ อย่างแป็ปซี่ และ ไทยประกันชีวิตมาให้การสนับสนุน นับว่าเป็น นิมิตหมายที่ดี ทำให้เด็กๆหลายคน มีทางเลือกที่จะเดินในสาย อาชีพ ไม่ใช่มีแต่ เวทีร้องเพลง เท่านั้น



การโอเพนฮาร์ดแวร์ในโลกนี้มีมากมายตั้งแต่เครื่องจักร เครื่องคอมพิวเตอร์จิ๋ว อย่าง RaspberryPi ที่ปล่อยหมัดเด็จส่งท้ายปีก็เพราะได้ออกรุ่น Zero มาในราคา 5$ เท่านั้นยิ่งทำให้เกิดคำถามมามายว่า เขาทำได้อย่างไร ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า open hardware คอมพิวเตอร์จิ๋งที่ขายหมดในวันเดียวรวมทั้งนิตยสาร Magpi ที่แจกคอมพิวเตอร์ paspberryPi zero กลายเป็นนิตยสารฉบับแรกของโลกที่แจกคอมพิวเตอร์ลงไปในเล่มซึ่งเราเคยเห็นแต่นิตยสารหลายเล่มเขาแจกก็เพียงแค่ CD/DVD กันเท่านั้น MagPi เองก็หมดภายในหนึ่งวันไม่สามารถสั่งซื้อได้

ผมเองปลายปี 2015 ก็ได้ทดลองสั่งเครื่องพิมพ์สามมิติ มาจากจีนซึ่งเป็นรูปแบบ โอเพนฮาร์แวร์เหมือนกันใช้บอร์ด Arduino mega ที่ปรับให้นำมาใช้ควบคุมการพิมพ์ของ เครื่องพิมพ์สามมิติ เรื่องที่น่าทึ่งก็คือ เราสามารถที่จะแก้ไข Code ของเครื่องพิมพ์สามมิติโดยใช้ IDE ของ Arduino ได้เนื่องจากหลังจากประกอบสำเร็จ การวิ่งเข้าสู่ Home ของมอเตอร์แต่ละแกน ถูกต้องหมดยกเว้นแกน x ก็เลยต้องแก้ไขจน ไม่นาน ก็สามารถที่จะใช้งานได้ จะเห็นว่ายุคนี้โลกแคบลง เราสามารถใช้เทคโนโลยีแบบเปิด และ มาตรฐานเปิด ต่าง ๆ นานา  โดยไม่ผูกขาดกับค่ายในค่ายหนึ่ง

การเข้าถึงเทคโนโลยีอย่างเท่าเทียมด้วยการ  open source ยังคงมีต่อไป ว่าง ๆ ผมจะลอง DIY แขนกล DIY เครื่อง CNC ดูบ้างว่าจะเป็นอย่างไร

ไม่มีความคิดเห็น: